เดปอร์ติโบอาลาเบส
ชื่อเต็ม | บริษัทกีฬา เดปอร์ติโบอาลาเบส จำกัด (มหาชน) | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | Babazorros El Glorioso (The glorious one) Pink Team | |||
ก่อตั้ง | 1 กรกฎาคม 1920 | |||
สนาม | สนามฟุตบอลเมนดิซอร์โรตซา บิโตเรีย แคว้นประเทศบาสก์ สเปน | |||
ความจุ | 19,840 | |||
เจ้าของ | ซัสกีบัสโกเนีย (70.44%) โฆเซ อันโตนิโอ เกเรเฆตา (6.4%) | |||
ประธาน | อัลฟอนโซ เฟร์นันเดซ เด โตรโกนิซ | |||
ผู้จัดการทีม | ลุยส์ การ์ซิอา | |||
ลีก | เซกุนดาดิบิซิออน | |||
2021–22 | ลาลิกา อันดับที่ 20 จาก 20 (ตกชั้น) | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
เดปอร์ติโบอาลาเบส (สเปน: Deportivo Alavés) หรือมักย่อว่า อาลาเบส เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศสเปน ตั้งอยู่ในบิโตเรีย-กัสเตอิซ จังหวัดอาลาบา ในแคว้นปกครองตนเองประเทศบาสก์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 ในนาม Sport Friends Club ปัจจุบันเล่นในลาลิกา ลีกสูงสุดของประเทศสเปน หลังจากเลื่อนชั้นขึ้นมาจากเซกุนดาดิบิซิออน ในปี ค.ศ. 2023
อาลาเบส นับว่าเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จรั้งท้ายในลีกสูงสุดในภูมิภาคประเทศบาสก์ตามหลังอัตเลติกเดบิลบาโอแห่งบิลบาโอ และเรอัลโซซิเอดัดแห่งซานเซบัสเตียน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสโมสรคือการผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศ ยูฟ่าคัพ ในปี ค.ศ. 2001 ที่ดอร์ทมุนด์ แต่พวกเขาได้แพ้ให้กับลิเวอร์พูล ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ด้วยกฎโกลเดนโกล 5–4 รวมถึงในฤดูกาล 2016–17 ที่ผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศ โกปาเดลเรย์ แต่แพ้ให้กับบาร์เซโลนา ไป 3–1 ที่บิเซนเต กัลเดรอน
อาลาเบสมีสีเสื้อแข่งขันเหย้าเป็นลายขาว-น้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่เป็นอัตลักษณ์ของสโมสร ปัจจุบันพวกเขาใช้สนามเมนดิซอร์โรตซา เป็นสนามเหย้าของทีมซึ่งมีความจุ 19,840 ที่นั่ง[1][2]
ประวัติ
[แก้]สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ในนาม สปอร์ตเฟรนด์คลับ ก่อนที่ในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1921 จะถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นปัจจุบัน[3] อาลาเบส เป็นสโมสรแรกที่เลื่อนชั้นจาก เซกุนดาดิบีซีออน สู่ ลาลิกา ได้สำเร็จ ซึ่งเกิดขึ้นในฤดูกาล 1929–30 ทีมจบลำดับที่ 8 จาก 10 ทีมบนตารางคะแนนในฤดูกาลแรกในลีกสูงสุด ก่อนที่จะตกชั้นในอีก 2 ฤดูกาลถัดมา[4]
ในฤดูกาล 1953–54 สโมสรได้กลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง ภายใต้การคุมทีมของ โรมัน การาตากา และได้ตกชั้นในฤดูกาลถัดมา[3] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1963 อาลาเบส ตกชั้นสู่ เตร์เซราดิบิซิออน ลีกลำดับที่สามในขณะนั้น[5] ในฤดูกาล 1969-70 สโมสรตกสู่ระดับลีกลำดับที่สี่ แต่เพียงปีเดียวสโมสรก็สามารถกลับขึ้นมาเล่นในเตร์เซราดิบิซิออน ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการเลื่อนชั้นกลับเข้าสู่ เซกุนดาดิบิซิออนในฤดูกาล 1973–74 โดยรักษาการอยู่ในลีกนี้ได้เป็นเวลา 9 ปีก่อนที่จะตกชั้นลงสู่ลีกล่างอีกครั้ง ในฤดูกาล 1987–88 อาลาเบส จบลำดับที่ 8 บนตารางคะแนนเตร์เซราดิบิซิออน ซึ่งเป็นลีกอันดับที่สี่ในขณะนั้น นับเป็นการจบอันดับที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่ในอีกเจ็ดฤดูกาลถัดมาพวกเขาจะกลับขึ้นมาในเซกุนดาดิบิซิออนได้อีกครั้ง หลังจากคว้าแชมป์กลุ่มของเขาสองปีติดต่อกันใน เซกุนดาดิบิซิออน เบ ฤดูกาล 1992–93 (ลีกลำดับที่สามในขณะนั้นที่เพิ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1977)
หลังจากพวกเขาชนะเลิศ เซกุนดาดิบิซิออน ฤดูกาล 1997–98[6] ก็ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด เป็นครั้งแรกในรอบ 42 ปี โดยในฤดูกาลนี้ อาลาเบส จบลำดับที่ 16 บนตารางคะแนน ซึ่งเก็บแต้มได้มากกว่าทีมที่ต้องเพลย์-ออฟตกชั้นอย่าง เอ็กเตร์มาดูราอินเพียงแต้มเดียว ในฤดูกาลถัดมา อาลาเบส สามารถผ่านเข้าไปลงเล่นในยูฟ่าคัพได้สำเร็จ หลังจากพวกเขาจบอันดับที่หกบนตารางคะแนนลาลิกา ด้วยจำนวน 61 แต้ม โดยในจำนวนนี้พวกเขาสามารถเก็บ 6 แต้มได้จากการชนะบาร์เซโลนา ทั้งเหย้าและเยือน โดยนับเป็นสถิติการจบลำดับที่ดีที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน
ในฤดูกาล 2000–01 อาลาเบสจบลำดับที่ 10 บนตารางคะแนนลาลิกา และได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศชองฟุตบอลยูฟ่าคัพ หลังจากเอาชนะแอร์สเทอ เอ็ฟเซ ไคเซิร์สเลาเทิร์น ราโยบาเยกาโน และอินเตอร์มิลาน ตามลำดับในรอบแพ้คัดออก[7][8] ในรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาต้องพบกับลิเวอร์พูล ที่เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน ในดอร์ทมุนด์ อาลาเบสพ่ายแพ้ในช่วงต่อเวลาพิเศษด้วยกฎโกลเดนโกล 5-4 หลังจากเดลฟิ เกลิ โหม่งสกัดลูกฟรีคิกของแกรี แม็กอัลลิสเตอร์ เข้าประตูตัวเองในนาทีที่ 116[9]
ในฤดูกาลถัดมา อาลาเบส จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 บนตารางคะแนนลาลิกา ทำให้ได้ผ่านเข้าไปลงเล่นในยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2002–03 นับเป็นครั้งที่สองที่ได้ลงเล่นในฟุตบอลยุโรป โดยทีมสามารถเอาชนะได้ในรอบแรกกับ อันคารากือจือ ก่อนที่จะแพ้ให้กับเบชิกทัชในรอบที่สอง
ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2003 อาบาเบส ชนะการแข่งขันลาลิกา นัดที่ 100 จากการชนะเรอัลบายาโดลิด 3–1 ที่สนามกีฬาโฆเซซอร์รียา โดยในฤดูกาลนี้พวกเขาต้องตกชั้นลงอีกครั้ง ในเวลานี้ อาลาเบส ถูกซื้อโดยดีมิทรี เพียตร์แมน นักธุรกิจชาวยูเครน - อเมริกัน ทำให้โค้ชและผู้เล่น[10] รวมถึงแฟนบอลต่างไม่พอใจเป็นอย่างมาก[11] อาลาเบส ใช้เวลาเพียงปีเดียวก็สามารถกลับมาสู่ตำแหน่งลีกสูงสุดได้ ก่อนที่จะจบอันดับที่ 18 บนลาลิกาทำให้ต้องตกชั้น อีกครั้ง โดยตลอดฤดูกาลได้ใช้ผู้จัดการทีมถึง 3 คน เพียตส์แมน ออกจากการดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 2007 ทำให้สโมสรมีหนี้สินจำนวนมาก อาลาเบส ต้องหนีการตกชั้นจากเซกุนดาดิบิซิออนสองฤดูกาล แต่สุดท้ายก็ทำไม่สำเร็จในฤดูกาล 2008–09
อาลาเบส ต้องลงเล่นอยู่ในเซกุนดาดิบิซิออน เบ เป็นเวลา 4 ฤดูกาล ก่อนที่ โฆเซ อันโตนิโอ เกเรสเอตา จะเข้าซื้อสโมสร[12] และสามารถเลื่อนชั้นได้ในฤดูกาล 2012–13 หลังจากชนะการเพลย์-ออฟ ต่อเรอัล ฆาเอน หลังจากการเข้ามาสะสางปัญหาทางเศรษฐกิจของ เกเรสเอตา ในอีกสามปีต่อมา ในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 อาลาเบส ชนะเลิศเซกุนดาดิบิซิออน ทำให้ได้เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดได้เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี หลังเลกาเนส ทีมลำดับที่สองพ่ายแพ้ต่อนูมันเซีย 2–0 ในวันสุดท้ายของการแข่งขัน
ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2016 อาลาเบส ชนะการแข่งขันในลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เลื่อนชั้นกลับขึ้นมา โดยเอาชนะแชมป์เก่าอย่างบาร์เซโลนา ด้วยคะแนน 2–1 ที่สนามกัมนอว์[13] ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 อาลาเบส สามารถผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศโกปาเดลเรย์ หลังจากเอาชนะ เซลตาเดบิโก ในรอบรองชนะเลิศ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรที่ได้ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศถ้วยในประเทศ หลังจากก่อนหน้านี้เคยผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศมาแล้วในปี 1998 และ2004 โดยในปี ค.ศ. 2017 นี้พวกเขาพ่ายแพ้ให้กับบาร์เซโลนา 3–1 ที่บิเซนเต กัลเดรอน[14] โดยในฤดูกาลนี้พวกเขาจบลำดับที่เก้าบนตารางคะแนนลาลิกา จากการชนะ 14 นัด เสมอ 13 นัดและแพ้ 11 นัด[15]
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]- ณ วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2022[16]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นคนอื่นภายใต้สัญญา
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ทีมสำรอง
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ยืมตัวออก
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ผลงาน
[แก้]ผลงานในแต่ละฤดูกาล
[แก้]
|
|
|
|
- 15 ฤดูกาล ใน ลาลิกา
- 37 ฤดูกาล ใน เซกุนดาดิบิซิออน
- 12 ฤดูกาล ใน เซกุนดาดิบิซิออน เบ
- 22 ฤดูกาล ใน เตร์เซราดิบิซิออน
- 1 ฤดูกาล ใน ดิบิซิออน เรฆิออนาเรส
เกียรติประวัติ
[แก้]- ฟุตบอลลีกภูมิภาค[17]
- บิสเกแชมเปียนชิป: 1929–30
- จิปุสโกแชมเปียนชิป: 1938–39
- ชนะเลิศ: 1945–46
- รองชนะเลิศ: 2016–17
- รองชนะเลิศ: 2000–01
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ลีกลำดับที่สาม
- ↑ ไมเลื่อนชั้นเนื่องจากแพ้การ เพลย์-ออฟ
- ↑ ไมเลื่อนชั้นเนื่องจากแพ้การ เพลย์-ออฟ
- ↑ เลื่อนชั้น หลังจากชนะการเพลย์-ออฟ
- ↑ เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ และเป็นแชมป์ของลีกจากการมีคะแนนสูงสุดเมื่อรวมทั้ง 4 ลีก
- ↑ ลีกลำดับที่สาม
- ↑ เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ
- ↑ เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ
- ↑ ไมเลื่อนชั้นเนื่องจากแพ้การ เพลย์-ออฟ
- ↑ เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ
- ↑ เลื่อนชั้นโดยตรงโดยไม่ผ่านรอบเพลย์-ออฟ
- ↑ ลีกลำดับที่สี่
- ↑ เลื่อนชั้นโดยตรงโดยไม่ผ่านรอบเพลย์-ออฟ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mendizorrotza Stadium เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Depor, Redacción (2019-11-30). "¡Grítalo merengue! Real Madrid ganó 2–1 al Alavés por LaLiga Santander". Depor (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
- ↑ 3.0 3.1 "La historia del Club | Alavés – Web Oficial". La historia del Club | Alavés – Web Oficial (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
- ↑ "Primera División, Temporada 1930/1931 – laliga, liga santander, la liga santander, campeonato nacional de liga de primera división, liga española". www.resultados-futbol.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
- ↑ "Historia del Deportivo Alavés". Alaves – El Correo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Deportivo Alavés, S.A.D. :: La Futbolteca. Enciclopedia del Fútbol Español" (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
- ↑ "El Alavés incendia San Siro" [Alavés set fire to San Siro] (ภาษาสเปน). El País. 23 February 2001. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
- ↑ Robert O'Connor (18 May 2016). "What the heck happened to Alaves after 2001?". FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
- ↑ The greatest matches of all time; The Daily Telegraph, 4 July 2007
- ↑ Carreras denuncia el "trato vejatorio" de Piterman (Carreras denounces "vexatious treatment" by Piterman); 20 Minutos, 16 February 2006 (ในภาษาสเปน)
- ↑ Dimitri Piterman llama "subnormales" a los aficionados del Alavés (Dimitri Piterman calls Alavés' fans "morons"); 20 Minutos, 22 February 2006 (ในภาษาสเปน)
- ↑ "Querejeta compra las acciones del Alavés que tenía la familia Ortiz de Zárate" [Querejeta bought Alavés' shares that the Ortiz de Zárate family held] (ภาษาสเปน). El Correo. 29 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-27. สืบค้นเมื่อ 26 February 2017.
- ↑ "Glorioso Matagigantes" [Glorious Giantkillers] (ภาษาสเปน). Marca. 10 September 2016. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
- ↑ "Barcelona 3–1 Alavés". BBC Sport. 27 May 2017. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
- ↑ "Primera División, Temporada 2016/2017 – laliga, liga santander, la liga santander, campeonato nacional de liga de primera división, liga española". www.resultados-futbol.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
- ↑ "Deportivo Alavés Squad". www.deportivoalaves.com. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
- ↑ "Spain – List of Champions of Norte". RSSSF. 21 January 2000. สืบค้นเมื่อ 5 March 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เดปอร์ติโบอาลาเบส
- Official website เก็บถาวร 2011-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Alavés at La Liga
- Alavés at UEFA
- Club profile at BDfutbol (match reports in each season)
- Club history at El Correo เก็บถาวร 2019-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Futbolme team profile
- Glorioso, unofficial website
- Terra club info เก็บถาวร 2013-01-06 ที่ archive.today