ลี่เจียง
ลี่เจียง 丽江市 | |
---|---|
เมืองเก่าลี่เจียง | |
ที่ตั้งของนครลี่เจียงในมณฑลยูนนาน | |
พิกัด (หน่วยงานบริหารนครลี่เจียง): 26°51′19″N 100°13′33″E / 26.8552°N 100.2259°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
มณฑล | ยูนนาน |
ศูนย์กลางการปกครอง | เขตกู่เฉิง (古城区) |
พื้นที่ | |
• นครระดับจังหวัด | 20,557 ตร.กม. (7,937 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 1,264 ตร.กม. (488 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 1,264 ตร.กม. (488 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 2,400 เมตร (7,900 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโนปี 2010) | |
• นครระดับจังหวัด | 1,244,769 คน |
• ความหนาแน่น | 61 คน/ตร.กม. (160 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 211,151 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 170 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 211,151 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 170 คน/ตร.กม. (430 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน) |
รหัสไปรษณีย์ | 674100 |
รหัสพื้นที่ | 0888 |
รหัส ISO 3166 | CN-YN-07 |
คำนำหน้าทะเบียนรถ | 云P |
เว็บไซต์ | lijiang |
ลี่เจียง | |||||||||||||||||||||
"ลี่เจียง" เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ (บน) และอักษรจีนตัวเต็ม (ล่าง) | |||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 丽江 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 麗江 | ||||||||||||||||||||
|
เมืองเก่าลี่เจียง * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
เมืองเก่าลี่เจียง | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (ii) (iv) (v) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2540 (คณะกรรมการสมัยที่ 21) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ลี่เจียง (จีนตัวย่อ: 丽江市; จีนตัวเต็ม: 麗江市; พินอิน: Lìjiāngshì; ลี่เจียงซื่อ หรือ จีนตัวย่อ: 丽江古城; จีนตัวเต็ม: 麗江古城; พินอิน: Lìjiānggǔchéng; ลี่เจียงกู่เฉิง) เป็นเขตการปกครองที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเขตเมืองและเขตชนบททางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนประชากรราว 1,100,000 คน มีย่านเมืองเก่าลี่เจียงที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เมืองเก่าต้าเหยียน (大研, Dàyán)
การปกครอง
[แก้]พื้นที่ของเมืองลี่เจียงประกอบด้วยไปด้วยเขต 1 เขต (เขตเมืองเก่า) และ 4 ตำบล รวมทั้งย่านเมืองใหม่ลี่เจียง เมืองเก่าต้าเหยียน เมืองเก่าซูเหอ เมืองเก่าไป๋ซา และบางส่วนของช่องเขาเสือกระโจน
ประวัติ
[แก้]ย่านเมืองเก่าลี่เจียงมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปได้มากกว่า 800 ปี และเคยเป็นจุดแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้าตามเส้นทางสาย Tea Horse สายเก่า ย่านเมืองเก่านี้มีชื่อเสียงจากคูคลองและสะพานที่มีอยู่มากมาย จนได้รับการขนานนามว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"
เมืองเก่าลี่เจียงมีสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมแตกต่างไปจากเมืองโบราณอื่นๆของจีน เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นที่ตั้งรกรากของชาวน่าซีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ภูมิศาสตร์
[แก้]-
แผนที่ภูมิศาสตร์แสดงระดับสูงต่ำและที่ตั้งเมืองลี่เจียง (ซึ่งชื่อตามอักษรโรมัน ปี 1954 LI-CHIANG 麗江) (AMS, 1954)
-
ภาพถ่ายระยะไกลแสดงเมืองลี่เจียง และภูเขาหิมะมังกรหยก
ลี่เจียงตั้งอยู่ในภูมิภาคที่ล้อมรอบด้วยเทือกเขาเหิงต้วน ที่คั่นกลางระหว่างที่ราบสูงชิงไห่–ทิเบต และที่ราบสูงยูนนาน–กุ้ยโจว และยังเป็นเมืองขนาดใหญ่เพียงหนึ่งเดียวในเทือกเขาเหิงต้วน ลี่เจียงมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดปกครองตนเองชนชาติอี๋ เหลียงชาน (凉山彝族自治州) และนครพานจือฮวา (攀枝花市) ของมณฑลเสฉวน
- ทิศใต้ ติดกับอำเภอเจี้ยนชวาน (剑川县), อำเภอเฮ่อชิ่ง (鹤庆县) และอำเภอปินชวาน (宾川县) ของจังหวัดปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าลี่ (大理白族自治州), และอำเภอต้าเหยา (大姚县) และอำเภอหย่งเหริน (永仁县) ของจังหวัดปกครองตนเองชนชาติอี๋ ฉู่สยง (楚雄彝族自治州)
- ทิศตะวันตกและทิศเหนือ ติดกับจังหวัดปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง (怒江傈僳族自治州) และจังหวัดปกครองตนเองชนชาติทิเบต ตี๋ชิ่ง (迪庆藏族自治州)
เมืองลี่เจียงมีพื้นที่ทั้งหมด 20,600 ตารางกิโลเมตร และมีเขตการปกครองครอบคลุมเมืองเก่าลี่เจียง หรือเขตกู่เฉิง (古城区), อำเภอปกครองตนเองชนชาติน่าซี ยฺวี่หลง (玉龙纳西族自治县), อำเภอหย่งเชิ่ง (永胜县), อำเภอหฺวาผิง (华坪县) และอำเภอปกครองตนเองชนชาติอี๋ หนิงล่าง (宁蒗彝族自治县)
ภูมิอากาศ
[แก้]จากการผสมระหว่างที่ตั้งของเมืองที่ละติจูดต่ำ (ค่อนไปทางเส้นศูนย์สูตร) และ ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมาก จึงมีภูมิอากาศค่อนไปทางแบบที่สูงกึ่งเขตร้อนเล็กน้อยภูมิอากาศ (Köppen Cwb) ในฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมาก แห้งมาก และมีแดดจัด (มีแสงแดดมากถึง 70%) แม้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนธันวาคมและมกราคมจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เดือนมกราคมซึ่งเป็นเดือนที่อากาศเย็นที่สุดโดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 6.4 ° C (43.5 ° F) ฤดูใบไม้ผลิเริ่มเร็ว อากาศแห้งและมีแดดจัดจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ปริมาณฝนที่เพิ่มสูงขึ้นและถี่ขึ้นมากในระยะเวลาสั้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายน และฝนตกหนาแน่นเช่นนี้จนถึงปลายเดือนกันยายน ฤดูร้อนอากาศไม่ร้อน มีฝน (มากกว่าแดด) และชื้น เดือนมิถุนายนเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18.6 ° C (65.5 ° F) ฤดูใบไม้ร่วงจะเห็นปริมาณน้ำฝนลดลงอย่างกะทันหันและกลับมีแดดมาก อุณหภูมิเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 12.93 ° C (55.3 ° F) ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 980 มม. (38.6 นิ้ว) โดยประมาณ 80% เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน ด้วยเปอร์เซ็นต์แสงแดดต่อเดือนตั้งแต่ 32% ในเดือนกรกฎาคมถึง 80% ในเดือนธันวาคม ลี่เจียงมีจำนวนชั่วโมงได้รับแสงอาทิตย์ 2,463 ชั่วโมงต่อปี
ข้อมูลภูมิอากาศของลี่เจียง (จากสถิติปี ค.ศ. 1981–2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 22.6 (72.7) |
23.6 (74.5) |
26.3 (79.3) |
28.9 (84) |
30.8 (87.4) |
31.8 (89.2) |
31.4 (88.5) |
28.2 (82.8) |
28.7 (83.7) |
25.9 (78.6) |
23.6 (74.5) |
22.8 (73) |
31.8 (89.2) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 14.0 (57.2) |
15.0 (59) |
17.3 (63.1) |
20.2 (68.4) |
22.9 (73.2) |
24.1 (75.4) |
23.3 (73.9) |
22.9 (73.2) |
21.4 (70.5) |
20.2 (68.4) |
17.1 (62.8) |
14.6 (58.3) |
19.42 (66.95) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 6.4 (43.5) |
8.0 (46.4) |
10.7 (51.3) |
13.6 (56.5) |
16.6 (61.9) |
18.6 (65.5) |
18.2 (64.8) |
17.5 (63.5) |
15.9 (60.6) |
13.6 (56.5) |
9.5 (49.1) |
6.6 (43.9) |
12.93 (55.28) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 0.3 (32.5) |
2.5 (36.5) |
5.4 (41.7) |
8.3 (46.9) |
11.3 (52.3) |
14.5 (58.1) |
14.8 (58.6) |
14.0 (57.2) |
12.4 (54.3) |
8.9 (48) |
3.7 (38.7) |
0.3 (32.5) |
8.03 (46.46) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −6.1 (21) |
−5.7 (21.7) |
-4.0 (24.8) |
0.7 (33.3) |
3.5 (38.3) |
6.2 (43.2) |
8.6 (47.5) |
6.6 (43.9) |
3.4 (38.1) |
1.7 (35.1) |
−3.7 (25.3) |
−10.3 (13.5) |
−10.3 (13.5) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 4.0 (0.157) |
5.7 (0.224) |
14.6 (0.575) |
18.2 (0.717) |
66.0 (2.598) |
165.1 (6.5) |
242.3 (9.539) |
215.7 (8.492) |
165.5 (6.516) |
66.3 (2.61) |
13.4 (0.528) |
3.4 (0.134) |
980.2 (38.591) |
ความชื้นร้อยละ | 45 | 44 | 47 | 51 | 59 | 71 | 80 | 82 | 83 | 72 | 61 | 52 | 62.3 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) | 1.9 | 3.9 | 6.6 | 7.9 | 11.7 | 20.3 | 24.2 | 22.3 | 20.8 | 11.5 | 4.3 | 1.5 | 136.9 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 259.9 | 229.7 | 248.4 | 233.4 | 225.1 | 156.7 | 134.2 | 155.0 | 138.8 | 195.2 | 226.6 | 260.3 | 2,463.3 |
แหล่งที่มา: China Meteorological Administration (precipitation days and sunshine 1971–2000)[1][2] |
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- ภูเขาหิมะมังกรหยก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโบราณลี่เจียง เป็นภูเขาที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ย 4,000 เมตร เนื่องจากมียอดเขา 13 ยอดเรียงต่อกัน และปกคลุมด้วยหิมะ มีลักษณะคล้ายมังกร จึงถูกเรียกว่า ภูเขาหิมะมังกรหยก
- สระน้ำมังกรดำ (黑龙潭, Heillongtan) หรือที่รู้จักกันว่า สวนยวี่เฉวียน (玉泉) ตั้งอยู่ในตัวเมืองลี่เจียง ห่างจากตัวเมืองโบราณลี่เจียงไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,390 ตารางเมตร สระน้ำมังกรดำมีจุดเด่นที่ความใสของน้ำที่ใสราวกับมรกต นอกจากนี้ ภายในสวนยังมีการสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวฮั่น ทิเบต และน่าซี ไว้ด้วยกัน
- โค้งแรกแม่น้ำแยงซี (长江第一湾, Changjiangdiyiwan) ห่างจากเมืองโบราณลี่เจียง 53 กิโลเมตร เกิดจากแม่น้ำแยงซี (หรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง) ที่ไหลลงมาจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มากระทบกับภูเขาไห่หลอ ทำให้ทิศทางของแม่น้ำหักโค้งไปทางทิตะวันออกเฉียงเหนือ จนเกิดเป็นโค้งน้ำที่สวยงาม
- ช่องเขาเสือกระโจน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างทางแยกของเมืองลี่เจียงและเมืองจงเตี้ยน เป็นหุบเขาในช่วงที่แม่น้ำแยงซีไหลลงมาจากจินซาเจียง (金沙江, แม่น้ำทรายทอง) น้ำบริเวณนี้ไหลเชี่ยวมาก ช่วงที่แคบที่สุดมีความกว้างเพียง 30 เมตร ตามตำนานเล่าว่า ในอดีตช่องแคบนี้มีเสือกระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ เนื่องจากกลางแม่น้ำบริเวณนี้มีหินที่เรียกว่า “หินเสือกระโดด” ซึ่งก้อนหินมีความสูงกว่า 13 เมตร จึงเป็นที่มาของชื่อ “ช่องเขาเสือกระโดด”
-
หลังคามุงกระเบื้องของบ้านเรือนในเมืองลี่เจียง
-
ทิวทัศน์ของเมืองลี่เจียง
-
ถนนแคบๆในเมืองลี่เจียง
-
ทะเลสาบหลูกู (泸沽湖) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลี่เจียง
-
ทิวทัศน์ของเมืองโบราณลี่เจียงตอนกลางคืน
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น ส่งผลให้พื้นที่หนึ่งในสามของเมืองถูกทำลายลง
- 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ย่านเมืองเก่าลี่เจียง (ต้าเหยียน ไป๋ซา และซูเหอ) ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตั้งแต่นั้นมา ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับภาระหน้าที่ในการพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมืองเก่ามากขึ้น และยังทำให้เมืองนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จนมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเยี่ยมชมเมืองเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวเมืองเกรงว่ากระแสการท่องเที่ยวและการพัฒนาที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว จะทำให้เมืองนี้สูญเสียเอกลักษณ์และมนต์เสน่ห์ที่น่าประทับใจไป
- พ.ศ. 2550 เมืองลี่เจียงของมณฑลยูนนานได้รับคัดเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดีเด่นทางวัฒนธรรมจีน [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 中国气象数据网 – WeatherBk Data (ภาษาChinese (China)). China Meteorological Administration. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
- ↑ 中国地面国际交换站气候标准值月值数据集(1971-2000年). China Meteorological Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.
- ↑ http://thai.cri.cn/1/2007/04/04/101@95961.htm