เก๊กฮวย
เก๊กฮวย เป็นพืชกลุ่มเดียวกับเบญจมาศ (chrysanthemum) อยู่ในวงศ์ Asteraceae หรือ วงศ์ทานตะวัน ชื่อสามัญ Chrysanthemum, Flower tea, Edible Chrysanthemum, Florist Chrysanthemum มีชื่อเรียกในสำเนียงแต้จิ๋วของคำในภาษาจีนว่า "菊花" สำเนียงกลางว่า "จฺหวีฮฺวา" (júhuā) เป็นพืชสมุนไพรมีฤทธิ์เย็นที่ได้รับความนิยม สามารถแยกย่อยได้หลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่นำมาใช้ทำยาและเครื่องดื่มมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ เบญจมาศหนู (Chrysanthemum morifolium Ramat.) ซึ่งมีลักษณะดอกเป็นสีขาว และเบญจมาศสวน (Chrysanthemum indicum L.) ซึ่งมีดอกสีเหลือง ทั้งสองสายพันธุ์มีสรรพคุณใกล้เคียงกัน
ลักษณะทางกายภาพ
[แก้]เบญจมาศ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 30-90 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านไม่มาก ตามกิ่งก้าน และลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ทั้งกิ่งก้าน และใบของเบญจมาศ มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ดอกออกตรงปลายกิ่ง อาจออกเป็นช่อ หรือ เป็นดอกเดี่ยวแล้วแต่สายพันธุ์ รูปร่างดอก ทรงกลมคล้ายทานตะวัน หรือ บานชื่น มีกลีบเรียวยาวเรียงซ้อนกันโดยรอบหลายชั้น ลักษณะกลีบ ดอกบางสายพันธุ์ยาวมาก และบิดม้วน ดอกเบญจมาศมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดโตมาก ไปจนถึง ดอกขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร มีสีหลากหลาย เช่น เหลือง ขาว ชมพู ม่วง แดง เป็นต้น
แต่ในกลุ่มของดอกเบญจมาศทั้งหมดมี 2 ชนิด ที่นิยมนำมาทำน้ำเก๊กฮวย หรือ ที่เรียกว่าดอกเก๊กฮวย คือ
- เก๊กฮวยดอกขาว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เก๊กฮวยขาวดอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้น ตรง แข็ง เป็นพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วงอมเขียว ดอกมีสีขาว ขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 4.7-5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5-6 ชั้น มีกลีบดอกประมาณ 90 กลีบ เมื่อนำมาตากแดด ดอกจะแห้งเร็ว เก๊กฮวยขาวดอกเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นตรง เป็นพุ่มเล็ก ลำต้นค่อนข้างอ่อน ดอกมีขนาดประมาณ 4.5 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แรก ส่วนกลีบดอกมีมากกว่าที่ 6-7 ชั้น มีจำนวนกลีบดอกประมาณ 120 กลีบ ส่วนสีดอกมีสีขาวอมสีเนื้อ ดอกเมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอมกว่าดอกใหญ่ แต่อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
- เก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป คือ กลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาวแต่ก็สามารถนำมาใช้ได้เหมือกันและมีสรรพคุณคล้ายกัน
ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
[แก้]เก๊กฮวย หรือ เบญจมาศ เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดขึ้นมาจากประเทศจีน[1] แต่ภายหลังได้แพร่กระจายไป ในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น กัมพูชา ลาว ไทย รวมถึงในยุโรปด้วยพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวย ทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองหังโจ ประเทศจีนนอกจากเบญจมาศดอก สีขาวแล้ว ดอกเบญจมาศสีเหลืองขนาดเล็กที่บ้านเราเรียกว่า เบญจมาศหนู (Chrysanthemum indicum L.) ที่มีปลูกในเมืองไทย ก็สามารถนำมาตาก แห้งชงน้ำร้อนเป็นน้ำเก๊กฮวยได้เช่นเดียวกัน และยังมีสรรพคุณเหมือนกันอีกด้วย
ส่วนต่าง ๆ และคุณสมบัติทางเคมี
[แก้]ในดอกเก๊กฮวย มีสารเคมีธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) หรือ ชาลโคน (Chalcone) สารไครแซนทีมิน (Chrysanthemin), สารอะดีนีน (Adenine), สตาไคดวีน (Stachydrine), โคลีน (Choline) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหยอีกหลายชนิดที่ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
[2]สารกลุ่มฟลาโวนอยด์คือผู้ช่วยสำคัญสำหรับยับยั้งการอักเสบ และช่วยขับลม ระบายลม บำรุงปอด ตับ ไต ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสบางชนิดได้ กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารให้กลับมาเป็นปกติ ขับถ่ายง่ายกว่าเดิม สรรพคุณ คือ ดื่มแล้วช่วยแก้ร้อนใน ชุ่มคอ ช่วยทำให้ร่างกายเย็นลง ลดอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
ขณะที่ส่วนอื่น ๆ ก็ยังถือว่ามีประโยชน์ เช่น ดอกสดบดต้มในน้ำ เอากากมาพอกลดอาการอักเสบที่ดวงตาได้ดี หรือดอกเก๊กฮวยโดยตรงก็ช่วยรักษาอาการผมร่วง ทำให้สีผมดกดำ เงางาม ลดอาการปวดหัว บำรุงและรักษาสายตาไม่ว่าจะตาบวม เบลอ มองไม่ชัด
- เก๊กฮวยสามารถแก้กระหาย และเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย แก้ร้อนใน มีฤทธิ์ยาเป็น ยาเย็น
- สามารถดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และ สภาวะหัวใจล้มเหลว
- ช่วยบำรุงโลหิต
- บำรุงรักษาสายตา
- แก้อาการปวดศรีษะ
- ช่วยบรรเทาอาการวินเวียนศรีษะ หน้ามืด ตาลาย
- แก้อาการหวัด และอาการไอ
- ช่วยขับลมระบายในท้อง
- บำรุงส่วนของปอด ตับ และไต แถมยังสามารถรักษาอาการผมร่วงได้
ดอกเบญจมาศมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ย้อนกลับไปกว่า 2,500 ปีในจีนโบราณ ชื่อเบญจมาศมาจากคำภาษากรีก chrysos แปลว่าทองคำและ anthemon แปลว่าดอกไม้ ซึ่งสะท้อนถึงสีทองดั้งเดิมของดอกไม้ จักรพรรดิจีนชื่นชอบดอกเบญจมาศเป็นพิเศษ และกลายเป็นสัญลักษณ์ของความสูงส่งและการมีอายุยืนยาว ดอกไม้อันเป็นที่เคารพนับถือเหล่านี้ได้เดินทางมาถึงญี่ปุ่นในที่สุด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลามและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์และประเทศชาติ ในญี่ปุ่น เทศกาลดอกเบญจมาศหรือที่เรียกว่าวันดอกเบญจมาศหรือคิคุโนะเซกกุ มีการเฉลิมฉลองด้วยความกระตือรือร้นทุกปีในวันที่เก้าของเดือนที่เก้า ความหมายของดอกเบญจมาศอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบททางวัฒนธรรมและภูมิภาค ดอกเบญจมาศอุดมไปด้วยสัญลักษณ์และมีความหมายที่แตกต่างกันในส่วนต่างๆ ของโลก ต่อไปนี้เป็นความหมายทั่วไปบางประการที่เกี่ยวข้องกับเบญจมาศ
- การมีอายุยืนยาวและเป็นอมตะ ในหลายวัฒนธรรมของเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีนและญี่ปุ่น ดอกเบญจมาศ มีความเกี่ยวข้องกับการมีอายุยืนยาว ความเป็นอมตะ และชีวิตนิรันดร์ มักถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของสุขภาพที่ยั่งยืนและชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข
- ความสุข ดอกเบญจมาศยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขและความรื่นเริงอีกด้วย ในประเทศจีน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นตัวแทนแห่งความโชคดี และเชื่อกันว่าจะนำความสุขและเสียงหัวเราะมาสู่ชีวิต
- การให้เกียรติผู้เสียชีวิต ในบางวัฒนธรรม ดอกเบญจมาศถูกใช้เป็นดอกไม้งานศพ และเกี่ยวข้องกับการไว้ทุกข์และการรำลึกถึง ในบริบทนี้ สิ่งเหล่านี้แสดงถึงเกียรติและความเคารพต่อผู้เสียชีวิต
- ความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสา โดยเฉพาะดอกเบญจมาศสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสา มักใช้ในงานแต่งงานและงานพิธีอื่นๆ เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ของเจ้าสาว หรือเพื่อสื่อถึงความสะอาดและความซื่อสัตย์
- ความรักและความชื่นชม ดอกเบญจมาศสีแดงบางครั้งใช้เป็นสัญลักษณ์ของความรักและความชื่นชม ทำให้เหมาะสำหรับโอกาสโรแมนติกหรือเป็นการแสดงออกถึงความรักอันลึกซึ้ง
- ความสูงส่งและราชวงศ์ ในบางวัฒนธรรม ดอกเบญจมาศมีความเกี่ยวข้องกับความสูงส่งและราชวงศ์ ในอดีตพวกมันถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิ โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งพวกมันเป็นตัวแทนของราชวงศ์จักรพรรดิและประเทศชาติเอง
เก๊กฮวย สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูกประมาณ 3 เดือน เวลาที่เหมาะสมในการเก็บดอกเก๊กฮวยอยู่ในช่วง 9.00 - 10.00 น. เพื่อไม่ให้น้ำค้างอยู่ที่ดอกทำให้ดอกช้ำและอาจเกิดเชื้อราในภายหลัง เลือกดอกที่มีเกสรบาน 2 ใน 3 เก็บเฉพาะดอกที่มีเกสรสีเหลืองสด ใช้มือเก็บทีละดอก เด็ดก้านดอกให้ชิดมากที่สุด ช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตดอกเก๊กฮวยสามารถเก็บเกี่ยวได้ 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 ในเดือนพฤศจิกายนตลอดทั้งเดือน หลังจาการเก็บเกี่ยว ช่วงที่1 แล้ว ให้ตัดแต่งต้นเก๊กฮวยเพื่อให้แตกกิง และเกิดทรงพุ่มใหม่ และสามารถเก็บเกียวในช่วงที่ 2 ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ตลอดทั้งเดือนเช่นกัน
ในการเก็บเกี่ยวแต่ละช่วงให้แบ่งเก็บ 3 ครั้งดังนี้
- ครั้งที่ 1 เก็บดอกประมาณ 40% ของดอกที่ออกทั้งหมด
- ครั้งที่ 2 เก็บหลังจากที่เก็บครั้งที่1ไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เก็บดอกอีก 40% ของดอกที่ออกทั้งหมด
- ครั้งที่ 3 เก็บหลังจากที่เก็บครั้งที่ไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เก็บดอกออกทั้งหมด
กรรมวิธีการทำดอกเก๊กฮวยแห้ง
[แก้]ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
1. การนึ่งดอกเก๊กฮวย คือการนำดอกเก๊กฮวยมาใส่ในรังหม้อนึ่ง โดยใส่พอประมาณอย่าให้ซ้อนทับกันหนาเกินไป แล้วไปนึ่งในน้ำอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที อย่าให้น้ำเดือดกระทบดอก เก๊กฮวย เพราะจะทำให้ดอกแห้งมีสีไม่สวย จากนั้นเทดอกเก๊กฮวยที่นึ่งแล้วใส่ในตะแกรง ใช้ไม้คน พลิกกลับให้ดอกแยกออกจากกัน และเกลี่ยบาง ๆ แล้วจึงนำเข้าตู้อบความร้อน
2. การทำดอกแห้ง สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การผึ่ง การตากแดด การอบด้วยลม ร้อน เป็นต้น วิธีการตากแดด นั้นจะใช้วิธีนี้เฉพาะช่วงที่มีแสงแดดดี โดยนำกระจาดที่บรรจุดอกเก๊กฮวยที่นึ่งแล้ว เทคว่ำลงในกระดังหรือเสื่อฟางข้าว แล้วนำไปผึ่งแดดทุกวัน พลิกกลับในตอนเช้าทุกวัน ตากจนเกสรแห้งซึ่งใช้เวลาประมาณ 6-7 วัน อบแห้งโดยใช้วิธีผิงไฟถ่านนำเก๊กฮวยที่นึ่งแล้ววางบนแขนงไม้ไผที่อยู่เหนือเตาถ่าน รักษา อุณหภูมิไว้ประมาณ 60 องศาเซลเซียส ผิงไฟโดยกลับดอกซึ่งติดกันอยู่เป็นแผงเป็นระยะจนแห้งดี หรือประมาณ 6 ชั่วโมง ปกติดอกเก๊กฮวย แห้งน้ำหนักจะลดลงจากดอกสดในอัตราส่วน 1 ต่อ 7
การขยายพันธุ์
[แก้]เก๊กฮวยสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ได้แก่ การหว่านเมล็ด, การปักชำ, การใช้ตอเดิมให้แตกยอดใหม่ และการโน้มกิ่งทับดิน นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ด้วย แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ การปักชำ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
หลังจากการอนุบาลต้นกล้าเก๊กฮวยประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นให้ตัดยอดปักชำ การตัดยอดให้นับจำนวนใบจากยอดนับลงมา 8 ใบ แล้วตัดจะได้กิ่งชำที่มีจำนวน 8 ใบ หลังจากนั้นทำการตัดแต่งกิ่งชำโดยการตัดใบคู่ล่างสุดออก 2 ใบ เพราะบริเวณด้านล่างสุดต้องปักชำลงในดินไม่จำเป็นต้องมีใบติดอยู่ เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้จำได้กิ่งชำที่มีจำนวน 6 ใบ จึงสามารถนำไปปักชำลงในถาดหลุมเพาะชำที่มีวัสดุปลูก คือ ดินผสมแกลบดำอัตราส่วน 1:1 อนุบาลไว้ในโรงเรือน หรือ ในที่ร่มรำไร ไม่ควรมีแสงแดดจัด รดน้ำทุกวันตอนเช้าเป็นเวลา 15 วัน กิ่งชำจะมีรากและมีลำต้นที่แข็งแรงพร้อมนำไปปลูก เป็นต้นพันธุ์
- โรคใบแห้งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียระบาดมากในสภาพอากาศร้อน และความชื้นสูง การป้องกันกำจัด ควรใช้ กิ่งปักชำที่ปราศจากโรค และถ้ามีโรคระบาด ในแปลงควรเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทสเตรปโตมัยซิน
- โรคใบจุดเกิดจากเชื้อรา ระบาดมากในฤดูฝน การป้องกันกำจัด ควรใช้กิ่งปักชำที่ปราศจากโรคมาปลูก และ ถ้ามีโรคระบาดในแปลงควรเผาทำลาย หรือ ฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทสเตรปโตมัยซิน
- โรคดอกเน่าเกิดจากเชื้อรา ระบาดมากในฤดูฝน การป้องกันกำจัด ควรฉีดสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไซ เนบ, แคบแทน เอ็ม 45 โดยใช้ร่วมกับสารจับใบ
- โรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา การป้องกันกำจัด ดูแลแปลงปลูก ให้สะอาด และฉีดพ่นด้วยเพลนท์แวกซ์ทุกๆ 7 วันในช่วงที่มีการระบาด
- เพลี้ยไฟขอบปล้องหยัก เพลี้ยไฟสามารถทำลายได้ทุกสวน จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากกลีบดอก ทำใหดอกไม่บาน หรือดอกแหวง และทำใหกลีบดอกเหี่ยวแหง การปองกันกําจัด พ่นด้วยอีมาเม็คติน เบนโซเอต ,คารโบซัลแฟน อิมิดา โคลพริด หรือฟโปรนิล
- หนอนกระทูผัก สามารถทำลายได้ทุกสวน โดยเฉพาะดอก อ่อน ช่วงเวลาระบาดเกือบทั้งปี ดอกแหว่งแล เหี่ยว การป้องกันกําจัด ฉีดพ่นด้วย สปีโนแซด ,อีมาเมคติน เบนโซเอท หรือ ลูเฟนนูรอน
- เพลี้ยออน ดูดกินน้ำเลี้ยงที่โคนกลีบดอก ทำให้ดอกหงิกงอ ไม่บานหรือยอดคดงอ ดอกมีขนาดเล็กลง สามารถระบาด ได้ทั้งปีและระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง การป้องกันกําจัด ฉีดพ่นดวยมาลาไธออน หรือบาซูดิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Chrysanthemum indicum L. | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ พาไปรู้จักกับ “เก๊กฮวย” มีประโยชน์อย่างไร ต้องการปลูกมีวิธีไหนบ้าง (arda.or.th)
- ↑ สรรพคุณและประโยชน์ทั้ง 12 ของเก๊กฮวย และชาเก็กฮวย (herbalfruits.com)
- ↑ รู้หรือไม่ว่า ดอกเบญจมาศ เป็นดอกไม้ที่หลายคนให้ความสำคัญอย่างมาก (bantabmai.ac.th)
- ↑ https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2022/12/เก๊กฮวย.pdf
- ↑ https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2022/12/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%AE%E0%B8%A7%E0%B8%A2.pdf