ข้ามไปเนื้อหา

เต่าบึงจุด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เต่าบึงดำลายจุด)

ระวังสับสนกับ: เต่าบึงดำ

เต่าบึงจุด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Testudines
วงศ์: Geoemydidae
วงศ์ย่อย: Geoemydinae
สกุล: Geoclemys
Gray, 1856[2]
สปีชีส์: G.  hamiltonii
ชื่อทวินาม
Geoclemys hamiltonii
(Gray, 1831)
ชื่อพ้อง[3]
  • Emys hamiltonii Gray, 1831
  • Emys guttata Gray, 1831
  • Emys picquotii Lesson, 1831
  • Clemmys (Clemmys) hamiltonii Fitzinger, 1835
  • Geoclemys hamiltonii Gray, 1856
  • Damonia hamiltonii Gray, 1869
  • Melanochelys pictus Murray, 1884
  • Clemmys palaeindica Lydekker, 1885
  • Damonia hamiltoni Lydekker, 1889 (ex errore)
  • Geoclemmys hamiltonii Boulenger, 1889
  • Emys hamiltoni Smith, 1931
  • Geoclemys hamiltoni Smith, 1931

เต่าบึงจุด หรือ เต่าบึงดำลายจุด หรือ เต่าดำแฮมิลตัน (อังกฤษ: Black pond turtle, Spotted pond turtle, Indian spotted turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoclemys hamiltonii[4]) เต่าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae)

จัดเป็นเพียงเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Geoclemys[2] โดยชื่อ แฮมิลตัน ที่เป็นทั้งชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักธรรมชาติวิทยาชาวสกอต ฟรานซิส แฮมิลตัน[5]

เต่าบึงจุด เป็นเต่าขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต มีลักษณะเด่น คือ ทั้งตัวและกระดองมีสีคล้ำเช่น สีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม ตามหัวลำตัวและกระดองมีจุดกลมสีเหลืองหรือสีขาวกระจายอยู่ทั่ว ขนาดของเพศผู้โตเต็มที่ไม่เกิน 11–12 นิ้ว และ เพศเมียมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ ขนาด 7–8 นิ้ว มีฤดูผสมพันธุ์ ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม ออกไข่ครั้งละ 6–10 ฟอง ระยะฟักไข่ 60–65 วัน อายุยืนประมาณ 15–20 ปี เป็นเต่าที่พบแพร่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของอนุทวีปอินเดีย เช่น อินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน

ส่วนหัว

เต่าบึงจุด เป็นเต่าที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง โดยเชื่อว่าทำให้ผู้เลี้ยงได้มีชีวิตที่ยืนยาว มีความอยู่เย็นเป็นสุข ทำให้มีสนนราคาซื้อขายที่แพงมาก โดยเต่าขนาดเล็กมีราคาประมาณ 4,000 บาท และเต่าขนาดใหญ่ถึง 10,000 บาท [6] ซึ่งเต่าดำแฮมิลตัน เป็นสัตว์ที่มีรายชื่อห้ามซื้อขายในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) แต่ก็เป็นเต่าที่มีลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ คราวละมาก ๆ ในครั้งเดียวโดยเก็บซ่อนไว้ในกระเป๋าเดินทาง และถูกมัดด้วยถุงพลาสติกหรือสก๊อตเทป ทำให้เต่าส่วนมากอ่อนแอ สภาพร่างกายขนาดน้ำและอาหาร และทำให้มีสภาพใกล้ตายได้[7]

ในประเทศไทย มีการเพาะขยายพันธุ์สำเร็จเป็นครั้งแรกที่สวนสัตว์ดุสิต โดยลูกเต่าได้ฟักออกจากไข่เป็นตัวเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2018 จำนวนทั้งสิ้น 10 ตัว จากไข่ทั้งหมด 11 ฟอง และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน [8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Geoclemys hamiltonii". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. 2000. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013.
  2. 2.0 2.1 "Geoclemys Gray, 1856". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
  3. Fritz Uwe; Peter Havaš (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 222. ISSN 18640-5755. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  4. Chelonia.org
  5. Beolens B, Watkins M, Grayson M. 2011. The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. (Geoclemys hamiltonii, p. 114).
  6. "ศุลกากรสุวรรณภูมิ ตรวจยึด "เต่าดำแฮมมมิลตัล" กว่า 200 ตัว ลักลอบ". เรื่องเล่าเช้านี้. 23 September 2013. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
  7. "'เต่า'เหยื่อความเชื่อ ลักลอบค้า...ล่าล้างเผ่าพันธุ์". คมชัดลึก. 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.[ลิงก์เสีย]
  8. เทพศรี, ประเสริฐ (2018-07-05). "สวนสัตว์ดุสิต ต้อนรับสมาชิกเกิดใหม่ 'ลูกเต่าบึงจุด'". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Geoclemys hamiltonii ที่วิกิสปีชีส์