อำเภอชุมแสง
อำเภอชุมแสง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chum Saeng |
คำขวัญ: แห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ สองแควยมน่าน น้ำตาลหวานเกยไชย บึงใหญ่บอระเพ็ด | |
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอชุมแสง | |
พิกัด: 15°52′52″N 100°18′9″E / 15.88111°N 100.30250°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครสวรรค์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 716.7 ตร.กม. (276.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 62,834 คน |
• ความหนาแน่น | 87.67 คน/ตร.กม. (227.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 60120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6003 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอชุมแสง หมู่ที่ 17 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ชุมแสง เป็น 1 ใน 15 อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่ชุมทางแม่น้ำสองสาย ได้แก่ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่านบรรจบกันที่ตำบลเกยไชย และไปรวมกับแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสงมีเทศบาลเมืองชุมแสงเป็นเมืองศูนย์กลางของอำเภอ ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 5 สุขาภิบาลท้องที่ในอดีต (ได้แก่ โพธาราม, บ้านโป่ง, ชุมแสง, บางมูลนาก และบ้านหมี่) ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอชุมแสงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอโพทะเลและอำเภอบางมูลนาก (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองบัว
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าตะโกและอำเภอเมืองนครสวรรค์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเก้าเลี้ยว
ประวัติ
[แก้]อำเภอชุมแสง เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์ แต่เดิมอยู่ในความปกครองของอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาทางราชการได้แบ่งท้องที่การปกครองจัดตั้งป็นตำบลเกยไชย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2446 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศฐานะขึ้นเป็นอำเภอโดยเรียกชื่อว่า "อำเภอพันลาน" เนื่องจากตั้งอยู่ที่พันลาน (ปัจจุบันคือหมู่ที่ 4 ตำบลพันลาน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอพันลาน" มาเป็น "อำเภอเกยไชย" ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งอยู่ที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านที่บ้านชุมแสงซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตลาดชุมแสง จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอเกยไชย" มาเป็น "อำเภอชุมแสง"
คำว่า "ชุมแสง" มีผู้เล่าต่อ ๆ กันมาเป็น 2 ทาง คือ ต้นไม้ชนิดนี้ เรียกว่า "ต้นชุมแสง" มีลักษณะคล้ายกับต้นแจง สมัยก่อนมีขึ้นอยู่ทั่วไปใบคล้าย ใบมะปราง เขียวชะอุ่มตลอดปี โบราณใช้ทำยารักษาโรคพรายเลือดลมสตรี ผลของต้นชุมแสงชาวบ้านจะเก็บไปใช้เป็นลูกกระสุนสำหรับธนู ต้นชุมแสงจึงเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นต่อมา ได้ใช้เป็นชื่อบ้านเรียกว่า "บ้านชุมแสง" สมัยพระเจ้าตากสินนำกองทัพออกทำการปราบก๊กต่าง ๆ ได้ตั้งค่าย และเป็นที่สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือคลังแสง สำหรับปราบก๊กเจ้าเมืองพิษณะโลก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณที่ตั้งค่ายแห่งนั้นว่า "คลังแสง" และต่อ ๆ มาได้เรียกเพี้ยนเป็น "ชุมแสง[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเกยไชย จังหวัดนครสวรรค์ เป็น อำเภอชุมแสง[2]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2473 ยกท้องที่บางส่วนของตำบลชุมแสง จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลท้องที่ชุมแสง[3]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะสุขาภิบาลท้องที่ชุมแสง ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองชุมแสง[4]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลท่าขมิ้น และหมู่ที่ 6 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร มาขึ้นกับตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[5]
- วันที่ 9 มกราคม 2481 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอชุมแสงกับอำเภอเมืองนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางพระหลวง ไปขึ้นกับตำบลทับกฤช และโอนพื้นที่ตำบลบางพระหลวง และตำบลเกรียงไกร อำเภอชุมแสง ไปขึ้นกับอำเภอเมืองนครสวรรค์[6]
- วันที่ 19 กันยายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ และตำบลห้วยร่วม อำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับอำเภอชุมแสง และโอนพื้นที่หมู่ 1–3 (บางส่วน) กับหมู่ที่ 4–5, 7–9 ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับอำเภอชุมแสง และจัดตั้งเป็นตำบลหนองบัว ของอำเภอชุมแสง[7]
- วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลคลองขอม อำเภอชุมแสง เป็น ตำบลไผ่สิงห์[8]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางเคียน แยกออกจากตำบลท่าไม้ ตั้งตำบลไผ่สิงห์ แยกออกจากตำบลหนองกระเจา[9]
- วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลหนองบัว ตำบลห้วยร่วม และตำบลห้วยใหญ่ ของอำเภอชุมแสง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองบัว[10] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอชุมแสง
- วันที่ 8 มิถุนายน 2491 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอท่าตะโกกับอำเภอชุมแสง โดยโอนพื้นที่ตำบลธารทหาร (ยกเว้นหมู่ที่ 1) ของอำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง[11]
- วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2493 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่ตำบลหนองกลับ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ กับโอนพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และโอนพื้นที่หมู่ 1–2 และ 3 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[12]
- วันที่ 21 มิถุนายน 2498 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองชุมแสง โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล รวมถึงพื้นที่หมู่ที่ 15, หมู่ 2 บางส่วน ของตำบลเกยไชย และพื้นที่หมู่ 5 บางส่วนของตำบลพิกุล[13]
- วันที่ 22 พฤศจิกายน 2498 โอนพื้นที่หมู่ 15 และหมู่ 2 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลเกยไชย ซึ่งถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง ไปขึ้นกับตำบลชุมแสง และโอนพื้นที่หมู่ 5 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลพิกุล ซึ่งถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง ไปขึ้นกับตำบลชุมแสง[14] โดยมีอาณาเขตตรงตามหลักเขตเทศบาล
- วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง เป็น อำเภอหนองบัว[15]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่สิงห์ อำเภอชุมแสง[16]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2505 ตั้งตำบลฆะมัง แยกออกจากตำบลพิกุล และตั้งตำบลพันลาน แยกออกจากตำบลโคกหม้อ[17]
- วันที่ 1 กันยายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลทับกฤช ในท้องที่หมู่ 4–6 และหมู่ 14 ตำบลทับกฤช[18]
- วันที่ 27 ตุลาคม 2536 ตั้งตำบลทับกฤชใต้ แยกออกจากตำบลทับกฤช[19]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลทับกฤช เป็น เทศบาลตำบลทับกฤช[20] ด้วยผลของกฎหมาย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอชุมแสงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 131 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ชุมแสง | (Chum Saeng) | - | 7. | หนองกระเจา | (Nong Krachao) | 14 หมู่บ้าน | |||||||||
2. | ทับกฤช | (Thap Krit) | 19 หมู่บ้าน | 8. | พันลาน | (Phan Lan) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||
3. | พิกุล | (Phikun) | 10 หมู่บ้าน | 9. | โคกหม้อ | (Khok Mo) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||
4. | เกยไชย | (Koei Chai) | 17 หมู่บ้าน | 10. | ไผ่สิงห์ | (Phai Sing) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||
5. | ท่าไม้ | (Tha Mai) | 15 หมู่บ้าน | 11. | ฆะมัง | (Khamang) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||
6. | บางเคียน | (Bang Khian) | 14 หมู่บ้าน | 12. | ทับกฤชใต้ | (Thap Krit Tai) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอชุมแสงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลทับกฤช ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 4,5 และ 14 ของตำบลทับกฤช
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤช ครอบคลุมพื้นที่ 1–2 และ 6-13 และบางส่วนของหมู่ที่ 4,5 และ 14 ของตำบลทับกฤช (นอกเขตเทศบาลตำบลทับกฤช)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิกุลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกยไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกยไชยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเคียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระเจาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพันลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันลานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกหม้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่สิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่สิงห์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลฆะมัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฆะมังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤชใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับกฤชใต้ทั้งตำบล
ภาพ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1] เก็บถาวร 2020-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติความเป็นมาเมืองชุมแสง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 259–261. วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1773–1776. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3343–3344. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2481
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2091–2092. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2481
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 263–267. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2483
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3188–3193. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-15. วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอและเขตตำบลในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (32 ง): 1824–1825. วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2491
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (10 ก): 196–198. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๔๙๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (45 ก): 899–902. วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (90 ง): 2818–2819. วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองบัว อำเภอลาดยาว และอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2085–2096. วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2505
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (83 ง): 2227–2228. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2507
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (173 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-20. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542