วงศ์อึ่งอ่าง
วงศ์อึ่งอ่าง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 24–0Ma ยุคไมโอซีนตอนต้น-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
อึ่งมะเขือเทศ (Dyscophus antongilli) พบบนเกาะมาดากัสการ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Amphibia |
อันดับ: | Anura |
วงศ์: | Microhylidae Günther, 1858 |
วงศ์ย่อย | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีดำ) |
อึ่งอ่าง หรือ อึ่ง เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Microhylidae
ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ ตัวเต็มวัยจะมีสันพาดตามขวางที่เพดานปาก 2-3 สัน และส่วนต้นของท่อลมยืดยาวขึ้นมาที่พื้นล่างของอุ้งปาก มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบมี 8 ปล้อง แต่ในบางชนิดจะมี 7 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัลเป็นแบบอย่างของโพรซีลัสหรือเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส ลูกอ๊อดส่วนใหญ่มีช่องปากเล็กและซับซ้อน ไม่มีจะงอยปากและไม่มีตุ่มฟันในปาก ช่องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ทางด้านท้ายตัวและในแนวกลางลำตัว กินอาหารแบบกรองกิน แต่ในบางชนิดจะมีฟันและมีจะงอยปาก
มีขนาดลำตัวแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ 1 เซนติเมตร จนถึง 10 เซนติเมตร อาศัยทั้งอยู่บนบก, ในน้ำ และบนต้นไม้ ลำตัวมีรูปร่างแตกต่างไปกันหลากหลายตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ชนิดที่อาศัยบนต้นไม้จะมีส่วนปลายของนิ้วขยายออกเป็นตุ่ม ชนิดที่อาศัยอยู่ในโพรงดินจะมีลำตัวแบนราบและหัวกลมหลิม เป็นต้น มีรูปแบบการผสมพันธุ์ที่หลากหลาย ในบางชนิดมีการอาศัยแบบเกื้อกูลกันกับแมงมุมด้วย โดยอาศัยในโพรงเดียวกัน
การจำแนก
[แก้]แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ย่อย มีประมาณ 64 สกุล พบประมาณ 436 ชนิด โดยชนิดที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ได้แก่ อึ่งอ่างบ้าน (Kaloula pulchra), อึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata) ขณะที่บางชนิดก็นิยมรับประทานกันเป็นอาหาร เช่น อึ่งปากขวด (Glyphoglossus molossus) เป็นต้น
วงศ์ย่อย
- Asterophryinae
- Brevicipitinae
- Cophylinae
- Dyscophinae
- Genyophryninae
- Melanobatrachinae
- Microhylinae
- Otophryninae
- Phrynomerinae
- Scaphiophryninae[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zweifel, Robert G. (1998). Cogger, H.G. & Zweifel, R.G.. ed. Encyclopedia of Reptiles and Amphibians. San Diego: Academic Press. pp. 102–103. ISBN 0-12-178560-2.
- ↑ หน้า335-340, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0