ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบางระจัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.บางระจัน)
อำเภอบางระจัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Rachan
คำขวัญ: 
แดนชื่อดังครั้งกรุงเก่า ย่านเตาเผาแม่น้ำน้อย
รสอร่อยปลาแม่ลา หลวงปู่บุดดาประชานิยม
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอบางระจัน
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอบางระจัน
พิกัด: 14°53′32″N 100°19′2″E / 14.89222°N 100.31722°E / 14.89222; 100.31722
ประเทศ ไทย
จังหวัดสิงห์บุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด190.5 ตร.กม. (73.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด32,547 คน
 • ความหนาแน่น170.85 คน/ตร.กม. (442.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 16130
รหัสภูมิศาสตร์1702
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางระจัน หมู่ที่ 4 ตำบลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 16130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางระจัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี เป็นที่รู้จักสำหรับวีรชนค่ายบางระจัน

วัดพระปรางค์

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบางระจันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

อำเภอบางระจัน เดิมชื่อ "อำเภอสิงห์" ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บ้านเชิงกลัด ทางฝั่งขวาของแม่น้ำน้อย ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางระจันในปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอค่อนไปทางเหนือมากเกินไป มิได้ตั้งอยู่จุดศูนย์กลาง ประชาชนมาติดต่อราชการไม่สะดวก ประกอบกับขณะนั้นลำแม่น้ำน้อย ตรงที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบางระจัน ก็ตื้นเขินขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง จึงได้พิจารณาหาที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสียใหม่

ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2442 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำน้อย ณ หมู่ที่ 4 ตำบลสิงห์ ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน ในชั้นแรกเป็นเสาไม้แก่น พื้นฝากระดาน หลังคามุงจาก เป็นที่ทำการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2461 อาคารหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ไม่สามารถที่จะซ่อมแซมให้มั่นคงแข็งแรงได้ ทางราชการจึงได้ตั้งอาคารที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ตามแบบแปลนของทางราชการ เป็นอาคารไม้ ใต้ถุนสูง ทรงปั้นหยา เสาก่ออิฐถือปูน พื้นฝาไม้สัก หลังคามุงกระเบื้อง ทำการก่อสร้างอยู่ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การก่อสร้างได้ดำเนินไปในสมัยที่ ขุนประสิทธิ์นรกรรม (เจียน หงษ์ประภาส) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ

ต่อมาทางราชการ ได้พิจารณาเห็นว่า ชื่ออำเภอสิงห์ เป็นชื่อพ้องกับจังหวัดสิงห์บุรี อีกประการหนึ่งสมัยนั้นทางราชการ ได้ฟื้นฟูสถานที่หรือกิจกรรมสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงเล็งเห็นว่า ในท้องที่อำเภอเป็นที่ตั้งของค่ายบางระจันในอดีต ซึ่งเป็นวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ที่ประชาชนได้สมัครสมานกลมเกลียว เสียสละชีวิต และเลือดเนื้อ ทำการสู้รบกับพม่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวบ้านบางระจันผู้กล้าหาญ จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอสิงห์ มาเป็นอำเภอ "บางระจัน" ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 จนถึงปัจจุบัน[1] อนึ่ง อำเภอค่ายบางระจันในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมขึ้นกับอำเภอบางระจัน และเป็นที่ตั้งของค่ายประวัติศาสตร์ "วีรชนชาวบ้านบางระจัน" นั้น ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เป็นพระราชกฤษฎีกาแยกเป็นเอกเทศ เป็นอำเภอค่ายบางระจัน เมื่อ 8 กันยายน 2519

  • วันที่ 21 พฤษภาคม 2454 แยกพื้นที่ตำบลนางเริง ตำบลเขาพระ ตำบลท่ารวก ตำบลท่าช้าง ตำบลหัวเขา ตำบลวังศรีราช ตำบลหัวนา ตำบลป่าสะแก ตำบลลำพันบอง ตำบลบ่อกรุ ตำบลห้วยขมิ้น ตำบลนางบวช อำเภอนางบวช (อำเภอสามชุก) ตำบลท่ามะนาว ตำบลโคกช้าง อำเภอสิงห์ (อำเภอบางระจัน) เมืองสิงห์บุรี ตำบลเดิมบาง และตำบลกำมะเชียน อำเภอเดิมบาง (เดิม) แขวงเมืองไชยนาท ไปจัดตั้งเป็น อำเภอเดิมบาง[2] ขึ้นกับเมืองสุพรรณบุรี
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2481 รวมตำบลท้องคุ้ง เข้ากับตำบลโพสังโฆ และเรียกชื่อตำบลว่า ตำบลโพสังโฆ[3]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอสิงห์ จังหวัดสิงห์บุรี เป็น อำเภอบางระจัน[4]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลแม่ลา แยกออกจากตำบลโพชนไก่ ตั้งตำบลโพสังโฆ แยกออกจากตำบลท่าข้าม และตั้งตำบลคอทราย แยกออกจากตำบลบางระจัน[5]
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลสิงห์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลสิงห์[6]
  • วันที่ 2 มีนาคม 2508 ตั้งตำบลบ้านจ่า แยกออกจากตำบลโพทะเล[7]
  • วันที่ 5 มีนาคม 2511 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสิงห์[8][9] โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโพชนไก่ บางส่วนของตำบลเชิงกลัด และบางส่วนของตำบลไม้ดัด
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน 2513 จัดตั้งสุขาภิบาลโพสังโฆ ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพสังโฆ[10]
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2515 แยกพื้นที่ตำบลบางระจัน ตำบลท่าข้าม ตำบลโพสังโฆ ตำบลคอทราย และตำบลโพทะเล อำเภอบางระจัน มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอค่ายบางระจัน[11] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบางระจัน
  • วันที่ 8 กันยายน 2519 ยกฐานะกิ่งอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบางระจัน เป็น อำเภอค่ายบางระจัน[12]
  • วันที่ 20 มิถุนายน 2515 ตั้งตำบลสระแจง แยกออกจากตำบลพักทัน[13]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสิงห์ เป็นเทศบาลตำบลสิงห์[14]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลโพชนไก่ และองค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์ อำเภอบางระจัน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา[15] และเรียกชื่อว่า องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงกลัด รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ดัด[16]
  • วันที่ 8 มีนาคม 2556 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลสิงห์ อำเภอบางระจัน เป็นเทศบาลตำบลบางระจัน และยกฐานะเทศบาลตำบลบางระจัน ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองบางระจัน[17]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอบางระจันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 8 ตำบล ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[18]
1. สิงห์ Sing
3,927
2. ไม้ดัด Mai Dat
6,834
3. เชิงกลัด Choeng Klat
4,357
4. โพชนไก่ Pho Chon Kai
4,407
5. แม่ลา Mae La
1,539
6. บ้านจ่า Ban Cha
3,114
7. พักทัน Phak Than
4,583
8. สระแจง Sa Chaeng
4,017

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอบางระจันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางระจัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสิงห์ ตำบลไม้ดัด ตำบลเชิงกลัด และตำบลโพชนไก่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ดัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้ดัดและตำบลเชิงกลัด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางระจัน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาทั้งตำบล รวมทั้งตำบลสิงห์และตำบลโพชนไก่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางระจัน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านจ่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพักทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพักทันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระแจง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระแจงทั้งตำบล

การคมนาคมขนส่ง

[แก้]
ทางบก
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3030: เทศบาลเมืองสิงห์บุรี-เทศบาลตำบลบางระจัน
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3454: ชันสูตร-อ.ท่าช้าง
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3251: ชันสูตร-อ.สรรคบุรี
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3303: อ.บางระจัน-อ.เดิมบางนางบวช
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3252: บ้านจ่า-ชันสูตร
  • รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 8 กรุงเทพฯ-สรรคบุรี-ชัยนาท
  • รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย 908 กรุงเทพฯ-สิงห์บุรี-หันคา
  • รถโดยสารประจำทาง สาย 605 สิงห์บุรี - สรรคบุรี

สถานที่สำคัญ

[แก้]
  • ที่ว่าการอำเภอบางระจัน
  • สถานีตำรวจภูธรบางระจัน
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบางระจัน
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี วิทยาเขตสิงห์บุรี
  • โรงเรียนบางระจันวิทยา
  • โรงเรียนศรีศักดิ์สุวรรณวิทยา
  • โรงพยาบาลบางระจัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข้อมูลพื้นฐาน : อำเภอบางระจัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเดิมบางและเปลี่ยนชื่ออำเภอเดิมบางเก่าเป็นอำเภอบ้านเชียน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 299–300. May 21, 1911.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอต่าง ๆ จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3237–3238. 26 ธันวาคม 2481.
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. 17 เมษายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 87-88. 15 ตุลาคม 2499.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (19 ง): 641–643. 2 มีนาคม 2508.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (23 ง): 699–701. 5 มีนาคม 2511.
  9. "แก้คำผิด ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลสิงห์ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๓ [ถือหลักเขตที่ ๒ เป็น ถึงหลักเขตที่ ๒]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (29 ง): (ฉบับพิเศษ) 241. 5 เมษายน 2511.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโพสังโฆ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (110 ง): 3276–3277. 24 พฤศจิกายน 2513.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบางระจัน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (17 ง): 178. 1 กุมภาพันธ์ 2515. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  12. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเลาขวัญ อำเภอคำม่วง คำเภอพิปูน อำเภอศรีเทพ อำเภอนาแห้ว อำเภอส่องดาว อำเภอควนกาหลง อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอบ้านตาขุน และอำเภอกุดจับ พ.ศ. ๒๕๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (109 ก): (ฉบับพิเศษ) 31-34. 8 กันยายน 2519. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (94 ง): 1607–1610. 20 มิถุนายน 2515.
  14. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). 1 กรกฎาคม 2547: 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 17–20. 15 กันยายน 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-13.
  17. เปลี่ยนแปลงฐานะ ทต.บางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็น ทม.บางระจัน (๑๑ ธ.ค. ๕๕)
  18. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.