เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน
Harpoon | |
---|---|
ขีปนาวุธฮาร์พูน ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ | |
ชนิด | ขีปนาวุธต่อต้านเรือ |
แหล่งกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บทบาท | |
ประจำการ | พ.ศ. 2520–ปัจจุบัน |
ผู้ใช้งาน | สหรัฐอเมริกา |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | โบอิง ดีเฟนซ์, สเปชแอนด์ซีเคียวริตี้ |
มูลค่าต่อหน่วย | US$1,200,000 สำหรับบล็อก II[1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 1,523 lb (691 kg) |
ความยาว | อากาศยาน: 12.6 ft (3.8 m);พื้นดินหรือเรือดำน้ำ 15 ft (4.6 m) |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 1.1 ft (0.34 m) |
ความยาวระหว่างปลายปีก | 3 ft (0.91 m) |
หัวรบ | 488 ปอนด์ (221 กิโลกรัม) |
เครื่องยนต์ | เทเลไดน์ เทอร์โบเจ็ต/ส่วนขับดัน แรงขับมากกว่า 600 ปอนด์ (มากกว่า 272.2 กิโลกรัม) |
พิสัยปฏิบัติการ | 124 กิโลเมตร |
ความสูงปฏิบัติการ | เรี่ยผิวน้ำ |
ความเร็วสูงสุด | 864 กม./ชม. (537 ไมล์/ชั่วโมง) |
ระบบนำวิถี | ผิวน้ำควบคุมโดยเรดาร์ / แอคทีฟเรดาร์โฮมมิง |
ฐานยิง | หลายรูปแบบ
|
เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน เป็นระบบขีปนาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และอากาศสู่พื้น โจมตีเรือรบผิวน้ำในระยะขอบฟ้าทุกสภาพอากาศ พัฒนาและผลิตโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ดักลาส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโบอิง) มีจำนวนผลิตกว่า 7,000 ลูก นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ฮาร์พูนได้รับการพัฒนาและดัดแปลงจำนวนหลายบล็อก เช่น บล็อก I, II, ID และ IG ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นบล็อก III นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบขีปนาวุธฮาร์พูนเป็นรุ่นโจมตีภาคพื้นดินเรียกอีกชื่อว่า สแลม (Standoff Land Attack Missile)
ฮาร์พูนใช้เรดาร์แอคทีฟโฮมมิ่งนำทางเข้าหาเป้าหมาย โดยจะบินเรี่ยผิวน้ำในระดับต่ำเพื่อหลบหลีกการถูกตรวจจับจากเรดาร์ข้าศึก สามารถยิงได้ทั้งจากเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ อากาศยาน และจากฐานยิงบนบก แบ่งออกดังนี้
- อากาศยานปีกตรึง (เอจีเอ็ม-84 รุ่นปราศจากจรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง)
- เรือรบผิวน้ำ (อาร์จีเอ็ม-84 รุ่นติดตั้งจรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง )
- เรือดำน้ำ (ยูจีเอ็ม-84 รุ่นตั้งภายในจรวดเชื้อเพลิงขับดันภายในแคปซูล ใช้ยิงจากท่อยิงตอร์ปิโด)
- ฐานยิงบนบก
ฮาร์พูนเทียบเคียงได้กับขีปนาวุธรุ่นใกล้เคียงอื่นๆ เช่น เอ็กโซเซ่ต์ ของฝรั่งเศส, อาร์บีเอส-15 ของสวีเดน, เอสเอส-เอ็น-25 ของรัสเซีย, ซี อีเกิล ของอังกฤษ, และ ซี 802 ของจีน
การพัฒนา
[แก้]ฮาร์พูนรุ่นแรก
[แก้]ขีปนาวุธฮาร์พูนได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ภายหลังเหตุการณ์เรือพิฆาตของอิสราเอลโดนโจมตีจากขีปนาวุธโจมตีเรือ พี-15 เทอร์มิต ซึ่งผลิตในโซเวียต ทำให้มีการพัฒนาขีปนาวุธสำหรับยิงจากอากาศยานลาดตระเวน พี-3 โอไรออน อีกทั้งได้รับการดัดแปลงให้ใช้ทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-52 สตราโตฟอร์เทรส ซึ่งสามารถบรรทุกได้แปดถึงสิบสองลูก ฮาร์พูนได้รับความนิยมจากชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติสมาชิกนาโต อาทิเช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และชาติพันธมิตรนอกนาโต เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และในส่วนอื่นๆของโลก
ฮาร์พูนได้รับการดัดแปลงให้ใช้ยิงจากเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งได้กับอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่น พี-3 โอไรออน, เอ-6 อินทรูเดอร์, เอส-3 ไวกิ้ง, เอวี-8 แฮริเออร์, และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท
ฮาร์พูน บล็อก ID
[แก้]ฮาร์พูนรุ่นดังกล่าวได้รับการดัดแปลงเพิ่มขนาดถังเชื้อเพลิง แต่มีจำนวนการผลิตที่จำกัดในสมัยสงครามเย็น (ใช้ในสงครามกับประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอของยุโรปตะวันออก) หรือเรียกอีกชื่อว่า เอจีเอ็ม-84 เอฟ[2][3]
แสลม เอทีเอ (บล็อก IG)
[แก้]อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบินวนโจมตีเป้าหมาย มีความสามารถใกล้เคียงกับขีปนาวุธร่นโทมาฮอร์ก โดยขีปนาวุธจะทำการคำนวณเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้ากับเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ โดยการเปรียบเทียบภาพเป้าหมายจริงกับภาพเป้าหมายที่บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์[4]
ฮาร์พูน บล็อก II
[แก้]พัฒนาโดยโบอิง โดยเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านต่อต้านทางอิเล็กโทรนิก (ECM) และระบบชี้เป้าด้วยระบบดาวเทียม (GPS)
ฮาร์พูน บล็อก III
[แก้]แผนการพัฒนาโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา โดยการปรับปรุงระบบควบคุมการยิง สำหรับติดตั้งบนเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถี เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถี และใช้ติดตั้งบนเครื่องบินโจมตี/ขับไล่แบบ เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท แต่ภายหลังการพัฒนาที่ล่าช้า นโยบายการควบคุมจำนวนเรือ การทดสอบที่ถูกเลื่อนออกไป ทำให้แผนการพัฒนาถูกยกเลิกในเดือน เมษายน พ.ศ. 2552
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]- กองทัพเรืออินโดนีเซีย (Block 1D) (ปลดประจำการ)[7]
- กองทัพอากาศกาตาร์ Block 2 ใช้กับ F-15QA[10]
- กองทัพอากาศตุรกี
- กองทัพเรือตุรกี
- กองทัพอากาศสหรัญอเมริกา
- กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
- ยามฝั่งสหรัฐอเมริกา (ปลดประจำการ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "United States Navy Fact File: Harpoon Missile". United States Navy.
- ↑ "Harpoon Block 1D" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05.
- ↑ "Harpoon" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05.
- ↑ Global Security Harpoon article
- ↑ "Video: Belgian frigate Louise-Marie in slow-mo missile firing action". Naval Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
- ↑ "India - UGM-84L Harpoon Missiles | Defense Security Cooperation Agency". www.dsca.mil. สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
- ↑ "Harpoon : Rudal Canggih Yang "Loyo" Akibat Embargo Militer". Indomiliter.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2011-05-08. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ "POLA Sigma 10514 ARM Reformador Frigate Launched for Mexican Navy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
- ↑ "UNROCA (United Nations Register of Conventional Arms)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ Jennings, Gareth (30 April 2019). "Qatar to arm F-15QAs with Harpoon Block 2 anti-shipping missile". Jane's 360. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.
- ↑ "RoKAF F-16C block 52 #01-515 from the 20th FW is flying alongside a P-3 'Orion' coastal patrol aircraft, both armed with AGM-84 Harpoon missiles. [RoKAF photo]". F-16.net. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ Newdick, Thomas (8 October 2021). "Watch Saudi F-15 Strike Eagles Unleash Harpoon Missiles Against Ship Targets". The Drive. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ "Royal Saudi Navy Badr corvette launches Harpoon anti-ship missile". Navy Recognition (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-04-12.
- ↑ "Formidable Class Frigate". Naval Technology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
- ↑ Hunter, Jamie (6 August 2020). "Taiwanese F-16s Begin Flying Patrols With Live Harpoon Anti-Ship Missiles To Deter China". The Drive. สืบค้นเมื่อ 20 February 2022.
- ↑ "New 155-mm-calibre self-propelled artillery and Harpoon missiles arrive in Ukraine". Ukrayinska Pravda. 28 May 2022. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลทางการ– เว็บไซต์โบอิง
- ข้อมูลและรายละเอียดของฮาร์พูนในแต่ละรุ่น– จากสารานุกรมแอสโตรนอติกา
- AGM-84 variants
- McDonnell-Douglas AGM-84A Harpoon and AGM-84E SLAM
- FAS Harpoon article
- Global Security Harpoon article
- Boeing Harpoon Block III Press Release
- Boeing Harpoon Block II Backgrounder
- Royal Netherlands Navy launches Harpoons from new frigate HMS De Ruyter (Defense-Aerospace) เก็บถาวร 2009-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอฟ/เอ-18 ยิง เอจีเอ็ม-84[ลิงก์เสีย] ดิจิตัล มิลิทารี อาร์ต