ข้ามไปเนื้อหา

อังโกะ ซากางูจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อังโกะ ซาคากุจิ)
อังโกะ ซาคากุจิ
ซาคากุจิ ในปี พ.ศ. 2489
ซาคากุจิ ในปี พ.ศ. 2489
ชื่อท้องถิ่น
อังโกะ ซาคากุจิ
เกิดเฮอิโกะ ซาคากุจิ
20 ตุลาคม ค.ศ. 1906(1906-10-20)
นีงาตะ, ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955(1955-02-17) (48 ปี)
คิรีว, จังหวัดกุมมะ ประเทศญี่ปุ่น
อาชีพนักเขียน
แนวนวนิยาย เรื่องสั้น เรียงความ
ผลงานที่สำคัญDarakuron
คู่สมรส
  • มิชิโยะ คาจิ (สมรส 1953–1955)
บุตรสึนาโอะ ซากากุจิ

อังโกะ ซาคากุจิ (ญี่ปุ่น: 坂口 安吾โรมาจิSakaguchi Ango) เกิดวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2449 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่น ผู้เขียนเรื่องสั้นและนวนิยาย และเป็นนักเขียนเรียงความชื่อจริงของเขาคือเฮโงะ ซากากุจิ ญี่ปุ่น: 坂口 炳五โรมาจิSakaguchi Heigo

ประวัติ[แก้]

อังโงะ ซากากุจิ เกิดที่เมืองนีงาตะ เป็นหนึ่งในกลุ่มนักเขียนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียงขึ้นในช่วงหลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง อังโกะ ซาคากุจิ ได้รับการเชื่อมโยงกับกลุ่มบูไรฮะ ซึ่งหมายถึงกลุ่มนักเขียนเสเพลที่แสดงออกถึงความไร้จุดหมายและวิกฤตอัตลักษณ์ของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในปี พ.ศ. 2489 เขาได้เขียนเรียงความที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา Darakuron" ("Discourse on Decadence") ซึ่งวิเคราะห์บทบาทของบูชิโดในช่วงสงคราม[1] มีการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวางว่าเขามองว่าญี่ปุ่นหลังสงครามเป็นที่เสื่อมโทรม แต่ก็ซื่อตรงมากกว่าญี่ปุ่นในช่วงสงครามที่สร้างขึ้นบนภาพลวงตาอย่างบูชิโด (งานนี้เองไม่ได้กล่าวถึงความหมายของความเสื่อมโทรมแต่อย่างใด)

อังโงะเกิดในปี พ.ศ. 2449 และเป็นลูกคนที่ 12 จากทั้งหมด 13 คน เขาเกิดในช่วงที่ญี่ปุ่นอยู่ในภาวะสงครามอย่างต่อเนื่อง พ่อของเขาเป็นประธานของ Niigata Shimbun เป็นนักการเมือง และกวี[2]อังโงะต้องการเป็นนักเขียนเมื่ออายุ 16 ปี เขาย้ายไปโตเกียวเมื่ออายุ 17 ปี หลังจากทำร้ายครูที่จับเขาได้ว่าโดดเรียน พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสมองในปีถัดมา ทิ้งหนี้สินจำนวนมากให้กับครอบครัว เมื่ออายุ 20 ปี อังโงะสอนเป็นครูสำรองในโรงเรียนมัธยมอยู่หนึ่งปี เขามีความสนใจในพุทธศาสนาอย่างมากและเข้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยโทโย เพื่อศึกษาปรัชญาอินเดีย และจบการศึกษาเมื่ออายุ 25 ปี ตลอดชีวิตนักศึกษา อังโงะแสดงความเห็นอย่างเปิดเผย

หลังจบการศึกษา เขาเขียนผลงานวรรณกรรมต่าง ๆ และได้รับคำชมจากนักเขียนอย่างมากิโนะ ชินอิจิ อาชีพนักเขียนของเขาเริ่มขึ้นพร้อมกับการขยายอำนาจของญี่ปุ่นไปยังแมนจูเรีย เมื่ออายุ 27 ปี เขาได้พบและเป็นเพื่อนกับยาดะ สึเนโกะ แม่ของเขาเสียชีวิตเมื่อเขาอายุ 37 ปี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาต้องต่อสู้เพื่อให้ได้รับการยอมรับในฐานะนักเขียนอยู่หลายปีก่อนที่จะประสบความสำเร็จด้วยผลงาน "A Personal View of Japanese Culture" ในปี พ.ศ. 2485 และอีกครั้งกับ "On Decadence" ในปี พ.ศ. 2489

ในปี 2489 อังโงะ ซากากุจิได้เขียนนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมที่เสียดสีสังคมชื่อว่าFurenzoku satsujin jiken ("The Non-serial Murder Incident" แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในชื่อMeurtres sans série) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัล Mystery Writers of Japan Award ในปี พ.ศ. 2491 อังโงะมีลูกคนแรกเมื่ออายุ 42 ปีกับภรรยาของเขา มิจิโยะ คาจิ ต่อมาอังโงะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดโป่งพองในสมองเมื่ออายุ 48 ปีในปี พ.ศ. 2498 ที่ ครีว, จังหวัดกุมมะ

ผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษ[แก้]

  • Literary Mischief: Sakaguchi Ango, Culture, and the War, edited by James Dorsey and Doug Slaymaker, with translations by James Dorsey. Lanham, MA: Lexington Books, 2010. (Critical essays by Doug Slaymaker, James Dorsey, Robert Steen, Karatani Kojin, and Ogino Anna.)
    • Short story
      • "Pearls" (Shinju, 1942)
    • Essays
      • "A Personal View of Japanese Culture" (Nihon bunka shikan, 1942)
      • "Discourse on Decadence" (Darakuron, 1946)
      • "Discourse on Decadence, Part II" (Zoku darakuron, 1946)
เรื่องสั้น
  • "The Idiot" (Hakuchi, 1946). Transl. by George Saitо̄ in Modern Japanese Stories, ed. by Ivan Morris. Rutland and Tokyo: Charles E. Tuttle Company, 1962, pp. 383–410.
  • "I Want to Be Holding the Sea" (海を抱きしめていたい), Transl. by Shogo Oketani and Leza Lowitz in Towards a Literature of the Periphery: Manoa (Honolulu, Hawaii : 1995), 7, no. 1.
  • "One Woman and the War" (Zoku Sensо̄ to hitori no onna, 1946). Transl. by Lane Dunlop in Autumn Wind and Other Stories. Rutland and Tokyo: Charles E. Tuttle Company, 1994, pp. 140–160.
  • "In the Forest, Under Cherries in Full Bloom" (Sakura no mori no mankai no shita, 1947). Trans. by Jay Rubin in The Oxford Book of Japanese Short Stories, ed. by Theodore W. Goossen. Oxford and New York: Oxford University Press, 1997, pp. 187–205.
  • "The War and a Woman" (Sensо̄ to hitori no onna, 1946). Transl. by Robert Zetzsche in Sakiko Nomura: Ango. Tokyo: Match and Company, 2017.
  • Wind, Light, and the Twenty-Year-Old-Me (風と光と二十の私と) (abridged), translated by Reiko Seri and Doc Kane. Kobe: Maplopo, 2020.
เรียงความ
  • "A Personal View of Japanese Culture" (Nihon bunka shikan, 1942) (abridged). Transl. by James Dorsey in The Columbia Anthology of Modern Japanese Literature, Volume 1, ed. by Thomas Rimer and Van Gessel. New York: Columbia University Press, 2002, pp. 823–835.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

For more on Sakaguchi's role in postwar Japan, see John Dower's book Embracing Defeat, pp. 155–157.

  • Dorsey, James. “Culture, Nationalism, and Sakaguchi Ango, ” Journal of Japanese Studies vol. 27, no. 2 (Summer 2001), pp. 347~379.
  • Dorsey, James. “Sakaguchi Ango, ” in Modern Japanese Writers, ed. Jay Rubin (New York: Charles Scribner's Sons, 2000), pp. 31~48.
  • Ikoma, Albert Ryue. 1979. Sakaguchi Ango: His Life and Work. Thesis (Ph. D.) --University of Hawaii, 1979.
  • Nishikawa Nagao. “Two Interpretations of Japanese Culture.” Transl. by Mikiko Murata and Gavan McCormack. In Multicultural Japan: Palaeolithic to Postmodern, ed. by Donald Denoon, Mark Hudson, Gavan McCormack, and Tessa Morris-Suzuki, 245-64. London: Cambridge University Press, 1996.
  • Rubin, Jay. “From Wholesomeness to Decadence: The Censorship of Literature under the Allied Occupation.” Journal of Japanese Studies, vol. 1, no. 1 (Spring 1985), 71-103.
  • Steen, Robert. 1995. To Live and Fall: Sakaguchi Ango and the Question of Literature. Thesis (Ph. D.) --Cornell, 1995.
  • Ed. James Dorsey and Doug Slaymaker, with translations by James Dorsey, Literary Mischief: Sakaguchi Ango, Culture, and the War. Lantham, MD: Lexington Books, 2010. Critical essays by Doug Slaymaker, James Dorsey, Ogino Anna, Karatani Kojin, and Robert Steen. Annotated English translations of "A Personal View of Japanese Culture" (「日本文化私観」, 1942), "Pearls" (「真珠」, 1942), and "Discourse on Decadence" (「堕落論」parts 1 and 2, 1946).
  • Yongfei Yi, 'Sakaguchi Ango's Conceptualizations of the Function of Literature in the Postwar Era', Graduate Program in East Asian Studies, The Ohio State University, 2011 [1]
  • James Shield, 'Smashing the Mirror of Yamato: Sakaguchi Ango, Decadence and a (Post-metaphysical) Buddhist Critique of Culture', Journal of the International Research Center for Japanese Studies, Volume 23, Pages 225-246, September 2011, [2]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Un-Go - ซีรีส์ อนิเมะ ในปี พ.ศ. 2554 ที่อิงจากผลงานของอังโงะ
  • Aoi Bungaku - ตอนที่ 5 และ 6 อิงจากเรื่อง "In the Forest, Under Cherries in Full Bloom" ของอังโงะ
  • อนิเมะเรื่อง Bungo Stray Dogs ซึ่งมีตัวละครตัวหนึ่งที่ตั้งชื่อตามเขา

อ้างอิง[แก้]

  1. Sakaguchi, Ango; Lippit, Seiji M. (1986). "Discourse on Decadence". Review of Japanese Culture and Society (ภาษาอังกฤษ). 1 (1): 1–5. JSTOR 42800058. สืบค้นเมื่อ 2023-01-13.
  2. Dorsey, James; Slaymaker, Douglas (2010). Literary Mischief: Sakaguchi Ango, Culture, and the War (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. ISBN 978-0-7391-3866-3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]