สัตว์ขาปล้อง
สัตว์ขาปล้อง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 540–0Ma Earliest Cambrian (Fortunian)–Recent | |
---|---|
สัตว์ขาปล้องที่สูญพันธุ์และสมัยใหม่. ภาพจากบนไปซ้าย: †ไทรโลไบต์, †Stylonurus, แมงป่อง, ปู, ตะขาบ, และ ผีเสื้อ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไม่ได้จัดลำดับ: | แทกโทโพดา Tactopoda |
ไฟลัม: | สัตว์ขาปล้อง Arthropoda Gravenhorst, 1843[1] |
ไฟลัมย่อย และ ชั้น | |
|
สัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า "อาร์โธพอด" เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อมต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle[2] และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน
ลักษณะทั่วไป
[แก้]สัตว์ขาปล้องจะมีลักษณะของลำตัวเป็นปล้อง ๆ บางจำพวกนั้นสามารถแยกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง แต่ก็มีสัตว์ขาปล้องบางจำพวกที่มีส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพียงแค่ 2 ส่วน คือมีเพียงแค่ส่วนหัวกับส่วนอกติดกันและส่วนท้องเท่านั้นเอง
สัตว์ขาปล้องจะมีช่องเปิดที่สำคัญ มีลักษณะเป็นรูจำนวน 2 รู และมีอวัยวะรับความรู้สึกที่ดี เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างรวดเร็ว และหาอาหารได้อย่างง่ายดาย อาศัยอยู่เกือบทุกแห่งของโลก หรืออาจเรียกได้ว่าสัตว์ขาปล้องนั้นมีถิ่นอาศัยอยู่ทุกแห่งในโลก เรียกได้ว่าประมาณ 3 ใน 4 ของสัตว์ทั้งหลายภายในโลก คือสัตว์จำพวกสัตว์ขาปล้อง
การจัดจำแนก
[แก้]ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของอาร์โทรพอดใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมจากดีเอ็นเอจากไมโทคอนเดรีย[3] ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น 5 ไฟลัมย่อย คือ
- ไฟลัมย่อยไทรโลบิโตมอร์ฟา สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว พบแต่ในซากชีวิตโบราณ ถือว่าเป็นสัตว์ขาปล้องกลุ่มแรก
- ไฟลัมย่อยเชลิเซอราตา ลำตัวแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนหัวและอกรวมเป็นชิ้นเดียวเรียกเซฟาโลทอแรกซ์ กับส่วนท้อง มีรยางค์สำคัญ 1 คู่ข้างหน้า ใช้หาอาหาร แบ่งย่อยเป็น
- ชั้นเมโรสโตมาตา มีขาเดิน 5 คู่ ใช้เหงือกหายใจ (book gill) เช่น แมงดาทะเล
- ชั้นอะแรกนิดา มีขาเดิน 4 คู่ ใช้ปอด (book lung) หายใจ เช่น แมงมุม แมงป่อง เห็บ ไร แข็งในสุนัข
- ไฟลัมย่อยครัสตาเชีย เซฟาโลทอแรกซ์มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ อวัยวะรับความรู้สึกมีตาประกอบเป็นก้าน ขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัสและอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย ชั้นที่สำคัญได้แก่
- ไฟลัมย่อยยูนิราเมีย มีระยางค์ซึ่งไม่มีแขนง มีแอนเทนนาคู่เดียว กรามไม่แบ่งเป็นปล้อง แบ่งเป็น
- ชั้นไคโลโพดา เช่นตะขาบ
- ชั้นซิมไฟลา เช่น ตะขาบฝอย
- ชั้นดิโพลโพดา เช่น กิ้งกือ กระสุนพระอินทร์
- ชั้นปัวโรโพดา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายชั้นซิมไฟลา
- ชั้นอินเซคตา ได้แก่ แมลง เช่น ตั๊กแตน มด ปลวก เหา ชีปะขาว แมลงสาบ
อ้างอิง
[แก้]- เพทาย บุณยรัตพันธุ์ และ รัตน์สุณี สุขพณิชนันท์. ชีววิทยา 1 (แอคทีฟพริ้นท์, กรุงเทพฯ; 2557; หน้า 150)
- ↑ https://doi.org/10.18476%2F2023.472723
- ↑ Wainwright, S. A., Biggs, W. D., and Gosline, J. M. (1982), Mechanical Design in Organisms, Princeton University Press, pp. 162–163, ISBN 0691083088
{{citation}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Alexandre Hassanin (2006). "Phylogeny of Arthropoda inferred from mitochondrial sequences: Strategies for limiting the misleading effects of multiple changes in pattern and rates of substitution" (PDF). Molecular Phylogenetics and Evolution. 38 (1): 100–116. doi:10.1016/j.ympev.2005.09.012. PMID 16290034. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-23.