กะนองมี่นต้า
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กะนองมี่นต้า | |
---|---|
อุปราชแห่งพม่า เจ้าชายแห่งกะนอง | |
ดำรงพระยศ | 18 กุมภาพันธ์ 1853 – 2 สิงหาคม 1866 |
อุปราชาภิเษก | 11 มิถุนายน ค.ศ. 1853 |
ก่อนหน้า | พุกาม |
ถัดไป | สีป่อ |
ประสูติ | 31 มกราคม ค.ศ. 1820 อมรปุระ |
สวรรคต | 2 สิงหาคม ค.ศ. 1866 (46 ปี 183 วัน) มัณฑะเลย์ |
ชายา | 18 พระองค์ |
พระราชบุตร | พระโอรส 20 พระองค์, พระธิดา 15 พระองค์ |
ราชวงศ์ | โก้นบอง |
พระราชบิดา | แสรกแมง |
พระราชมารดา | พระนางเมนู |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
เจ้าชายกะนอง (พม่า: ကနောင်မင်းသား; 31 มกราคม 1820 – 2 สิงหาคม 1866) หรือ กะนอง มินธะ พระราชโอรสของ พระเจ้าแสรกแมง กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่ง ราชวงศ์โก้นบอง และเป็นพระราชอนุชาของ พระเจ้ามินดง กษัตริย์องค์ที่ 10 ภายหลังจากจบ สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สอง เจ้าชายกะนองและ เจ้าชายมินดง ได้ทำการโค่นล้มราชบัลลังก์พระเชษฐาต่างพระมารดา พระเจ้าพุกามแมง กษัตริย์องค์ที่ 9 เจ้าชายมินดงขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้ามินดงส่วนเจ้าชายกะนองได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง
เจ้าชายกะนองได้รับพระสมัญญาว่า เจ้าชายแห่งสงคราม รวมถึงได้รับความนิยมจากประชาชนเนื่องจากพระองค์ได้นำวิวัฒนาการสมัยใหม่ของตะวันตกเข้าสู่พม่ารวมถึงส่งเหล่าบัณฑิตไปยังประเทศในทวีปยุโรปและโปรดให้ตั้งโรงสรรพาวุธขึ้น
เจ้าชายกะนองสิ้นพระชนม์พร้อมกับพระโอรสอีก 3 พระองค์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1866 ที่ ลุตตอ หรือที่ประชุมสภาขุนนางระหว่างการก่อกบฏภายใต้การนำของ เจ้าชายมยิ่นกุน และ เจ้าชายมยิ่นกุนเดง พระราชโอรสของพระเจ้ามินดงที่ประสูติแต่ พระสนมเอกตองชเวเยที่ 1
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]มีนักแสดงผู้รับบท เจ้าชายกะนองมี่นต้า ได้แก่
- ทนงศักดิ์ ศุภการ จากละครเรื่อง เพลิงพระนาง (2539)
- อรุชา โตสวัสดิ์ จากละครเรื่อง เพลิงพระนาง (2560)