อาดรีแย็ง-มารี เลอฌ็องดร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาดรีแย็ง-มารี เลอฌ็องดร์ | |
---|---|
![]() ภาพล้อเลียนสีน้ำโดย Julien-Léopold Boilly (ดู § ภาพเหมือนที่เข้าใจผิด) เป็นภาพเหมือนเดียวเท่าที่รู้จักของเลอฌ็องดร์[1] | |
เกิด | 18 กันยายน ค.ศ. 1752 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 9 มกราคม ค.ศ. 1833 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส | (80 ปี)
สัญชาติ | ฝรั่งเศส |
ศิษย์เก่า | Collège Mazarin |
มีชื่อเสียงจาก | สมการเลอฌ็องดร์สมทบ วิธีการแปลงเลอฌ็องดร์ พหุนามเลอฌ็องดร์ ฟังก์ชันอิลลิปติก ผู้เแนะนำตัวอักษร ∂[2] |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | คณิตศาสตร์ |
สถาบันที่ทำงาน | École Militaire École Normale École Polytechnique |
ได้รับอิทธิพลจาก | เอวาริสต์ กาลัว |
อาดรีแย็ง-มารี เลอฌ็องดร์ (ฝรั่งเศส: Adrien-Marie Legendre, ภาษาฝรั่งเศส: [adʁiɛ̃ maʁi ləʒɑ̃dʁ]; 18 กันยายน ค.ศ. 1752 – 10 มกราคม ค.ศ. 1833) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีความสำคัญในการให้ความรู้ทางสถิติศาสตร์ ทฤษฎีจำนวน พีชคณิตนามธรรม และคณิตวิเคราะห์
ประวัติ
[แก้]เลอฌ็องดร์เกิดในครอบครัวฐานะร่ำรวย ได้ศึกษาฟิสิกส์ในปารีส ต่อมาก็ได้สอนในโรงเรียนทหารแห่งหนึ่งเนื่องจากหมดความสนใจในการเรียน งานของเขาก่อนหน้านี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง "แนววิถีของลูกปืนใหญ่" และหลังจากนั้นเขาก็เริ่มศึกษาคณิตศาสตร์
ใน ค.ศ. 1782 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (Académie des sciences) จากนั้นใน ค.ศ. 1789 เขาได้รับเลือกเป็นภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน[3]
เลอฌ็องดร์สูญเสียเงินของเขาไปในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาจึงได้แต่งตำรา Éléments de Géométrie (องค์ประกอบของเรขาคณิต) ออกขาย ตำรานี้ได้รับการตีพิมพ์และการแปลไปเป็นภาษาอื่นหลายครั้ง ทำกำไรงดงามให้กับเขา เขามีหน้าที่เป็นผู้สอนในหลากหลายตำแหน่ง และได้รับบำนาญเป็นทุนในการดำรงชีวิต แต่เมื่อ ค.ศ. 1824 ความผิดพลาดที่เกิดจากการเมืองทำให้เขาต้องสูญการได้รับบำนาญ และทำให้เขาใช้ชีวิตในช่วงที่เหลืออย่างขัดสน
งานของเลอฌ็องดร์
[แก้]งานส่วนใหญ่ที่เลอฌ็องดร์ทำมักจะถูกหยิบยกไปสานต่อให้สำเร็จโดยผู้อื่น เช่น ทฤษฎีของกาลัว (Galois theory) ได้รับแรงบันดาลใจจากงานเกี่ยวกับรากของพหุนาม; ฟังก์ชันอิลลิปติก (elliptic function) ต่อยอดความรู้จากฟังก์ชันของเลอฌ็องดร์โดย นีลส์ เฮนริก อาเบล; ความรู้ทางสถิติศาสตร์และทฤษฎีจำนวนของ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ ก็ได้เติมเต็มงานของเลอฌ็องดร์ เป็นต้น เขาเป็นผู้พัฒนาวิธีกำลังสองน้อยสุดซึ่งมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในเรื่องการถดถอยเชิงเส้นและการปรับเส้นโค้ง คำว่า วิธีกำลังสองน้อยสุด เป็นการแปลโดยตรงจาก méthode des moindres carrés ในภาษาฝรั่งเศส
เมื่อ ค.ศ. 1830 เขาได้ให้ข้อพิสูจน์เติมเต็มให้กับทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาที่เลขชี้กำลัง n = 5 ซึ่งดิริเคล (Johann Peter Gustav Lejeune Dirichlet) ได้พิสูจน์ไว้เพียงบางส่วนเมื่อสองปีก่อน
ในทฤษฎีจำนวน เขาได้สร้างข้อความคาดการณ์ต่อกฎส่วนกลับกำลังสอง (quadratic reciprocity law) และต่อมาก็ได้รับการพิสูจน์โดยเกาส์ โดยใช้สัญลักษณ์เลอฌ็องดร์ (Legendre symbol) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับเลอฌ็องดร์ งานที่สำคัญของเขาอีกอย่างหนึ่งคือการกระจายของจำนวนเฉพาะ และการประยุกต์การวิเคราะห์สำหรับใช้ในทฤษฎีจำนวน ข้อความคาดการณ์อีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับทฤษฎีบทจำนวนเฉพาะที่เขาตั้งไว้เมื่อ ค.ศ. 1796 ได้รับการพิสูจน์โดยฌัก อาดามาร์ (Jacques Hadamard) และชาร์ล ฌ็อง เดอ ลา วาเล-ปูแซ็ง (Charles Jean de la Vallée-Poussin) ในปี ค.ศ. 1898
ภาพเหมือนที่เข้าใจผิด
[แก้]ก่อนที่จะมีผู้พบข้อผิดพลาดใน ค.ศ. 2005 หนังสือ ภาพวาด และบทความต่าง ๆ เคยแสดงภาพเหมือนของ Louis Legendre (1752–1797) นักการเมืองชาวฝรั่งเศส เป็นภาพของนักคณิตศาสตร์มาอย่างผิดพลาดสองศตวรรษ ข้อผิดพลาดนี้มีที่มาจากภาพสเกชที่มีผู้เขียนว่า "Legendre" และปรากฏในหนังสือร่วมกับนักคณิตศาสตร์ร่วมสมัยอย่างเลอฌ็องดร์ ภาพเหมือนเดียวของเลอฌ็องดร์มาจากหนังสือ Album de 73 portraits-charge aquarellés des membres de I'Institut ที่ผลิตใน ค.ศ. 1820 ซึ่งค้นพบใหม่ใน ค.ศ. 2008 เป็นหนังสือภาพวาดล้อเลียนสมาชิก Institut de France ในปารีสทั้ง 73 คน โดย Julien-Léopold Boilly ศิลปินชาวฝรั่งเศส ดังภาพข้างล่าง:[4][1]
![]() |
![]() |
ดูเพิ่ม
[แก้]- ขั้นตอนวิธีเกาส์-เลอฌ็องดร์
- ค่าคงตัวของเลอฌ็องดร์
- สมการของเลอฌ็องดร์
- พหุนามเลอจองดร์
- ข้อความคาดการณ์ของเลอฌ็องดร์
- การแปลงเลอฌ็องดร์
- สัญลักษณ์เลอฌ็องดร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Duren, Peter (December 2009). "Changing Faces: The Mistaken Portrait of Legendre" (PDF). Notices of the AMS. 56 (11): 1440–1443, 1455.
- ↑ Aldrich, John. "Earliest Uses of Symbols of Calculus". สืบค้นเมื่อ 20 April 2017.
- ↑ "Library and Archive". Royal Society. สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.
- ↑ 4.0 4.1 Boilly, Julien-Léopold. (1820). Album de 73 portraits-charge aquarellés des membres de I'Institut (watercolor portrait #29). Biliotheque de l'Institut de France.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Adrien-Marie Legendre
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4c/Wikisource-logo.svg/38px-Wikisource-logo.svg.png)
- อาดรีแย็ง-มารี เลอฌ็องดร์ ที่ PlanetMath.
- The True Face of Adrien-Marie Legendre (Portrait of Legendre)
- Biography at Fermat's Last Theorem Blog
- References for Adrien-Marie Legendre
- (ในภาษาฝรั่งเศส) Eléments de géométrie (Paris : F. Didot, 1817)
- Elements of geometry and trigonometry, from the works of A. M. Legendre. Revised and adapted to the course of mathematical instruction in the United States, by Charles Davies. (New York: A. S. Barnes & co., 1858) : English translation of the above text
- Mémoires sur la méthode des moindres quarrés, et sur l'attraction des ellipsoïdes homogènes (1830)
- Théorie des nombres (Paris : Firmin-Didot, 1830)
- Traité des fonctions elliptiques et des intégrales eulériennes (Paris : Huzard-Courcier, 1825–1828)
- Nouvelles Méthodes pour la Détermination des Orbites des Comètes (Paris : Courcier, 1806)
- Essai sur la Théorie des Nombres (Paris : Duprat, 1798)
- Exercices de Calcul Intégral V.3 (Paris : Courcier, 1816)
- Correspondance mathématique avec Legendre in C. G. J. Jacobis gesammelte Werke (Berlin: 1852)