ข้ามไปเนื้อหา

สมองใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทเลนเซฟาลอน)
ซีรีบรัม
(Cerebrum)
แผนภาพแสดงการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
รายละเอียด
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ซีรีบรัล (anterior cerebral artery) , หลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (middle cerebral artery) , หลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์ซีรีบรัล (posterior cerebral artery)
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำซีรีบรัล (cerebral veins)
ตัวระบุ
MeSHD054022
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1042
TA98A14.1.03.008
A14.1.09.001
TA25416
THH3.11.03.6.00001
TETerminologia Embryologica {{{2}}}.html EE5.14.1.0.2.0.12 .{{{2}}}{{{3}}}
FMA62000
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

เทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน

โครงสร้าง

[แก้]

เทเลนเซฟาลอนประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

องค์ประกอบ

[แก้]

เทเลนเซฟาลอนประกอบด้วยส่วนที่คนทั่วไปเรียกว่า เนื้อสมอง โครงสร้างนี้อยู่บนก้านสมองและเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดและพัฒนามากที่สุดในบรรดาส่วนของสมองทั้ง 5 ส่วน ส่วนเทเลนเซฟาลอนเป็นส่วนที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่สุดในช่วงวิวัฒนาการ ที่ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีขนาดใหญ่ที่สุดและพัฒนามากที่สุดในบรรดาสัตว์ทุกสปีชีส์ เทเลนเซฟาลอนเจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน (prosencephalon) ซึ่งเป็นกระเปาะแรกในบรรดากระเปาะทั้งสามที่สร้างขึ้นมาจากนิวรัล ทูบ (neural tube) ในเอ็มบริโอ

ในการแบ่งส่วนของสมองในแบบดั้งเดิม เทเลนเซฟาลอนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แต่ในปัจจุบันมีงานวิจัยอธิบายการจัดแบ่งที่ย่อยลงไปอีก

ในมนุษย์ เทเลนเซฟาลอนอยู่ล้อมรอบสมองส่วนที่เก่าแก่กว่า ระบบลิมบิก, ระบบรับรู้กลิ่น, และระบบสั่งการส่งใยประสาทจากบริเวณซับคอร์ติคัล (ชั้นลึก) (subcortical areas) ของซีรีบรัมไปยังส่วนของก้านสมอง ระบบความนึกคิด (cognitive system) และระบบความตั้งใจ (volitive system) ส่งใยประสาทจากบริเวณคอร์ติคัล (cortical area) ของซีรีบรัมไปยังทาลามัสและไปยังบริเวณอื่นๆ ของก้านสมอง เครือข่ายทางประสาทของเทเลนเซฟาลอนช่วยในพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ซับซ้อน เช่น ภาษา ระบบดังกล่าวประกอบด้วยเนื้อขาว (white matter) และ เนื้อเทา (grey matter) ส่วนเนื้อเทามีการพับทบอย่างมากซึ่งน่าจะช่วยในการบรรจุกลุ่มเซลล์จำนวนมากในปริมาตรสมอง โดยการเพิ่มพื้นที่ผิว เทเลนเซฟาลอนยังประกอบด้วยบริเวณที่มีต้นกำเนิดจาก archipallium, paleopallium และ neopallium การเจริญของ neopallium ซึ่งประกอบด้วยส่วนซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์และไพรเมต

หน้าที่

[แก้]
ซีรีบรัม

ภาษาและการสื่อสาร

[แก้]

ส่วนของซีรีบรัม คอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทเลนเซฟาลอน ทำหน้าที่ในการพูดและภาษา ส่วนที่สั่งการเกี่ยวกับภาษาได้แก่บริเวณโบรคา (Broca's area) ภายในสมองกลีบหน้าของสมอง การเข้าใจคำพูดเกี่ยวข้องกับบริเวณเวอร์นิเก (Wernicke's area) ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อของสมองสมองกลีบขมับและสมองกลีบข้าง บริเวณทั้งสองเชื่อมต่อกันด้วยลำเส้นใยประสาทขนาดใหญ่เรียกว่า อาร์คูเอท ฟาสซิคูลัส (arcuate fasciculus) การเสื่อมของบริเวณโบรคาจะทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความชนิด expressive aphasia (non-fluent aphasia) ในขณะที่การเสื่อมในบริเวณเวอร์นิเกส่งผลให้เกิดภาวะเสียการสื่อความชนิด receptive aphasia (fluent aphasia)

การเคลื่อนไหว

[แก้]

เทเลนเซฟาลอนทำหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการในร่างกายมนุษย์ หน้าที่ดังกล่าวเริ่มต้นภายในไพรมารี มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ (primary motor cortex) และบริเวณอื่นๆ ในบริเวณสั่งการของกลีบสมองด้านหน้า เมื่อสมองส่วนนี้เสียไป สมองจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทไปยังเส้นประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Motor Neurone Disease การเสื่อมของสมองประเภทนี้ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง และขาดความแม่นยำ มากกว่าทำให้เกิดอัมพาตทั้งตัว

การดมกลิ่น

[แก้]

ออลแฟคทอรี บัลบ์เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนที่อยู่หน้าสุด ส่วนนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดจะมีขนาดใหญ่มาก แต่ในมนุษย์สมองส่วนนี้มีขนาดเล็ก การเสื่อมของออลแฟคทอรีบัลบ์ทำให้สูญเสียการรับรู้กลิ่น

ความจำ

[แก้]

หน้าที่เกี่ยวกับความจำของสมองเกี่ยวข้องกับส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ความเกี่ยวข้องนี้ได้ถูกอธิบายขึ้นในผู้ป่วยที่ชื่อ HM ผู้ซึ่งถูกผ่าตัดเอาสมองส่วนฮิปโปแคมปัสทั้ง 2 ข้างออกเพื่อรักษาอาการลมชัก หลังการผ่าตัด HM มีอาการ anterograde amnesia หรือภาวะที่ไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ได้ ปัญหานี้ได้บรรจุในภาพยนตร์เรื่อง Memento ที่ซึ่งตัวเอกของเรื่องต้องถ่ายภาพผู้คนที่เขาเคยพบเพื่อที่จะสามารถจำได้ว่าเคยทำอะไรในวันหลังจากที่เขาประสบอุบัติเหตุ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]