ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลรางพิกุล

พิกัด: 14°00′33.3″N 99°57′23.7″E / 14.009250°N 99.956583°E / 14.009250; 99.956583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลรางพิกุล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Rang Phikun
ป้ายหยุดรถไฟทุ่งบัวในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
ป้ายหยุดรถไฟทุ่งบัวในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี
ประเทศไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอกำแพงแสน
พื้นที่
 • ทั้งหมด17.77 ตร.กม. (6.86 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด6,499 คน
 • ความหนาแน่น365.73 คน/ตร.กม. (947.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73140
รหัสภูมิศาสตร์730213
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล
ตราอย่างเป็นทางการขององค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล
ตรา
อบต.รางพิกุลตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม
อบต.รางพิกุล
อบต.รางพิกุล
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล
พิกัด: 14°00′33.3″N 99°57′23.7″E / 14.009250°N 99.956583°E / 14.009250; 99.956583
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอกำแพงแสน
พื้นที่
 • ทั้งหมด17.77 ตร.กม. (6.86 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด6,499 คน
 • ความหนาแน่น365.73 คน/ตร.กม. (947.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06730213
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 228 หมู่ 8 ตำบลรางพิกุล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
เว็บไซต์rangpikul.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

รางพิกุล เป็นตำบลในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายสุพรรณบุรีผ่าน โดยเป็นที่ตั้งของป้ายหยุดรถไฟทุ่งบัว

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลรางพิกุล มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลทุ่งบัว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลกำแพงแสน และตำบลทุ่งกระพังโหม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลทุ่งขวาง และตำบลห้วยหมอนทอง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลทุ่งลูกนก

ประวัติ

[แก้]

รางพิกุล เดิมเป็นพื้นที่หมู่ 17 ของตำบลทุ่งขวาง ปี พ.ศ. 2511 ทางจังหวัดนครปฐมได้ประกาศแยก 9 หมู่บ้านของตำบลทุ่งขวาง ออกไปตั้งตำบลทุ่งบัว[3] โดยกำหนดให้บ้านรางพิกุลเป็นหมู่ 3 ของตำบลทุ่งบัว โดยชื่อ รางพิกุลมาจากต้นพิกุลต้นใหญ่ที่ขึ้นอยู่กลางรางน้ำริมคลองท่าสาร–บางปลา ไหลผ่านหมู่ที่ 1

ปี พ.ศ. 2534 นายสุกิจ จุลละนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมได้ประกาศแยกพื้นที่ทางทิศใต้ของตำบลทุ่งบัวรวม 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ 2 บ้านทุ่งพัฒนา, หมู่ 3 บ้านรางพิกุล, หมู่ 4,11 บ้านห้วยด้วน, หมู่ 6 บ้านกำแพงแสน, หมู่ 7 บ้านดอนกำเพา, หมู่ 9 บ้านรางหมัน และหมู่ 15 บ้านไผ่โน้ม ออกมาตั้งเป็นตำบลรางพิกุล[4]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

ตำบลรางพิกุลแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านรางพิกุล
  • หมู่ที่ 2 บ้านห้วยด้วน
  • หมู่ที่ 3 บ้านกำแพงแสน
  • หมู่ที่ 4 บ้านกำแพงแสน
  • หมู่ที่ 5 บ้านรางหมัน
  • หมู่ที่ 6 บ้านไผ่โน้ม
  • หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งพัฒนา
  • หมู่ที่ 8 บ้านห้วยด้วน
  • หมู่ที่ 9 บ้านทุ่งกระถิน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ตำบลรางพิกุลเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลห้วยหมอนทองหลังจากจัดตั้งตำบลขึ้น[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลรางพิกุลมี 9 หมู่บ้าน พื้นที่ 17.77 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,294 คน และ 1,097 ครัวเรือน[5] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลรางพิกุลอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลรางพิกุล[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตตำบลรางพิกุล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (ตอนพิเศษ 63 ง): 90–205. วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (15 ง): 442–444. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (92 ง): 4810–4819. วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
  5. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลรางพิกุล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539