อ็องรี ปวงกาเร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฌูล อ็องรี ปวงกาเร (ฝรั่งเศส: Jules Henri Poincaré; ฟัง เก็บถาวร 2006-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) เกิด 29 เมษายน ค.ศ. 1854 เสียชีวิต 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ดีสุดของฝรั่งเศส ในหนังสือประวัตินักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังของอิริค เทมเพิล เบลล์ได้ให้เกียรติปวงกาเรว่าเป็น นักคณิตศาสตร์คนสุดท้ายผู้ล่วงรู้ครอบจักรวาล (universalist) เนื่องจากปวงกาเรเดินตามรอยของนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต เช่น เกาส์, ออยเลอร์ หรือนิวตัน ที่มีผลงานและรอบรู้ในแทบทุกสาขาของคณิตศาสตร์ (หลังจากยุคปวงกาเรก็ไม่ปรากฏนักคณิตศาสตร์คนได้รอบรู้ในแง่ลึกของทุกสาขาอีก ทั้งนี้เนื่องจากสาขาของคณิตศาสตร์นั้นเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลในปัจจุบัน โดยตัวปวงกาเรเองก็เป็นผู้ที่ก่อตั้งสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ใหม่อีกหลายสาขา)
สาขาวิชาการที่ปวงกาเรได้อุทิศผลงานและมีผลกระทบสำคัญต่อวงการมากที่สุดได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ และ กลศาสตร์ท้องฟ้า โดยผลงานที่โด่งดังของปวงกาเรมีมากมายเช่น
- ปวงกาเรเป็นผู้ตั้งปัญหาข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร (Poincaré conjecture) หนึ่งในปัญหาที่มีชื่อเสียงที่สุดของคณิตศาสตร์
- เมื่อครั้งที่เขาทำวิจัยอย่างจริงจังในปัญหาสามวัตถุ (three-body problem) เขาเป็นคนแรกที่ได้คนพบปรากฏการณ์เคออส และตัวเขาเองเป็นผู้ก่อตั้งและวางรากฐานทฤษฎีเคออสสมัยใหม่
- ผลงานทางฟิสิกส์ของปวงกาเรเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจและแนวคิดตั้งต้นในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ โดยไอน์สไตน์ได้เล่าในหนังสือชีวประวัติของเขาด้วยว่า หนังสือของปวงกาเรที่ชื่อ science and hypothesis มีอิทธิพลต่อแนวคิดเขามากควบคู่ไปกับงานของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น เช่น แฮ็นดริก โลเรินตส์ (Hendrik Lorentz) และ เอิรนส์ มัค (Ernst Mach)
- ปวงกาเรกรุ๊ป (Poincaré group) ในพีชคณิตสมัยใหม่ถูกตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ปวงกาเร
ชีวิตของปวงกาเร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุคลิกของปวงกาเร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งานและปัญหาที่มีชื่อเสียง
[แก้]งานชิ้นสำคัญที่ปวงกาเรได้อุทิศให้วงการคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีดังต่อไปนี้:
- ทอพอโลยีเชิงพีชคณิต (algebraic topology)
- ทฤษฎีฟังก์ชันวิเคราะห์ของตัวแปรเชิงซ้อนหลายตัวแปร (the theory of analytic functions of several complex variables)
- ทฤษฎีอาบีเลียนฟังก์ชัน (the theory of abelian functions)
- เรขาคณิตเชิงพีชคณิต (algebraic geometry)
- ทฤษฎีจำนวน (number theory)
- ปัญหาสามวัตถุ (the three-body problem)
- ทฤษฎีสมการไดโอแฟนไทน์ (the theory of diophantine equations)
- ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (the theory of electromagnetism)
- ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (the special theory of relativity)
นอกจากนี้ปวงกาเรยังเป็นคนที่มีพรสวรรค์ในการเขียนและเล่าหลักการยาก ๆ ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจได้ง่าย เขาได้เขียนหนังสือคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่คนธรรมดาทั่วไปสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายหลายเล่ม (ดูผลงานทางวิชาการ)
ผลงานทางวิชาการ
[แก้]ปวงกาเรตีพิมพ์สองผลงานสำคัญที่ส่งผลให้กลศาสตร์ท้องฟ้ามีรากฐานอยู่บนระบบคณิตศาสตร์ที่สมบูรณ์มั่นคง (mathematical rigour)
- New Methods of Celestial Mechanics ISBN 1-56396-117-2 (3 vols., 1892-99; Eng. trans., 1967)
- Lessons of Celestial Mechanics. (1905-10).
ปวงกาเรได้ตีพิมพ์ชุดหนังสือปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่อธิบายและวิเคราะห์เนื้อแท้ของวิทยาศาสตร์ ดังนี้
- Science and Hypothesis, 1901. (ไอน์สไตน์เองได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนจากเล่มนี้)
- The Value of Science, 1904.
- Science and Method, 1908.
- Dernières pensées (eng, "Last Thoughts"); Edition Ernest Flammarion, Paris, 1913.
อ้างอิง
[แก้]- อีริค เทมเพิล เบลล์ (1986). Men of Mathematics (reissue edition). Touchstone Books. ISBN 0-671-62818-6.
- Peterson, Ivars (1995). Newton's Clock: Chaos in the Solar System (reissue edition). W H Freeman & Co. ISBN 0-7167-2724-2.
- Galison, Peter Louis (2003). Einstein's Clocks, Poincaré's Maps: Empires of Time. Hodder & Stoughton. ISBN 0-340-79447-X.
- E. Toulouse, Henri Poincaré, Paris (1910) - (Source biography in French)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wikiquote - Quotes by Henri Poincaré
- A review of Poincaré's mathematical achievements เก็บถาวร 2004-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A timeline of Poincaré's life เก็บถาวร 2004-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in French)
- Poincaré's 1897 article "The Relativity of Space", English translation
- Henri Poincaré, His Conjecture, Copacabana and Higher Dimensions