ข้ามไปเนื้อหา

อาการกลัวอิสลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อิสลามโมโฟเบีย)
ป้ายต่อต้านอาการกลัวอิสลาม ระหว่างการประท้วงนโยบายสุดโต่งของโดนัลด์ ทรัมป์ในบัลติมอร์

อาการกลัวอิสลาม (อังกฤษ: Islamophobia) เป็นความเกลียดกลัวอย่างรุนแรง หรือความเดียดฉันท์ต่อศาสนาอิสลามหรือมุสลิม[1][2][3] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองว่าเป็นกำลังภูมิรัฐศาสตร์หรือบ่อเกิดของการก่อการร้าย[4]

คำนี้เป็นคำสร้างใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และโดดเด่นขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 และมีความโดดเด่นในนโยบายสาธารณะด้วยรายงานโดยคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์และอาการกลัวอิสลามบริติชของรันนีมีดทรัสต์ ชื่อ อาการกลัวอิสลาม: ความท้าทายสำหรับเราทุกคน (ปี 1997)[5]

สาเหตุและลักษณะของอาการกลัวอิสลามยังมีการโต้เถียงกัน นักวิจารณ์บางคนระบุว่าอาการกลัวอิสลามเพิ่มขึ้นจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 บ้างว่ามาจากการก่อการร้ายโดยกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่มุ่งเป้าต่อผู้บริสุทธิ์หลายครั้งในทวีปยุโรปและสหรัฐ บ้างสัมพันธ์กับการมีมุสลิมในสหรัฐและสหภาพยุโรปมากขึ้น บ้างยังสงสัยถึงความถูกต้องของคำสอนในศาสนานี้ นักวิชาการ S. Sayyid และ Abdoolkarim Vakil ยืนยันว่าอาการกลัวอิสลามเป็นการตอบสนองต่อการถือกำเนิดของอัตลักษณ์สาธารณะของมุสลิมที่แตกต่าง และจำนวนชาวมุสลิมไม่ใช่ตัวบ่งชี้ระดับของอาการเกลียดกลัวอิสลามในสังคม โดยในบางพื้นที่ที่มีชาวมุสลิมน้อยหรือไม่มีมุสลิมเลยแต่ก็ยังมีความเกลียดหรืออาการกลัวอิสลามแบบสถาบันหลายแบบอยู่[6] ซึ่งเป็นการสะท้อนมุมมองที่มีต่อผู้คนในศาสนาอิสลาม

อาการกลัวอิสลามมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความหวาดกลัวการก่อการร้าย มุมมองที่ขัดกันของเทววิทยาทางศาสนา หลักคำสอนที่เห็นต่างกับกลุ่มเคลื่อนไหวเรื่องความเท่าเทียม การขยายตัวของกระแสการเมืองแบบอัตลักษณ์ (identity politics)[7] แต่สาเหตุสำคัญของความหวาดกลัวอิสลามในตะวันตกมีสาเหตุสำคัญมาจากมุมมองของผู้ที่อยู่อาศัยในสังคมตะวันตกว่า อิสลามเป็นลัทธิที่ต่อต้านความเชื่อ, ค่านิยม และหลักการพื้นฐานของอารยธรรมตะวันตก เช่น ความเท่าเทียมกันทางเพศ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการนับถือศาสนา[8] พวกมุสลิมถูกมองว่ามีแนวคิดเหยียด และดูหมิ่นชาวยิว (antisemitism) นอกจากนี้ในสังคมที่มีประชากรอพยพจำนวนมากเป็นชาวมุสลิม เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน, ชาวมุสลิมถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ยอมเรียนรู้ที่จะกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมท้องถิ่น (assimilation) เหมือนประชากรอพยพกลุ่มอื่นๆ แต่จะยึดถือลัทธิความเชื่อ และอัตลักษณ์ของตนเองอย่างหวนแหน และมองประชากรกลุ่มอื่นเป็นคนต่างพวก หรือเป็นคนนอกศาสนา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในสังคมมองว่าทัศนคติของอิสลามเป็นสิ่งคุกคามความเป็นเอกภาพของสังคม

เงื่อนไข

[แก้]

มีเงื่อนไขที่เป็นไปได้หลายชื่อที่มีส่วนทำให้มีความรู้สึกและทัศนคติต่อศาสนาอิสลามหรือมุสลิมในแง่ลบ เช่น การต่อต้านมุสลิม, มีอคติต่อมุสลิม ฯลฯ ในเยอรมันจะใช้ Islamophobie (ความกลัวต่อมุสลิม) และ Islamfeindlichkeit (ความเป็นปรปักษ์ต่อมุสลิม) ในสเกดิเนเวีย Muslimhat หมายถึง "ความเกลียดชังต่อมุสลิม"[9]

นอกจากนี้ยังมีคำอื่นอีกในการต่อต้านอิสลาม เช่น Muslimophobia,[10] Islamophobism,[11] antimuslimness [12][13][14] Islamophobes, Islamophobists,[15] anti-Muslimists,[16] antimuslimists,[17] islamophobiacs,[18] anti-Muhammadan (ต่อต้านมุฮัมหมัด),[19] Muslimphobes [20] anti-mosque (ต่อต้านมัสยิด),[21] anti-Shiites[22] (ต่อต้านชีอะฮ์)[23], anti-Sufism[24] (ต่อต้านซูฟี)[25] และ anti-Sunni (ต่อต้านซุนนี)[26]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า Islamophobia เป็นคำสร้างใหม่[27] เป็นคำประสมของ Islam (อิสลาม) และ -phobia (ความกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง)[28]

ข้อมูลจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ดคำนี้หมายถึง "การไม่ชอบหรือกลัวอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมือง และการเป็นปรปักษ์ต่อมุสลิม"[29]

คนประกาศกับป้ายพวกเราไม่ต้องการมัสยิดในสาธารณรัฐเช็ก วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2015 ในเชสเกบุดเยยอวีตเซ สาธารณรัฐเช็ก

มุมมอง

[แก้]
Unfavorable views of Muslims, 2016
Country Percent
Hungary[30]
  
72%
Italy[30]
  
69%
Poland[30]
  
66%
Greece[30]
  
65%
Spain[30]
  
50%
United States of America[31]
  
46%
Canada[32]
  
43%
Netherlands[30]
  
35%
Sweden[30]
  
35%
France[30]
  
29%
Germany[30]
  
29%
United Kingdom[30]
  
28%
อาชญากรรมที่เกี่ยวกับการเกลียดอิสลาม อาชญากรรมทั้งหมด
ปี Arson offenses Total offenses Arson offenses Total offenses
1996 0 33 75 10,706
1997 1 31 60 9,861
1998 0 22 50 9,235
1999 1 34 48 9,301
2000 0 33 52 9,430
2001 18 546 90 11,451
2002 0 170 38 8,832
2003 2 155 34 8,715
2004 2 193 44 9,035
2005 0 146 39 8,380
2006 0 191 41 9,080
2007 0 133 40 9,006
2008 5 123 53 9,168
2009 1 128 41 7,789
2010 1 186 42 7,699
2011 2 175 42 7,254
2012 4 149 38 6,718
2013

2020

1

22

165

1

36

24

6,933

2,547

รวม 38 2,613 863 158,593
เฉลี่ย 2.1 145.2 47.9 8810.7
1996–2000 เฉลี่ย .40 30.6 57.0 9,707
2001 18 546 90 11,451
2002–2013 เฉลี่ย 1.50 159.5 40.7 8,217

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Islamophobia". Oxford Dictionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-19. สืบค้นเมื่อ November 10, 2016.
  2. "islamophobia". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ November 10, 2016.
  3. "Islamophobia". Collins Dictionary.
  4. Miles & Brown 2003.
  5. Meer, Nasar; Modood, Tariq (July 2009). "Refutations of racism in the 'Muslim question'". Patterns of Prejudice. 43 (3–4): 335–54. doi:10.1080/00313220903109250.
  6. Sayyid, Salman; Vakil, Abdoolkarim (2010). Thinking Through Islamophobia: Global Perspectives. New York: Columbia University Press. p. 319. ISBN 9780231702065.
  7. Døving, Cora Alexa (2010). "Anti-Semitism and Islamophobia: A Comparison of Imposed Group Identities" (PDF). Tidsskrift for Islamforskning (2): 52–76. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
  8. "Islamophobia: A Challenge for Us All" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2019-01-19. (69.7 KB), Runnymede Trust, 1997.
  9. Kaya, Ayhan (2014). "Islamophobia". ใน Cesari, Jocelyne (บ.ก.). The Oxford Handbook of European Islam. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-960797-6.
  10. Carpente, Markus (2013). Diversity, Intercultural Encounters, and Education. p. 65.
  11. Pande, Rekha (2012). Globalization, Technology Diffusion and Gender Disparity. p. 99.
  12. Racism and Human Rights. p. 8, Raphael Walden – 2004
  13. Muslims in Western Europe. p. 169, Jørgen S. Nielsen – 2004
  14. Children's Voices: Studies of Interethnic Conflict and Violence in European schools, Mateja Sedmak, p124
  15. {{cite book}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  16. 2002, Fred halliday, Two hours that shook the world, p. 97
  17. Kollontai, Pauline (2007). Community Identity: Dynamics of Religion in Context. p. 254.
  18. Seid, Amine (2011). Islamic Terrorism and the Tangential Response of the West. p. 39.
  19. Goknar, Erdag (2013). Orhan Pamuk, Secularism and Blasphemy. p. 219.
  20. Arasteh, Kamyar (2004). The American Reichstag. p. 94.
  21. Dressler, Markus (2011). Secularism and Religion-Making. p. 250.
  22. Kaim, Markus (2013). Great Powers and Regional Orders. p. 157.
  23. 2013, Glen Perry, The International Relations of the Contemporary Middle East, p. 161
  24. Toyin Falola – 2001, Violence in Nigeria: The Crisis of Religious Politics and Secular Ideologies, p. 240, "Anti-Sufism itself is therefore a marker of identity, and the formation of the Izala proves this beyond any reasonable doubt".
  25. Colonialism and Revolution in the Middle East, p. 197, Juan Ricardo Cole – 1999, "Ironically, the Sufi-phobia of the British consuls in the aftermath of 1857 led them to look in the wrong places for urban disturbances in the 1860s."
  26. 2005, Ahmed Hashim, Insurgency and Counter-insurgency in Iraq, Cornell University Press (2006), ISBN 9780801444524
  27. Roland Imhoff & Julia Recker (University of Bonn). "Differentiating Islamophobia: Introducing a new scale to measure Islamoprejudice and Secular Islam Critique". สืบค้นเมื่อ 2013-09-19.
  28. "Oxford English Dictionary: -phobia, comb. form". Oxford University Press.(subscription required)(ต้องสมัครสมาชิก)
  29. "Oxford English Dictionary: Islamophobia". Oxford University Press.(subscription required)(ต้องสมัครสมาชิก)
  30. 30.00 30.01 30.02 30.03 30.04 30.05 30.06 30.07 30.08 30.09 Wike, Richard; Stokes, Bruce; Simmons, Katie (July 2016). Europeans Fear Wave of Refugees Will Mean More Terrorism, Fewer Jobs (PDF) (Report). Pew Research Center. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 November 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
  31. "What Americans really think about Muslims and Islam". Brookings Institution. 9 December 2015. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
  32. "State of Relations 2016". Canadian Race Relations Foundation. Leger Marketing. 4 March 2016. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]