ข้ามไปเนื้อหา

ฮินะมัตสึริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮินะมัตสุริ)
ฮินะมัตสึริ
ชุดตุ๊กตาฮินะเจ็ดชั้น
ชื่ออื่นเทศกาลตุ๊กตาญี่ปุ่น, วันเด็กผู้หญิง
จัดขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่น
ประเภทศาสนา
วันที่3 มีนาคม
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องShangsi Festival, Samjinnal

ฮินะมัตสึริ (ญี่ปุ่น: 雛祭りโรมาจิHina-matsuri) รู้จักกันในชื่อ วันตุ๊กตา หรือ วันเด็กผู้หญิง เป็นวันพิเศษในประเทศญี่ปุ่น[1]ที่ฉลองในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี[2] จะมีการปูพรมแดงบนแท่นวางเพื่อจัดแสดงเซ็ตของตุ๊กตาประดับ (ญี่ปุ่น: 雛人形โรมาจิhina-ningyō) ที่แสดงถึงจักรพรรดิ, จักรพรรดินี, บริวาร และนักดนตรีในชุดศาลแบบดั้งเดิมของยุคเฮอัง.[3]: 52 

ขนบธรรมเนียม

[แก้]

ฮินะมัตสึริเป็นหนึ่งในเทศกาลประจำฤดูกาลทั้ง 5 (ญี่ปุ่น: 五節句โรมาจิgo-sekku) ที่จัดขึ้นตามวันที่ในปฏิทินจีน ได้แก่: วันแรกของเดือนที่ 1, วันที่สามของเดือนที่ 3 เป็นต้น หลังจากนำรูปแบบปฏิทินกริกอเรียนมาใช้ ก็มีการจัดวันที่ใหม่ในวันที่ 1 มกราคม, 3 มีนาคม, 5 พฤษภาคม, 7 กรกฎาคม และ 9 กันยายน เทศกาลนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าเทศกาลลูกท้อ (ญี่ปุ่น: 桃の節句โรมาจิMomo no Sekku) เพราะผลลูกท้อเริ่มออกดอกในช่วงนี้[4] ถึงแม้ว่ามันไม่เป็นความจริงอีกต่อไปเพราะการเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินกริกอเรียน ชื่อและลูกท้อยังคงเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลเช่นเดิม[5]

แง่มุมหลักของฮินะมัตสึริคือการจัดวางดุ๊กตาชายและหญิง (โอบีนะ ญี่ปุ่น: 男雛โรมาจิobina กับเมบีนะ ญี่ปุ่น: 女雛โรมาจิmebina แปลตรงตัว "ตุ๊กตาชาย" และ "ตุ๊กตาหญิง") ซึ่งแสดงถึงงานแต่งงานยุคเฮอัง[5] แต่มักอธิบายเป็นจักรพรรดิกับจักรพรรดินีญี่ปุ่น[6]) ซึ่งใส่เสื้อคลุมแดง และมีการจัดชั้นวางตุ๊กตา (ญี่ปุ่น: 雛壇โรมาจิhinadan) อีกหลายชั้นที่แสดงถึงนางสนองพระโอษฐ์, นักดนตรี และผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ เซ็ตตุ๊กตากับเครื่องประดับทั้งหมดเรียกว่า ฮินากาซาริ (ญี่ปุ่น: 雛飾りโรมาจิhinakazari)[4]

ครอบครัวต่าง ๆ ต้องมั่นใจว่าเด็กหญิงมีตุ๊กตาสองตัวหลักก่อนที่จะเริ่มฮินะมัตสึริครั้งแรก โดยตุ๊กตาเหล่านี้มักมีราคาแพง (1,500 ถึง 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อเซ็ตตุ๊กตาห้าชั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพ) และพวกเด็กหญิงกับแม่ของพวกเธอเริ่มจัดของในไม่กี่วันก่อนวันที่ 3 มีนาคม (เด็กชายมักไม่เข้าร่วม เพราะในวันที่ 5 พฤษภาคม วันเด็กในปัจจุบัน เคยถูกเรียกเป็น "วันเด็กผู้ชาย" มาก่อน)[7] ตามธรรมเนียม กลุ่มตุ๊กตาควรถูกทิ้งหลังวันฮินะมัตสึริ โดยมีความเชื่อว่าการตั้งตุ๊กตานานกว่านี้ จะทำให้การแต่งงานของลูกสาวล่าช้า[8] แต่บางครอบครัวยังคงตั้ตไว้ทั้งเดือนมีนาคม[7] ถ้าพูดไปตามตรง การรีบกำจัดทิ้งให้เร็ว มีไว้เพื่อหลีกเลี่ยงฤดูฝนกับความชื้นที่ตามฮินะมัตสึริไป[9] ตามประวัติศาสตร์แล้ว ตุ๊กตาเหล่านี้เคยเป็นของเล่นมาก่อน[6] แต่ในปัจจุบัน พวกมันเป็นแค่ของจัดแสดงอย่างเดียว[7] และจะเลิกจัดงานนี้เมื่อเด็กหญิงมีอายุ 10 ขวบ[6]

ในช่วงฮินะมัตสึริและวันถัดมา ผู้หญิงจะจัดงานเลี้ยงกับเพื่อน โดยทำอาหารในเทศกาลนี้ เช่น ฮินะ-อาราเระ (ญี่ปุ่น: 雛あられโรมาจิhina-arare; ข้าวเกรียบหลากสี), จิราชิซูชิ (ญี่ปุ่น: ちらし寿司โรมาจิchirashizushi; ชามข้าวหรือกล่อง เบ็นโต ที่มีปลาดิบกับผัก), ฮิชิโมจิ (ญี่ปุ่น: 菱餅โรมาจิhishi mochi; เค้กข้าวหลากสี),[4] อิจิโงะ ไดฟูกุ (ญี่ปุ่น: いちご大福โรมาจิichigo daifuku; สตรอเบอร์รีห่อด้วยแผ่นถั่วอะซูกิ), ซากุระโมจิ (ญี่ปุ่น: 桜餅โรมาจิSakura mochi) และอูชิโอจิรุ (ญี่ปุ่น: うしお汁โรมาจิushiojiru; ซุปหอยที่เป็นคู่ติดกัน)[5] เครื่องดื่มในประเพณีนี้ได้แก่ ชิโรซาเกะ (ญี่ปุ่น: 白酒โรมาจิshirozake; แปล "ซาเกะขาว") ซึ่งถูกเรียกเป็น อามาซาเกะ (ญี่ปุ่น: 甘酒โรมาจิamazake; แปล. "ซาเกะหวาน") โดยเป็นเหล้าสาเกที่ไม่มีแอลกอฮอล์[10][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Hina Matsuri" in Japan Encyclopedia, p. 313.
  2. Sosnoski, Daniel (1996). Introduction to Japanese culture. Tuttle Publishing. p. 10. ISBN 0-8048-2056-2. Hina matsuri.
  3. Pate, Alan Scott (2008). Japanese Dolls: The Fascinating World of Ningyo. Tuttle Publishing. ISBN 4-8053-0922-9.
  4. 4.0 4.1 4.2 ""Hinamatsuri": Japan's Doll Festival". Nippon.com (ภาษาอังกฤษ). Nippon Communications Foundation. 27 February 2015. สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Itoh, Makiko (25 February 2011). "Delicious dishes that are fit for a princess". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0447-5763. สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 Shoaf, Judy. "Girls' Day Dolls". University of Florida. สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 Nakahara, Tetsuo (24 February 2016). "Girl power the Hina Matsuri way". Stripes Okinawa (ภาษาอังกฤษ). Stars and Stripes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2018. สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
  8. Sasaki, Mizue (1999). 日本事情入門 View of Today's Japan. Alc. p. 36. ISBN 4-87234-434-0.
  9. "Hinamatsuri, A Day of Celebration For Girls". VOYAPON (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2 March 2016. สืบค้นเมื่อ 1 March 2018.
  10. Rupp, Katherine (2003). Gift-giving in Japan: cash, connections, cosmologies. Stanford University Press. p. 134. ISBN 0-8047-4704-0.

สารานุกรม

[แก้]
  • Ishii, Minako. Girls' Day/Boys' Day. Honolulu: Bess Press Inc., 2007. ISBN 1-57306-274-X. A children's picture book.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]