ตีนกะเป๋ง
ตีนกะเป๋ง (เถิงเจี่ยจฺวิน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กองทหารแห่งรัฐออโกก๊ก | |||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 藤甲軍 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 藤甲军 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ยุคในประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก |
ตีนกะเป๋ง มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เถิงเจี่ยจฺวิน (จีน: 藤甲軍; พินอิน: Téng jiǎ jūn) มีความหมายว่า ทหารเกราะหวาย เป็นกองทหารสมมติที่ปรากฏในตอนที่ 90 ของนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนเรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 อยู่ เป็นกองทหารใต้การบังคับบัญชาของลุดตัดกุด เจ้าแห่งรัฐออโกก๊ก (烏戈國 อูเกอกั๋ว) รัฐของชนเผ่าลำมัน (南蠻 หนานหมาน) ทางใต้ของรัฐจ๊กก๊ก
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]ทหารตีนกะเป๋งปรากฏในนวนิยายสามก๊กตอนที่ 90[a]
เมื่อจูกัดเหลียงยกทัพจ๊กก๊กลงใต้เพื่อปรายชนเผ่าลำมัน จับตัวเบ้งเฮ็กผู้เป็นมันอ๋อง (กษัตริย์ของชนเผ่าลำมัน) ได้ 6 ครั้งและปล่อยตัวไปทั้ง 6 ครั้ง เบ้งเฮ็กทำตามคำแนะนำของตั้วไหลโดยไปขอความช่วยเหลือจากลุดตัดกุดแห่งรัฐออโกก๊กให้มาช่วยรบกับจูกัดเหลียงเป็นครั้งที่ 7 ลุดตัดกุดนั้นมีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งเรียกว่า "ตีนกะเป๋ง" หรือ "ทหารเกราะหวาย" ทำให้เบ้งเฮ็กมีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะรบทัพจ๊กก๊กชนะ
ตีนกะเป๋งหรือทหารเกราะหวายเป็นกองกำลังทหารชั้นยอดที่สวมเกราะทำจากหวาย หวายชนิดนี้ขึ้นตามลำธารในภูเขา เกาะเกี่ยวกับผาหิน คนในท้องถิ่นเก็บหวานมาแช่น้ำมันนานครึ่งปีและนำออกมาตากแดด แห้งแล้วก็นำมาแช่ใหม่ ทำวนไปรวมสิบกว่าครั้งจึงนำมาสานเป็นชุดเกราะ เมื่อสวมเกราะหวายเวลาข้ามแม่น้ำจะไม่จม ไม่เปียกน้ำ ดาบและเกาทัณฑ์ฟันแทงไม่เข้า
ลุดตัดกุดให้เขาอั๋น (土安 ถู่อาน) และเคหลี (奚泥 ซีหนี) นำทหารตีนกะเป๋งสามหมื่นนายเข้าร่วมในการรบกับจ๊กก๊ก ในการรบครั้งแรกสามารถเอาชนะกองกำลังของจ๊กก๊กที่นำโดยอุยเอี๋ยนได้ที่ริมแม้น้ำโท้ฮัวสุย (桃花水 เถาฮฺวาฉุ่ย; แปลว่า "แม่น้ำดอกท้อ") จูกัดเหลียงจึงวางแผนแสร้งรบแพ้ล่าถอยเพื่อล่อให้ทหารตีนกะเป๋งเข้าไปในหุบเขาจัวปัวสก (盤蛇谷 ผานเฉอกู่; แปลว่า "หุบเขางูขด") แล้วโจมตีทหารตีนกะเป๋งด้วยไฟและระเบิดฝังดิน ชุดเกราะหวายที่แช่น้ำมันถูกไฟก็ลุกไหม้ขึ้น ลุดตัดกุดและทหารตีนกะเป๋งสามหมื่นนายก็ถูกไฟคลอกตายในหุบเขา จูกัดเหลียงมองลงมาจากบนภูเขาเห็นฉากอันน่าสังเวชที่ทหารตีนกะเป๋งถูกไฟครอกในหุบเขาก็คร่ำครวญว่า "เราทำการครั้งนี้ถึงจะได้บำเหน็จความชอบสักเท่าใดก็ดี เห็นอายุเราจะสิ้นเสียมั่นคงเพราะฆ่าชีวิตสัตว์เสียมากนัก"[2][1]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 69[1]