อารีเฟน ฮะซานี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้คล้ายอัตชีวประวัติ ผู้เขียนหลักอาจมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นคนเดียวกับผู้ที่ถูกกล่าวถึง กรุณาช่วยแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองที่เป็นกลาง โปรดศึกษาการเขียนชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ |
อารีเฟน ฮะซานี | |
---|---|
เกิด | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2500 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
นามปากกา | เฟน สตูดิโอ |
อาชีพ | นักเขียน จิตรกร |
สัญชาติ | ไทย |
ช่วงปีที่ทำงาน | พ.ศ. 2520 - ปัจจุบัน |
อารีเฟน ฮะซานี ในนามปากกา เฟน สตูดิโอ (17 มิถุนายน พ.ศ. 2500 – ) เป็นนักเขียนการ์ตูนชาวไทย ประจำสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ในหนังสือการ์ตูนมหาสนุก สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ รามาวตาร และศึกมหาภารตะ
ประวัติ
[แก้]อารีเฟนเกิดเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ที่ อ.บางกะปิ กรุงเทพมหานคร และไปเติบโตที่จังหวัดยะลา เป็นชาวมุสลิม สำเร็จการศึกษาระดับม.ศ.3 ที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง ยะลา จังหวัดยะลา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (โฆษณา) ที่วิทยาเขตเพาะช่างกรุงเทพฯ
งานเขียนการ์ตูน
[แก้]เขียนการ์ตูนครั้งแรกในขณะเรียนอยู่ชั้น ปวช. ที่ วิทยาลัยเพาะช่าง เมื่อปี พ.ศ. 2520 จากความตั้งใจที่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนและอยากมีรายได้ใช้จ่ายเป็นค่าเล่าเรียน จึงลองเขียนการ์ตูนตลก 3ช่อง ไปเสนอที่สำนักพิมพ์อุดมศึกษา ซึ่งเขาก็รับต้นฉบับไว้ เริ่มต้นได้ค่าต้นฉบับแผ่นละ 15 บาท แต่เนื่องจากขณะนั้นทางสำนักพิมพ์ได้พิมพ์การ์ตูนแนวนิทานพื้นบ้าน จักร ๆ วงศ์ ๆ ชื่อหนังสือการ์ตูนทวีปัญญา และการ์ตูนนิทานไทย ซึ่งต้องการนักเขียนไปเสริมทีมงานของคุณอิศวร จึงได้มีโอกาสเข้าไปเขียนการ์ตูนเป็นรายได้พิเศษ หลังโรงเรียนเลิกแล้วในช่วงเย็น
ปี พ.ศ. 2521 การ์ตูนเล่มละบาท กำลังเป็นที่นิยมในตลาดการ์ตูน เขาจึงลองเขียนการ์ตูนเล่มละบาท แล้วนำไปเสนอขายให้สำนักพิมพ์ ศิริสาส์น ได้ค่าต้นฉบับ 500 บาทต่อหนึ่งเล่มมี 24 หน้า แล้วย้ายมาเขียนให้กับสำนักพิมพ์สามดาว ค่าต้นฉบับก็ค่อยๆขยับขึ้นมาเรื่อยจนมาอยู่ที่ 1,200 บาทต่อเล่ม เนื้อเรื่องที่เขียนก็เป็นแนวชีวิตบ้าง แนวนิทานพื้นบ้านจักร ๆ วงศ์ ๆ ซึ่งแต่งขึ้นเองทุกเรื่องโดยอารีเฟน ฮะซานี
จนกลางปีพ.ศ. 2523 มีความคิดว่าอยากเขียนการ์ตูนกับสำนักพิมพ์ ที่พิมพ์การ์ตูน หนูจ๋าและ เบบี้ ที่ตนเองติดตามอ่านมาตั้งแต่เด็ก ๆ และใฝ่ฝันไว้ว่าอยากจะเขียนร่วมกับสำนักพิมพ์เดียวกันกับอาจุ๋มจิ๋ม และอาวัฒน์ จึงได้ลองเอาการ์ตูนของตัวเองไปเสนอที่สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ซึ่งทางสำนักพิมพ์ก็ได้รับต้นฉบับไว้ และได้ลงผลงานในหนังสือการ์ตูน เยาวชน เป็นนิยายภาพเรื่องยาว เรื่องสวัสดีโรงเรียน และเลิกเขียนการ์ตูนเล่มละบาทนับตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2524 สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ออกการ์ตูนมาอีกเล่มคือการ์ตูนหลายรส โดยมีนักเขียนฝีมือเยี่ยมสองคนคือเตรียม ชาชุมพร และโอม รัชเวทย์ เป็นนักเขียนชูโรง โดยมีนักเขียนรุ่นใหม่หลายคนได้มีโอกาสร่วมเขียน นิยายภาพสลับสับเปลี่ยนกันไป ซึ่งเขาก็ได้เขียนนิยายภาพ ชุดมิติชีวิต เป็นเรื่องสั้นจบเป็นตอน ๆ ด้วยหลายฉบับ
พ.ศ. 2525 หลังจากที่ศึกษาจบวิทยาเขตเพาะช่าง ได้วุฒิด้านศึกษาศาสตร์บัณฑิตแล้ว ก็ถือโอกาสใช้วิชาความรู้ ไปเป็นครูอยู่ที่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สอนศิลปะให้กับนักเรียนชั้นประถมปลายเป็นเวลา 3 ปี และยังคงใช้เวลาว่างเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์เป็นระยะ ๆ อยู่เช่นเดิม
จนปีพ.ศ. 2529 เพื่อนชวนไปทำงานกับบริษัทโฆษณาเล็กๆแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 2 ปี และยังคงใช้เวลาว่างเขียนการ์ตูนส่งสำนักพิมพ์เช่นเดิม
ช่วงนี้เองที่ บก.วิธิต ให้เขียนนิยายภาพลงในการ์ตูนเบบี้ และให้เขียนลงในหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ และมหาสนุก เล่มใหญ่ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้เปลี่ยนแนวการเขียน จากนิยายภาพมาเป็นการ์ตูนที่ลายเส้นเรียบง่าย และมีเนื้อหาตลกหรรษา กับการ์ตูนเรื่องสั้นชุด พ่อแม่..ลูก ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักอ่านการ์ตูนมหาสนุกพอสมควร
ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อนได้ชักชวนให้ไปทำงานด้านดีไซน์และออกแบบลายผ้าให้กับบริษัท ในเครือ GQ GROUP อยู่ 3 ปี และยังคงใช้เวลาหลังเลิกงานเขียนการ์ตูนอยู่เหมือนเดิม
ในช่วงนี้เองได้เขียนการ์ตูนตลกชุด บ้าครบสูตร ลงในหนังสือ มหาสนุก และเขียนนิยายภาพเรื่องยาวเรื่อง สิงห์สยาม ลงใน หนังสือการ์ตูนหนูจ๋า
กลางปี พ.ศ. 2533 นี่เอง ได้ลาออกจากงานประจำ มานั่งเขียนการ์ตูนเป็นอาชีพอย่างจริงจังให้กับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นเป็นต้นมา ทำให้มีเวลาเขียนการ์ตูนชุดต่าง ๆ ลงในหนังสือ มหาสนุกฉบับกระเป๋า มีทั้งการ์ตูนชุด สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ ก๊องจอมเทพบ้าครบสูตร ก๊อง191 บริษัทอัดผี เป็นต้น
กระทั่งปี พ.ศ. 2537 ทางบก. วิธิต อุตสาหจิต เห็นว่า การ์ตูนชุด สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ มีแฟนประจำติดตามอ่านจำนวนหนึ่ง จึงได้ออกหนังสือการ์ตูนเล่มใหม่ คือ สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ เป็นรายเดือน
ต่อมาได้มีการรวมเล่มการ์ตูนชุดต่าง ๆ ขึ้นมาเช่น เปาปุ้นจี้ บริษัทอัดผี รวมพลคนละคร รามาวตาร (รามเกียรติ์) และศึกมหาภารตะ
ผลงาน
[แก้]- สวัสดีโรงเรียน (2523)
- มิติชีวิต (2524)
- อภินิหารต๊อกแต๊ก (2525)
- เทพสลาตัน (2531)
- ปักษ์ใต้บ้านเรา (2529)
- บ้าครบสูตร (2532 - 2535)
- สิงห์สยาม (2533) (10ตอน)
- ก๊อง จอมเทพบ้าครบสูตร (2538 - 2539)
- ก๊อง 191 (2539 - 2540)
- พ่อแม่ลูก FAMILY (2530 - 2537)
- ปอมปอม กิ้งก่าเทวดา (2539-2544) (61ตอน)
- เปาบุ้นจี้ (2538-2546) (24ตอน)
- บริษัทอัดผี (2537-ปัจจุบัน) (144ตอน)
- ซูเปอร์โคโรนา (2538) (5ตอน)
- สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ (2534 - ปัจจุบัน)
- รวมพลคนละคร (2548 - 2549)
- รามาวตาร (2544-2548) (84ตอน)
- ศึกมหาภารตะ (2547-2551) (54ตอน)
- รามเกียรติ์ มินิ แอนนิเมชัน (2550 - 2551)
- ห้องสมุดมหัศจรรย์ (2551 - ปัจจุบัน)
- มโหสถ อัจฉริยะสมองเพชร (2549) (14ตอน)
- เทพอภินิหารตำนานกรีก (2551 - 2556)(68ตอน)
- แก้วหน้าม้า (2556) (10ตอน)
- สังข์ทอง (2552)(14ตอน)
- สินสมุทร สุดสาคร (2557) (22ตอน)
- พิฆเณศ เทพแห่งสวรรค์ (2561) (9ตอน)
- ไซอิ๋ว เทพวานร (2563) (32ตอน)
- Love Always รัก108-1009 (2562-ปัจจุบัน)
- เชอร์ล็อกโฮล์มส์ ( 2565-ปัจจุบัน )
คาแรคเตอร์ของเฟน สตูดิโอในการ์ตูน
[แก้]คาแรคเตอร์ของเฟนมีลักษณะเค้าหน้าคล้ายหน้าจริงและอ้วนลงพุง
ประสบการณ์ทำงานอื่น
[แก้]- เป็นอาจารย์สอนศิลปะชั้นประถม โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ (3 ปี)
- งานด้านครีเอทีฟ บริษัทโฆษณา (2 ปี)
- งานดีไซเนอร์เครื่องแต่งกาย เครือบริษัท GQ กรุ๊ป (3 ปี)
รางวัลและผลงานพิเศษ
[แก้]- ประกวดภาพถ่ายนักศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่15 (2523)
-ได้รับรางวัลที่3 โล่พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ชื่อภาพ 2ต่อ50 และได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ชื่อภาพ สินในน้ำ
- ประกวดภาพถ่ายทั่วประเทศ ครั้งที่10 (2524)
- ได้รับรางวัลเหรียญสัมฤทธิ์ ประเภทสไลด์สีทั่วไป ชื่อภาพ ฉีดๆถูๆ
- ประกวดภาพถ่าย NIKON PHOTO CONTEST INTERNATIONEL 1982/83 ประเทศญี่ปุ่น
- ได้รับรางวัลที่2 เหรียญเงินและกล้องNikon ชื่อภาพ 2:50
- แต่งเพลง"จากบ้าน" ให้วงแฮมเมอร์(ชุดแฮมเมอร์ 29)
- ได้รับโล่รางวัลประกวดแต่งเพลงสำหรับเด็กของ ส.ย.ช.และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก พ.ศ 2527( ที่ 1 เพลงดวงดาวแห่งความดี และ ที่ 3 เพลงตะปู )
- ออกเทปเพลงสำหรับเยาวชน ชุดวงแมลงปอ พ.ศ 2528
- ได้รับโล่รางวัลหนังสือดีเด่น(การ์ตูนหรือนิยายภาพสำหรับเด็ก)ในการประกวดหนังสือดีเด่น ปี2562 จากเรื่อง สิบภพสยบอสูร NARAI AVATAR
- ได้รับโล่รางวัลชมเชย(การ์ตูนหรือนิยายภาพทั่วไป)ในการประกวดหนังสือดีเด่น ปี2566 จากเรื่อง เชอร์ล็อกโฮล์มส์ ตอนแค้นพยาบาท