เฮลโลคิตตี
เฮลโลคิตตี | |
---|---|
ตัวละครใน ซานริโอ | |
เฮลโลคิตตี | |
ปรากฏครั้งแรก | ค.ศ. 1974 |
ปรากฏครั้งสุดท้าย | ปัจจุบัน |
สร้างโดย | ยูโกะ ชิมิซุ |
ให้เสียงโดย | ญี่ปุ่น: ฟูยูมิ ชิราอิชิ (คิตตีแอนด์มิมิส์นิวอัมเบรลลา) มามิ โคยามะ (เฮลโลคิตตีส์ซินเดอรลลา) อาเคมิ โอกามุระ (เฮลโลคิตตีส์เฟอร์รีเทลเทียเตอร์) เมกุมิ ฮายาชิบาระ (ซานริโอเวิร์ลออฟแอนิเมชัน, เฮลโลคิตตี้ส์พาราไดส์, ซาริโอปุโรแลนด์โชว์ (หลากหลาย))[1][2] อังกฤษ: ทารา สตรอง (เฮลโลคิตตีส์เฟอร์รีเทลเทียเตอร์) คาเรน เบิร์นสตีน (ไดสึกิ! เฮลโลคิตตี) โมนิกา รีออล (เฮลโลคิตส์แอนิเมชันเทียเตอร์) เมลิสซา ฟาห์น (เฮลโลคิตตีส์พาราไดส์) แชนนอน แซตเทิลไมเออร์ (โกรว์อิงอัพวิตเฮลโลคิตตี) โซเนสส์ สตีเวนส์[3] จูเลียต ซิมมอนส์ (เฮลโลคิตตีแอนด์เฟรนส์ - เลตส์เลิร์นทูเกเตอร์)[4] จูเลีย เซลส์ (เดอะเวิร์ลออฟเฮลโลคิตตี)[4] |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เผ่าพันธุ์ | ตัวการ์ตูนเด็กผู้หญิงที่มีลักษณะเหมือนแมวหางกุดญี่ปุ่น[5] |
เพศ | หญิง |
ครอบครัว | มิมิ (น้องสาวฝาแฝด) จอร์จ (พ่อ) แมรี (แม่) แอนโทนี (ปู่) มาร์กาเรต (ยาย) ชาร์มมี คิตตี (แมวสัตว์เลี้ยง) เดียร์ แดเนียล (เพื่อนสมัยเด็ก) มายเมโลดี้ (เพื่อนสนิท) |
สัญชาติ | อังกฤษ[6] |
ชื่อเต็ม | คิตตี ไวต์[6] |
เฮลโลคิตตี (ญี่ปุ่น: ハローキティ; โรมาจิ: Harō Kiti; อังกฤษ: Hello Kitty)[7] (ชื่อเต็ม: คิตตีไวท์; ญี่ปุ่น: キティ・ホワイト; โรมาจิ: Kiti howaito; อังกฤษ: Kitty White) [6] คือตัวละครที่สร้างโดยบริษัทซานริโอ้ ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบครั้งแรกโดยคุณยูโกะ ชิมิซุ โดยเธอวาดออกมาเป็นภาพแมวญี่ปุ่นหางสั้น เพศเมีย สีขาว ที่ติดโบว์สีแดง[8] เฮลโลคิตตีปรากฏตัวครั้งแรกในรายการ “A vinyl coin purse” เป็นที่รู้จักในประเทศญี่ปุ่นในปี 1974 และถูกนำไปออกอากาศที่สหรัฐอเมริกาในปี 1976 [9][10]โดยมีบุคลิกที่แสดงออกถึงความน่ารักของวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของญี่ปุ่น[11] ในปี 2010 ที่เฮลโลคิตตีที่มีอายุครบ 36 ปี บริษัทซานริโอได้สร้างให้ตัวละครนี้เป็นปรากฏการณ์การตลาดระดับโลกที่มีมูลค่าถึง ห้าพันล้านดอลล่าร์[12] และต่อมาในปี 2014 เมื่อเฮลโลคิตตีมีอายุ 40 ปี ก็สามารถสร้างมูลค่าตลาดได้ถึงเจ็ดพันล้านดอลลาร์ โดยไม่ต้องมีการโฆษณาใด ๆ[13] จากเป้าหมายเดิมที่มุ่งเน้นลูกค้าในกลุ่มก่อนวัยรุ่น ซึ่งตลาดของเฮลโลคิตตี ได้ขยายไปสู่ผู้บริโภคที่เป็นผู้ใหญ่ เราสามารถพบผลิตภัณฑ์ของเฮลโลคิตตีได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่อุปกรณ์การเรียน เครื่องประดับแฟชั่น จนถึงสินค้าราคาแพง ๆ และคิตตีถูกสร้างเป็น ละครทีวีเฮลโลคิตตี สำหรับเด็กอีกหลายตอน นอกจากนั้นยังเป็น ตัวละครหลักของสวนสนุกซานริโอ้ 2 แห่งในญี่ปุ่น ได้แก่ ฮาร์โมนีแลนด์ และสวนสนุกในร่ม ซานริโอ้ พูโรแลนด์ อีกด้วย
ตัวละคร
[แก้]จากข้อมูลตัวละครอย่างเป็นทางการสำหรับเฮลโลคิตตี ชื่อเต็มของเธอคือ คิตตีไวท์ (ญี่ปุ่น: キティ・ホワイト; โรมาจิ: Kiti howaito; ทับศัพท์: Kitty White) เธอเกิดในเขตชานเมืองของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน มีความสูงเท่ากับแอปเปิ้ล 5 ผล และน้ำหนักเท่ากับแอปเปิ้ล 3 ผล ภาพลักษณ์ของเธอคือหญิงสาวที่สดใสและใจดี สนิทกับน้องสาวฝาแฝดของเธอที่ชื่อมิมมี่มาก อบคุ้กกี้เก่งและชอบทานพายแอปเปิ้ลที่แม่ทำ เธอชอบสะสมของน่ารัก ๆ และวิชาที่เธอชื่นชอบในโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ดนตรี และศิลปะ[6][14]
เฮลโลคิตตี เป็นตัวละครที่รายล้อมไปด้วยครอบครัวขนาดใหญ่ที่ทุกคนมีนามสกุลไวท์ น้องสาวฝาแฝดของเธอที่ชื่อมิมมี่ เป็นเด็กผู้หญิงที่ขี้อายมาก ชอบเย็บปักถักร้อยและฝันถึงการแต่งงาน ในขณะที่คิตตีสวมโบว์สีแดงที่หูซ้ายของเธอ มิมมี่จะสวมโบว์สีเหลืองอยู่ทางด้านขวา จอร์จซึ่งเป็นพ่อของพวกเขาเป็นคนที่น่าเชื่อถือ มีอารมณ์ขัน แต่มักจะเหม่อลอยอยู่บ่อย ๆ ในขณะที่แม่ (แมรี่) ทำอาหารเก่งและชอบทำงานบ้าน คุณปู่แอนโทนี่ชอบที่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ส่วนคุณยายมาร์กาเร็ตชอบเย็บผ้า[14] เดียร์ แดเนียลเป็นเพื่อนในวัยเด็กของคิตตี เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม ในลอนดอน มีชื่อจริงว่า แดเนียล สตาร์ เขาออกเดินทางไปกับพ่อแม่ของเขาและต้องจากเฮลโลคิตตีเป็นเวลานาน เขามีบุคลิกที่ทันสมัยและมีความอ่อนไหว เต้นและเล่นเปียโนเก่ง สนใจในการถ่ายภาพและฝันที่จะเป็นคนดัง[15]
ชาร์มมี คิตตี (Charmmy Kitty) คือแมวเปอร์เซียสีขาวที่เป็นสัตว์เลี้ยงของคิตตี อ่อนน้อมเชื่อฟังเจ้าของและชอบของที่มีประกายเงางาม สร้อยที่คล้องคอแชมมี่ห้อยกุญแจเปิดกล่องเครื่องประดับ[16] ของคิตตี นอกจากนี้คิตตียังมีสัตว์เลี้ยงเป็นหนูแฮมสเตอร์ที่มีชื่อว่าชูการ์ ซึ่งเป็นของขวัญที่ได้รับจากเดียร์ แดเนียล[17]
ประวัติผู้ออกแบบ
[แก้]ในปี 1962 ชินทาโร ซูจิ ผู้ก่อตั้งซานริโอ้ เริ่มขายรองเท้าแตะยางพิมพ์ลายดอกไม้[18] ซูจิสังเกตเห็นว่าสามารถเพิ่มผลกำไรให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มการออกแบบที่น่ารักบนรองเท้าแตะ จึงจ้างให้นักเขียนการ์ตูน การออกแบบตัวละครที่น่ารักสำหรับสินค้าของเขา[18] บริษัทได้ผลิตสินค้าโดยมีลายรูปตัวละครเพื่อเป็นของขวัญในโอกาสต่าง ๆ[19] เฮลโลคิตตีได้รับการออกแบบโดย ยูโกะ ชิมิซุ และถูกบันทึกอยู่ในตัวละครหลักของซานริโอ้ ในต้นปี 1974 [10] ภาพของการปรากฏตัวครั้งแรกในรายการ “A vinyl coin purse” ในประเทศญี่ปุ่น เป็นภาพที่คิตตีนั่งอยู่ระหว่างขวดนมและชามปลาทอง[20] และปรากฏตัวครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1976[9]
บริษัทตัดสินใจที่จะสร้างให้เฮลโลคิตตีเกิดใน ประเทศอังกฤษ เพราะในช่วงเวลาที่คิตตีถูกสร้างขึ้นมา อะไรก็ตามที่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษให้ความรู้สึกทันสมัยมาก สำหรับคนญี่ปุ่น นอกจากนี้ ซานริโอ้ก็มีตัวละครอื่น ๆ ที่เกิดในสหรัฐอยู่แล้ว พวกเขาจึงต้องการสร้างให้คิตตีมีความแตกต่างออกไป[11][21] ชิมิซุ ได้ชื่อคิตตี จากนิยายชื่อมองผ่านกระจก ของ ลูอิส แครอล ที่อยู่ในตอนต้นของหนังสือ ที่อลิซเล่นกับแมวของเธอที่ชื่อ คิตตี[22] คำขวัญซานริโอ้ คือ "การสื่อสารในสังคม" และซูจิอยากตั้งชื่อของแมวที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนั้น ครั้งแรกที่เขาคิดว่า "ไฮ คิตตี" ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ "เฮลโล" ซึ่งสื่อถึงคำอวยพรได้ด้วย[23] ตัวแทนประชาสัมพันธ์ของบริษัทได้อธิบายว่าคิตตีไม่มีปากเพราะพวกเขาต้องการให้ผู้คนมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครและมีความสุข หรือเศร้าร่วมไปกับคิตตี[11][24] อีกอย่างหนึ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมคิตตีไม่มีปากคือการที่เธอ" พูดออกมาจากหัวใจ” คิตตีเป็นเหมือนกับทูตของซานริโอ้สู่ทั่วโลกและไม่ได้ยึดติดกับภาษาใดโดยเฉพาะ[21] "บริษัทมองเห็นคิตตีเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพและพวกเขาหวังว่าเธอจะส่งเสริมมิตรภาพระหว่างผู้คนทั่วโลก[11] มีบางคนให้ข้อสังเกต[โดยใคร?] ว่าเฮลโลคิตตีมีต้นกำเนิดมาจากแมวกวักของญี่ปุ่น (มะเนะกิเนะโกะ) ซึ่งชื่อคิตตีเองก็มีที่มาจากแมวกวัก ซึ่งหมายถึงการกวักมือเรียกแมวในภาษาอังกฤษ
ประวัติ
[แก้]หลังจากที่เปิดตัวปี 1974 เฮลโลคิตตี ก็ขายดีในทันที และ ส่งผลให้ยอดขายรวมของซานริโอ้เพิ่มขึ้นถึงเจ็ดเท่าหลังจากที่เผชิญกับภาวะยอดขายตกต่ำในปี 1978[11][25] มีคอลเลคชั่นคิตตีที่ออกแบบแปลก ๆ ใหม่ ๆ วางจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นไปในสังคมในช่วงเวลานั้น ทั้งนี้ ยูโกะ ยามากูชิ ซึ่งเป็นนักออกแบบหลักของเฮลโลคิตตี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกล่าวว่า เธอได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบคิตตี รุ่นใหม่ ๆ จากแฟชั่น, ภาพยนตร์และโทรทัศน์[11][25]
ในช่วงแรกคิตตีเน้นการทำตลาดเฉพาะเด็กผู้หญิงเท่านั้น แต่ตั้งแต่ปี 1990 กลุ่มเป้าหมายสำหรับคิตตีได้ขยายออกไปยังกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ในฐานะที่เป็นแบรนด์ย้อนยุค[11][21] ทั้งนี้ซานริโอ้เริ่มมีการออกแบบผลิตภัณฑ์คิตตีสำหรับผู้ใหญ่มากขึ้น เช่นกระเป๋าและแล็ปท็อป [11][21][25] เพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มนี้เป็นพิเศษ ในปี 1994-1996 มีการวางจำหน่าย เฮลโลคิตตี รุ่นคิตตี เฟซ ซึ่งเน้นการออกแบบสินค้าเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น[11]
ซานริโอ้ กล่าวว่า ในปี 1999 มีคิตตีรุ่นใหม่ ๆ ออกวางจำหน่ายถึง 12,000 แบบต่อปี[23] ทั้งนี้ในปี 2008 สามารถทำรายได้กว่าหนึ่งร้อยล้านดอลล่าร์ ซึ่งมากถึงครึ่งหนึ่งของรายได้รวมของซานริโอ้ทั้งบริษัท ทั้งนี้คิตตีมีวางจำหน่ายมากกว่า 50,000 แบบในกว่า 60 ประเทศ[21]ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ด้วยแนวโน้มแฟชั่นในญี่ปุ่น ส่งผลให้บริษัทเริ่มใช้สีเข้ม ลดสีชมพู และใช้การออกแบบที่มีรูปแบบที่น่ารักน้อยลงในการออกแบบคิตตีรุ่นใหม่ ๆ[25]
สินค้า
[แก้]แรกเริ่มเดิมทีที่กลุ่มเป้าหมายหลักของเฮลโลคิตตี ยังคงเป็นเด็กหญิงอยู่นั้น สินค้าที่ผลิตออกมายังเป็นพวกตุ๊กตา, สติ๊กเกอร์, การ์ดอวยพร, เสื้อผ้า, ของใช้กระจุกกระจิก, เครื่องเขียน และกระเป๋าใส่เครื่องเขียน แต่หลังจากที่มีการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ก็มีการวางจำหน่ายสินค้าประเภท เครื่องปิ้งขนมปัง, โทรทัศน์, เครื่องใช้ในบ้าน, อุปกรณ์นวด และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่สินค้าทั่วไป, สินค้าราคาสูง และสินค้าประเภทของสะสมหายาก[26]
การเงิน
[แก้]ในปี 2009 ธนาคารแห่งอเมริกา นำเสนอสมุดเช็คและบัตรวีซ่าเดบิตในธีม เฮลโลคิตตี ซึ่งมีใบหน้าของคิตตีบนเช็คและบัตร[27] ทั้งนี้บัตรเดบิตการ์ด มาสเตอร์การ์ดได้ใช้เฮลโลคิตตี เป็นธีมบัตรมาตั้งแต่ปี 2004 แล้ว[28]
สินค้าประเภทไฮ เอน (สินค้าที่มีราคาสูง)
[แก้]ซานริโอ้และบริษัทคู่ค้าได้ออกผลิตภัณฑ์เฮลโลคิตตีภายใต้สินค้าหลาย ๆ แบรนด์ เช่นกีตาร์ไฟฟ้า เฮลโลคิตตี สตาร์โตแคสเตอร์ (ภายใต้แบรนด์ เฟนเดอร์ในสหรัฐอเมริกาในปี 2006) และ แอร์บัส เอ330-200 ได้ออกแบบเครื่องบินเชิงพาณิชย์ สำหรับเครื่องบินเจ็ทในนามเฮลโลคิตตี เจท (ของสายการบินอีวาแอร์เวย์ของไต้หวันในปี2005- 2009)[29] ซึ่งตั้งแต่ปลายปี 2011 ถึงต้น 2012, อีวาแอร์เวย์สามารถกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งด้วยการออก "เฮลโลคิตตี เจท" ด้วยแอร์บัส เอ330-300 ลำใหม่ถึง 3 ลำด้วยกัน และต้องเพิ่ม เอ330-200s อีกถึง 2 ลำหลังจากที่มีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมากในช่วงกลางปี 2012 ปี หลังจากนั้นอีก 1 ปี อีวาแอร์เวย์ก็ได้เพิ่มเครื่องโบอิง 777-300อีอาร์ให้เป็นเฮลโลคิตตี เจท อีกหนึ่งลำ ซึ่งไม่เพียงแต่คิตตีเท่านั้น ยังมีตัวละครซานริโอ้อื่น ๆ บนเครื่องบินอีกด้วย ในปี 2009 นอกเหนือจากเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ แล้ว คิตตียังเข้าสู่ตลาดไวน์ โดยมีถึง 4 รูปแบบ โดยเป็นการจำหน่ายแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีไว้เพื่อตอบสนองการขยายตัวของกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น[30]
เครื่องประดับ
[แก้]ในฤดูใบไม้ผลิปี 2005 บริษัทซิมมอนส์ จิวเวลรี่และ ซานริโอ้ได้ประกาศความร่วมมือออกแบบเครื่องประดับร่วมกัน "คิโมรา ลี ซิมมอนส์ สำหรับเฮลโลคิตตี" ที่เปิดตัวเฉพาะห้างไนแมน มาร์คัส ในราคาตั้งแต่ 300 ถึง 5,000 ดอลลาร์ ออกแบบโดย คิโมรา ลี ซิมมอนส์ และเปิดตัวเป็นคอลเลกชันแรก เป็นเครื่องประดับทั้งหมดทำด้วยมือซึ่งประกอบด้วยเพชร,อัญมณีและหินมีค่า, ทอง 18K,เงินสเตอร์ลิง,เครื่องประดับลงยาและเซรามิก[31]
ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ซิมมอนส์ จิวเวลรี่และซานริโอ้ ได้ออกเครื่องประดับและนาฬิกาในคอลเลกชัน "เฮลโลคิตตี®โดยซิมมอนส์ จิวเวลรี่" ซึ่งคอลเลกชันดังกล่าวร่วมมือกับ เซลส์ คอร์ปอร์เรชั่น เพื่อขยายการเข้าถึงของแบรนด์และการพัฒนาเครื่องประดับเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของแฟนคิตตีทุกระดับ การออกแบบใช้การรวมอัญมณีหลากสีสันและเงินสเตอร์ลิงที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าวัยรุ่นด้วยราคาขายปลีกเริ่มต้นที่ 50 ดอลลาร์[32]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ MEGUMI HOUSE - キングレコードによる林原の紹介ページ。出演履歴にハローキティは出てこない
- ↑ キティちゃんの声優はあの有名声優だった! だれだかわかる? | ガジェット通信 GetNews
- ↑ "Your Speaker Coach — Your Speaking Journey". Your Speaking Journey. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
- ↑ 4.0 4.1 "Hello Kitty Voices - Behind The Voice Actors". behindthevoiceactors.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2020. Check mark indicates role has been confirmed using screenshots of closing credits and other reliable sources.
{{cite web}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Sanrio's Shocking Reveal: Hello Kitty Is NOT A Cat: LAist". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2014-08-28.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Hello Kitty". Sanrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2010.
- ↑ "サンリオキャラクターたちの本名、言えますか?" (ภาษาญี่ปุ่น). 2008-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-11.
- ↑ "Hello Kitty Hooks Generations On Cute, Kitsch". NPR. 2010-12-03. สืบค้นเมื่อ 2012-08-13.
- ↑ 9.0 9.1 Dhamija, Tina (April 1, 2003). "Designing an Icon: Hello Kitty Transcends Generational and Cultural Limits". ToyDirectory. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
- ↑ 10.0 10.1 "Hello Kitty celebrates 30". China News Daily. 2005-08-19. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8 Takagi, Jun (August 21, 2008). "10 Questions for Yuko Yamaguchi". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-13. สืบค้นเมื่อ 2009-10-31.
- ↑ Tabuchi, Hiroko (May 14, 2010). "In Search of Adorable, as Hello Kitty Gets Closer to Goodbye". เดอะนิวยอร์กไทมส์. สืบค้นเมื่อ 2012-10-06.
- ↑ Detroit Free Press, HELLO KITTY STILL BOWLING ’EM OVER, by Jenee Osterheldt, page D1, July14, 2014
- ↑ 14.0 14.1 "Sanrio - Hello Kitty Family". Sanrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ "Sanrio - Dear Daniel". Sanrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-26. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ "Sanrio - Charmmy Kitty". Sanrio. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ "Hello Kitty, My Melody, and other Sanrio characters at SanrioTown". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2014-08-23.
- ↑ 18.0 18.1 Belson, K. (2003). Asia times online. The cat who turned kawaii into cash. Retrieved May 19, 2011, from http://www.atimes.com/atimes/Japan/EL13Dh01.html เก็บถาวร 2012-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Sanrio Europe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2009-09-14.
- ↑ "Hello Kitty Turns 35". Time. 2009-06-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-03-14.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 Walker, Esther (21 May 2008). "Top cat: how 'Hello Kitty' conquered the world". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 19 September 2008.
- ↑ "Hello Kitty, You're 30". St. Petersburg Times. November 15, 2004. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
- ↑ 23.0 23.1 Tracey, David (May 29, 1999). "The Small White Cat That Conquered Japan". New York Times.
- ↑ Walker, Rob. Buying In: The Secret Dialogue Between What We Buy and Who We Are. Random House, Inc., 2008. 18. Retrieved from Google Books on August 30, 2010. ISBN 1-4000-6391-4, ISBN 978-1-4000-6391-8.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 Tabuchi, Hiroko (14 May 2010). "In Search of Adorable, as Hello Kitty Gets Closer to Goodbye". NYTimes.com.
- ↑ Paschal (18 May 2003). "Sanrio's Hula Kitty heads to the beach". Honolulu Star-Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-08-25. สืบค้นเมื่อ 30 April 2015.
- ↑ ""Bank of America's "My Expression Banking" page with the Hello Kitty theme". สืบค้นเมื่อ 2010-01-21.
- ↑ Mayer, Caroline E. (October 3, 2004). "Girls Go From Hello Kitty To Hello Debit Card". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
- ↑ "World's first `Hello Kitty' airplane to make debut Lunar New Year flights". The Taipei Times. December 13, 2005.
- ↑ Garcia, Catherine (March 26, 2010). "Please pass the bubbly, Hello Kitty". EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-01. สืบค้นเมื่อ 2014-08-23.
- ↑ "Kimora Lee Simmons for Hello Kitty". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.
- ↑ "Hello Kitty Fine Jewelry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-12. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official Hello Kitty website
- Sanriotown เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kittylab Singapore Expo 2009 เก็บถาวร 2009-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Hello Kitty 35th Anniversary Project Kitty Lab
- How Hello Kitty Conquered the World April 12, 2013 Wall Street Journal
- บทความที่ต้องการให้ระบุตัวบุคคลให้ชัดเจนตั้งแต่September 2012
- เฮลโลคิตตี
- ตัวละครชาวอังกฤษ
- ตัวการ์ตูนซานริโอ
- วิดีโอเกมที่มีตัวละครเอกหญิง
- ตัวละครที่เป็นฝาแฝด
- สัญลักษณ์นำโชคญี่ปุ่น
- สัญลักษณ์นำโชคการ์ตูน
- สัญลักษณ์นำโชคโทรทัศน์
- สัญลักษณ์นำโชคของเล่น
- มาสคอตอนิเมะและมังงะ
- ซูเปอร์ฮีโรเด็ก
- บุคคลในบันเทิงคดีจากลอนดอน
- ตัวละครหญิงในแอนิเมชัน
- ตัวละครเด็กในอนิเมะและมังงะ