อัลญะซีเราะฮ์
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ประเภท | เครือข่ายกระจายเสียงและแพร่ภาพผ่านดาวเทียม |
---|---|
อุตสาหกรรม | สื่อสารมวลชน |
ก่อตั้ง | เมษายน พ.ศ. 2539 |
สำนักงานใหญ่ | โดฮา กาตาร์ |
บุคลากรหลัก | เชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี - ประธาน วาดาห์ คันฟัร - ผู้บริหาร อาเม็ด เชอิกห์ - หัวหน้าบรรณาธิการ |
ผลิตภัณฑ์ | สถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะฮ์ สถานีโทรทัศน์อัลอะรอบียะฮ์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
อัลญะซีเราะฮ์ (อาหรับ: قناة الجزيرة) หรือ แอลจะเซียรา (อังกฤษ: Al Jazeera) แปลว่า "คาบสมุทร" หมายถึง "คาบสมุทรอาหรับ" มาจาก شبه الجزيرة العربية šibh al-ğazīra al-‘arabīya, คาบสมุทรอาหรับ, เรียกอย่างย่อว่า الجزيرة العربية al-ğazīra al-‘arabīya, แปลว่า เกาะอาหรับ, شبه šibh แปลว่า "ราวกับ") เป็นสำนักข่าวอาหรับตั้งอยู่ ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2539 เจ้าของกิจการ คือ เชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี ผู้บริหารคนสำคัญ คือ วาดาห์ คันฟัร (Wadah Khanfar) ใช้งบประมาณก่อตั้ง 150 ล้านเรียลจากการอุปถัมภ์ของรัฐบาลกาตาร์ มีผู้ชมราว 45 ล้านคน เหตุที่เป็นสำนักข่าวยอดนิยมก็เพราะมักนำเสนอข่าวสงครามอัฟกานิสถาน อิรัก[1][2] และเรื่องราวของอุซามะฮ์ บิน ลาดิน อย่างเจาะลึก มีคำขวัญคือ "ทัศนะและอีกทัศนะหนึ่ง" (อาหรับ: الرأي و الرأي الآخر) นำเสนอข่าวผ่านดาวเทียม ไนล์แซต อาหรับแซต และฮอตเบิร์ด
นอกเหนือจากช่องข่าว อัลญะซีเราะฮ์ยังมีช่องอื่น ๆ ของทางสถานี เช่น ช่องรายการสำหรับเด็ก ช่องรายการกีฬา ช่องรายการสารคดี ช่องภาคภาษาอังกฤษ[3][4] ช่องภาคภาษาอุรดู
อ้างอิง
[แก้]- ↑ El-Ibiary, Rasha (December 2011). "Questioning the Al-Jazeera Effect: Analysis of Al-Qaeda's media strategy and its relationship with Al-Jazeera". Global Media and Communication (ภาษาอังกฤษ). 7 (3): 199–204. doi:10.1177/1742766511427479. ISSN 1742-7665.
- ↑ "Why Al Jazeera is under threat". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 29 November 2023.
- ↑ "Q&A With Ayman Mohyeldin, Al Jazeera English's Correspondent in Cairo - Slideshow - Daily Intel". web.archive.org. 30 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2023. สืบค้นเมื่อ 29 November 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Al Jazeera suspends journalists for Holocaust denial video" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 20 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 November 2023.