ฮีมาโทคริต
ฮีมาโทคริต | |
---|---|
การวินิจฉัยทางการแพทย์ | |
ส่วนประกอบของเลือด | |
MeSH | D006400 |
เม็ดไลน์พลัส | 003646 |
ฮีมาโทคริต (Hematocrit, Ht หรือ HCT) หรือ packed cell volume (PCV) หรือ erythrocyte volume fraction (EVF) คือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด ค่าปกติของ HCT ในเพศชายอยู่ที่ 45% และเพศหญิงอยู่ที่ 40%[1] HCT นับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ร่วมกับ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน จำนวนเม็ดเลือดขาว และจำนวนเกล็ดเลือด ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า HCT ขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกาย
คำว่า "hematocrit" มาจากภาษาเยอรมัน/ภาษาสวีเดน ซึ่ง "haematokrit" ถูกบัญญัติขึ้นโดย Blix ที่ Upsala เมื่อ ค.ศ. 1891 อ้างอิงจากบทความของ SG Hedin ที่ตีพิมพ์ใน Skandanavia Arch.f Physiolgie 2:134-140,1891 จากบทความที่มีชื่อว่า "The Haematokrit: a New Apparatus for the Investigation of Blood" คำว่า "Haematokrit" ถูกใช้เป็นต้นแบบหลังจากคำว่า "Lactokrit" ถูกใช้ในฟาร์มเลี้ยงนม (ดูเพิ่ม Scudder & Self in NEJM Oct 30, 1941 225:18 p.679 "Controlled Administration of Fluid in Surgery")
วิธีการวัด
[แก้]ค่า packed cell volume (PCV) สามารถหาได้โดยการปั่นตกของเลือดที่ใส่สารเฮพารินในหลอด capillary tube (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ microhematocrit tube) ที่ความเร็ว 10,000 RPM เป็นเวลา 5 นาที[2] ซึ่งจะทำให้เลือดแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ปริมาณของเม็ดเลือดแดงหารด้วยปริมาณทั้งหมดของเลือด คือ ค่า PCV เนื่องจากเราทำการวิเคราะห์โดยใช้หลอดทดลอง ดังนั้น เราจึงสามารถคำนวณโดยอาศัยการวัดความยาวของชั้นได้
สำหรับเครื่องมือสมัยใหม่ ค่า HCT สามารถคำนวณโดยเครื่องอัตโนมัติซึ่งเป็นการวัดแบบทางอ้อม โดยค่า HCT หาได้จากการเอาจำนวนเม็ดเลือดแดงคูณปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย ค่า %HCT มักจะมีค่าเป็นสามเท่าของความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน[3] ค่า HCT อาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้หากมีการให้ของเหลว เช่น เลือด น้ำเกลือ ผ่านทางหลอดเลือดดำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากมีการให้ packed red cells กับผู้ป่วย จะทำให้ปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นมากขึ้น ดังนั้น ค่า HCT จึงมีค่าที่สูงกว่าความเป็นจริง หรือในกรณีที่ผู้ป่วยให้น้ำเกลือหรือของเหลวอื่น ๆ ก็จะทำให้เลือดถูกเจือจางส่งผลให้ค่า HCT ที่วัดได้นั้นมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริง
ค่าสูง
[แก้]ในกรณีของไข้เลือดออก, ค่า HCT ที่สูงจะเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงที่คนไข้จะเกิดอาการ Dengue shock syndrome
ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น Polycythemia vera (PV) เป็นความผิดปกติที่ไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้ค่า HCT มีค่าที่สูง
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) และโรคปอดที่เกี่ยวข้องกับภาวะพร่องออกซิเจน (hypoxia) มีผลทำให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น โดยเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับ erythropoietin (สารที่หลั่งออกมาจากไตเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดง) เพื่อตอบสนองต่อภาวะพร่องออกซิเจน
ค่า HCT ของนักกีฬามืออาชีพ เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสารเสพติดหรือสารกระตุ้น โดยจะเปรียบเทียบกับค่า HCT ที่เก็บเป็นข้อมูลของนักกีฬาแต่ละคนเป็นระยะเวลานาน หรือ เปรียบกับค่า HCT สูงสุดของกลุ่มประชากร หรือ ค่า HCT สำหรับบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงต่อการแข็งตัวของเลือด
การใช้ Anabolic Androgenic Steroid (AAS) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาร boldenone และ oxymetholone สามารถเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดงและส่งผลให้ค่า HCT สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เกิดการขาดน้ำก็มีผลทำให้ค่า HCT สูงขึ้นได้เช่นกัน
ค่าต่ำ
[แก้]ค่า HCT ที่ต่ำสามารถบ่งบอกถึงการเสียเลือด (Hemorrhage)
ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (mean corpuscular volume (MCV)) และ ความกว้างการกระจายของเม็ดเลือดแดง (Red blood cell distribution width (RDW)) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประเมินภาวะค่า HCT ต่ำกว่าปกติ โดยแพทย์สามารถใช้ค่านี้เพื่อประเมินว่าการเสียเลือดชนิดเรื้อรังหรือเฉียบพลัน ค่า HCT ที่ต่ำร่วมกับค่า MCV ต่ำและ RDW ที่สูง สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็น chronic iron-deficient erythropoiesis แต่ถ้าค่า RDW ปกติจะบ่งบอกว่าเกิดการเสียเลือดอย่างเฉียบพลัน
กลุ่มของบุคคลที่มีความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นโรคโลหิตจาง
- ทารกที่ขาดธาตุเหล็ก
- เด็กที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ธาตุเหล็กที่มีอยู่ไม่ทันกับความต้องการสำหรับการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดแดง
- สตรีที่คลอดบุตรซึ่งมีความต้องการธาตุเหล็กมาก เนื่องจากการสูญเสียเลือดในช่วงมีประจำเดือน
- สตรีตั้งครรภ์, ซึ่งทารกที่อยู่ในครรภ์มีความต้องการธาตุเหล็กสำหรับการเจริญเติบโต
- ผู้ป่วยโรคไตชนิดเรื้อรัง, ซึ่งไตไม่สามารถหลั่ง erythropoietin ได้อย่างเพียงพอ เพื่อนำมาใช้ในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Purves, William K.; David Sadava; Gordon H. Orians; H. Craig Heller (2004). Life: The Science of Biology (7th ed.). Sunderland, Mass: Sinauer Associates. p. 954. ISBN 0-7167-9856-5.
- ↑ "Hematocrit". Encyclopedia of Surgery: A Guide for Patients and Caregivers.
- ↑ "Hematocrit (HCT) or Packed Cell Volume (PCV)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-21.