ข้ามไปเนื้อหา

ขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เบอร์ซาตู)
ขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี (เบอร์ซาตู)
ประธานวันอับดุลกาเดร์ เจ๊ะมัน
ก่อตั้งค.ศ.1989
ถูกยุบกลางทศวรรษที่ 2000[1]
ที่ทำการรัฐเกอดะฮ์, ประเทศมาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง]
อุดมการณ์ปาตานี ชาตินิยม
ลัทธิแบ่งแยกดินแดน
ธงประจำพรรค
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือ เบอร์ซาตู (มลายู: Pertubuhan Pembebasan Bersatu Patani หรือ Bersatu ; อังกฤษ: The United Front for the independent of Pattani) เป็นการรวมตัวขององค์กรที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของปัตตานี 4 องค์กรคือ ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี มูจาฮีดีนอิสลามปัตตานีและพูโลใหม่ เมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เพื่อรวมการต่อสู้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประธานคนแรกคือ ดร. วาห์ยุดดิน มูฮัมหมัด ส่วนประธานคนปัจจุบันคือ ดร. วันมะเดร์ เจ๊ะเมาะ

โครงสร้างและการต่อสู้

[แก้]

โครงสร้างหลักของเบอร์ซาตูมี 3 ส่วนคือ

  1. สภาสูงสุดหรือสภาซูรอ มีหน้าที่ร่างและกำหนดนโยบายและแต่งตั้งกรรมการบริหาร
  2. คณะกรรมการบริหาร (Majis Eksekutif)มีหน้าที่นำนโยบายมาปฏิบัติและควบคุมการทำงานของคณะทำงาน
  3. คณะทำงาน (Baro baro) ประกอบด้วยหน่วยงานหลายแผนก มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์

การเคลื่อนไหวของเบอร์ซาตูเน้นการเคลื่อนไหวทางการเมือง ส่วนการเคลื่อนไหวด้วยอาวุธมักเป็นภาระของพูโลและบีอาร์เอ็น หลักการต่อสู้ของเบอร์ซาตูที่สำคัญมี 6 ข้อคือ

  1. ก่อตั้งรัฐอิสลามมลายู
  2. ใช้หลักการต่อสู้ทางศาสนา (ญิฮาด) ด้วยอาวุธ
  3. ต่อต้านรัฐไทย
  4. เรียกร้องให้ประเทศมุสลิมสนับสนุน
  5. เรียกร้องให้ประเทศและขบวนการต่างๆต่อสู้เพื่อปาตานี
  6. ร่วมมือกับขบวนการปลดแอกทุกกลุ่ม

รัฐเป้าหมาย

[แก้]

กลุ่มเบอร์ซาตูต้องการตั้งประเทศอิสลามมลายูปัตตานี โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศนี้เมื่อ พ.ศ. 2539 และ ได้แต่งเพลงชาติปัตตานีชื่อ ลากูเกอบังซะอานปาตานี การปกครอง โดยประเทศนี้จะปกครองโดยถือหลักศาสนาอิสลามเป็นกฎหมาย ศาสนาประจำชาติคือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี นับถืออิหม่ามซาฟีอี ระบบเศรษฐกิจใช้แบบอิสลาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Red Light Jihad: Thailand's new breed of Facebook jihadis". GlobalPost. 8 December 2014.
  • สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. สันติภาพในเปลวเพลิง. กรุงเทพฯม เนชั่นบุกส์. 2547