ลัทธินอกศาสนา
ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (อังกฤษ: Paganism มาจากภาษาละตินคลาสสิก pāgānus "ชนบท", "บ้านนอก" ภายหลังกลายเป็น "พลเรือน") เป็นศัพท์ที่มีการใช้งานครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยชาวคริสต์ยุคแรกที่ใช้เรียกผู้คนในจักรวรรดิโรมันที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ [1] หรือศาสนาชาติพันธุ์ใดนอกจากศาสนายูดาห์ ในสมัยจักรวรรดิโรมัน บุคคลตกเป็นพวกนอกศาสนาเนื่องจากอาศัยอยู่ในชนบทและต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประชากรคริสเตียน หรือเพียงเพราะพวกเขาไม่ใช่ milites Christi (ทหารแห่งพระคริสต์)[2][3] ศัพท์อื่น ๆ ที่ใช้ในงานเขียนของชาวคริสต์ ได้แก่ hellene, เจนไทล์ และ heathen (ฮีทเธน)[1] พิธีบูชายัญเป็นส่วนสำคัญของศาสนากรีก-โรมันโบราณ[4] และเป็นข้อบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นเป็นพวกนอกรีตหรือนับถือศาสนาคริสต์[4] ลัทธินอกศาสนามีความหมายกว้าง ๆ เป็น "ศาสนาของชาวชนบท"[1][5]
ในระหว่างและหลังสมัยกลาง ศัพท์ ลัทธินอกศาสนา ใช้เรียกศาสนาใดก็ตามที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์ และคาดการณ์ถึงความเชื่อในพระเทียมเท็จ[6][7] ที่มาของการใช้คำว่า "เพแกน" ที่ใช้เรียกกลุ่มพหุเทวนิยมยังคงเป็นที่ถกเถียง[8]
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่[9] ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism))
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Peter Brown (1999). "Pagan". ใน Glen Warren Bowersock; Peter Brown; Oleg Grabar (บ.ก.). Late Antiquity: A Guide to the Postclassical World. Harvard University Press. pp. 625–26. ISBN 978-0-674-51173-6.
- ↑ J. J. O'Donnell (1977), Paganus: Evolution and Use เก็บถาวร 29 มีนาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Classical Folia, 31: 163–69.
- ↑ Augustine, Divers. Quaest. 83.
- ↑ 4.0 4.1 Jones, Christopher P. (2014). Between Pagan and Christian. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-72520-1.
- ↑ Owen Davies (2011). Paganism: A Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 1–2. ISBN 978-0-19-162001-0.
- ↑ Kaarina Aitamurto (2016). Paganism, Traditionalism, Nationalism: Narratives of Russian Rodnoverie. Routledge. pp. 12–15. ISBN 978-1-317-08443-3.
- ↑ Owen Davies (2011). Paganism: A Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 1–6, 70–83. ISBN 978-0-19-162001-0.
- ↑ Davies, Owen (2011). Paganism: A Very Short Introduction. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0191620010.
- ↑ "A Basic Introduction to Paganism", BBC, retrieved 19 May 2007.
ข้อมูล
[แก้]- Cameron, Alan G. (2011). The Last Pagans of Rome. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0199780914. OCLC 553365192.
- Davies, Owen (2011). Paganism: A Very Short Introduction. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0191620010.
- Hua, Yih-Fen. book review to: Maria Effinger / Cornelia Logemann / Ulrich Pfisterer (eds): Götterbilder und Götzendiener in der Frühen Neuzeit. Europas Blick auf fremde Religionen. In: sehepunkte 13 (2013), Nr. 5 [15.05.2013], URL: http://www.sehepunkte.de/2013/05/21410.html. (Book review in English).
- Robert, P. & Scott, N. (1995). A History of Pagan Europe. New York, Barnes & Noble Books, ISBN 0-7607-1210-7.
- York, Michael (2003). Pagan Theology: Paganism as a World Religion NYU Press, ISBN 0-8147-9708-3.