หว่อง ก๊าไหว่
หว่อง กา ไว Wong Kar-wai 王家衛 | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | หว่อง ก๊า ไหว่ | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1958
อาชีพ | ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์ |
ปีที่แสดง | ค.ศ. 1980 - ปัจจุบัน |
แบฟตา | เข้าชิง: ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม -In the Mood for Love |
ซีซาร์ | เข้าชิง: ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม -In the Mood for Love |
AFI | เข้าชิง: ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม -In the Mood for Love |
ฐานข้อมูล | |
IMDb |
หว่อง ก๊า ไหว่ (กวางตุ้ง) หรือ หวาง เจียเว่ย์ (จีนกลาง) (จีน: 王家衛, พินอิน: Wáng Jiāwèi, อังกฤษ: Wong Kar wai) หรือนิยมเรียกอิงการทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า หว่อง กาไว เกิดวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1958 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์ และผู้สร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกง ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก มีผลงานที่ได้รับการยอมรับว่ามีสไตล์เป็นตัวของตัวเอง ในแบบดาราม่าเซื่องซึม เหงา เปล่าเปลี่ยวอ้างว้าง แต่ทว่ามีสีสัน และงดงามราวบทกวี[1] มีบุคลิกชอบสวมแว่นดำตลอดเวลาจนเป็นเอกลักษณ์
หว่อง ก๊าไหว่ เกิดที่เซี่ยงไฮ้ จีนแผ่นดินใหญ่ และย้ายมาอยู่ฮ่องกงพร้อมกับบิดามารดาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ หลังจากเรียนจบสาขาการออกแบบกราฟิก เมื่อ ค.ศ.1980 เขาเริ่มงานในสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ในตำแหน่งผู้เขียนบท
หว่อง ก๊าไหว่ เริ่มโด่งดังในวงการภาพยนตร์ ด้วยการสนับสนุนจากนักแสดงและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง เติ้ง กวงหยง (Alan Tang Kwong-Wing) มาเขียนบทภาพยนตร์แนวแอ็คชั่น เรื่อง หลังกระแทกฝา (Flaming Brothers ,1987) ซึ่งเป็นงานสร้างของบริษัท In-Gear Film Production ของเติ้ง กวงหยง นำแสดงโดย โจว เหวินฟะ ได้รับความนิยมในวงกว้างทั่วเอเชีย
ในปี 1988 หว่อง ก๊าไหว่ เริ่มกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก คือเรื่อง ทะลุกลางอก (As Tears Go By ,1988) หนังแนวแอ็คชั่น แก็งสเตอร์จากการโปรดิวเซอร์และอำนวยการสร้างโดย เติ้ง กวงหยง นำแสดงโดย หลิว เต๋อหัว และผลิตโดย In-Gear Film Production
ในปี 1990 หว่อง ก๊าไหว่ได้กำกับภาพยนตร์เป็นเรื่องที่สอง ซึ่งแป็นแนวดาราม่า แต่มีสไตล์เซื่องซึม เหงา เปล่าเปลี่ยว อ้างว้าง ในแบบของตัวเขาเอง ภายใต้อำนวยการสร้างและเงินทุนจากเติ้ง กวงหยง และผลิตโดย In-Gear Film Production ในเรื่อง วันที่หัวใจรัก..กล้าตัดขอบฟ้า หรือ "Days of Being Wild" ค.ศ.1990 ซึ่งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้โลกภาพยนตร์ และถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เป็นอัตลักษณ์ประจำตัวเขา ทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียงในวงกว้างระดับนานาชาติ
หลังจากนั้นเขาได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์เป็นของตัวเองและสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อมาไม่ว่าจะเป็น ผู้หญิงผมทอง ฟัดหัวใจให้โลกตะลึง หรือ "Chungking Express" ในปี ค.ศ.1994 , มังกรหยก ศึกอภิมหายุทธ หรือ "Ashes of Time" ในปี ค.ศ.1994 , นักฆ่าตาชั้นเดียว หรือ "Fallen Angels" ในปี ค.ศ.1995 ล้วนได้รับการกล่าวขานในระดับนานาชาติว่า เป็นสไตล์หนังที่แปลกใหม่ และมีเสน่ห์ จนเป็นที่ดึงดูดนักดูหนังจากทุกมุมโลกให้ความสนใจหนังสไตล์ของหว่อง ก๊าไหว่
ภาพยนตร์เรื่อง โลกนี้รักใครไม่ได้นอกจากเขา หรือ "Happy Together" (ค.ศ. 1997) เป็นผลงานสร้างชื่อให้กับหว่อง ก๊าไหว่ ในเวทีระดับโลก ในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เขาได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และภาพยนตร์เรื่องถัดมา ห้วงรักเสน่หา หรือ "In the Mood for Love" (ค.ศ. 2000) ประสบความสำเร็จอย่างสูง ได้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมหลายสถาบัน ทั้งจาก รางวัลบาฟตา รางวัลซีซาร์ และรางวัลของสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน
ภาพยนตร์เรื่องถัดมา "2046" (ค.ศ.2004) ใช้เวลาถ่ายทำถึง 4 ปี ในหลายประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย มีนักร้อง-นักแสดงซูเปอร์สตาร์ ของไทยร่วมแสดงด้วย คือ ธงไชย แมคอินไตย์
ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่หว่อง ก๊าไหว่ กำกับ ล้วนกำกับภาพโดย คริสโตเฟอร์ ดอยล์ แต่ยกเว้นเรื่องแรกคือ ทะลุกลางอก (As Tears Go By ,1988)
หว่อง ก๊า ไหว่ ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการ สำหรับการมอบรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลินประจำปี ค.ศ. 2013[1] [2] [3]
ผลงานด้านภาพยนตร์
[แก้]ปี | เรื่อง | ทำหน้าที่เป็น | ชื่อภาพยนตร์ภาษาจีน | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ผู้กำกับภาพยนตร์ | ดำเนินงานสร้าง | เขียนบท | ||||
1982 | Once Upon a Rainbow | ใช่ | 彩雲曲 Choi wan kuk | |||
1983 | Just For Fun | ใช่ | 空心大少爺 Kong xin da shao ye | |||
1984 | Intellectual Trio | ใช่ | 龍鳳智多星 Long feng zhi duo xing | |||
1984 | Silent Romance | ใช่ | 伊人再見 Yi ren zai jian | |||
1985 | Chase a Fortune | ใช่ | 吉人天相 Xiao hu xian | |||
1985 | Unforgettable Fantasy | ใช่ | 小狐仙 Ji ren tian xiang | |||
1986 | บ้าเบรกหลุด | ใช่ | 神勇雙響炮續集 Shen yong shuang xiang pao xu ji | |||
1986 | Goodbye, My Hero | ใช่ | 惡男 E Nan | |||
1986 | Sweet Surrender | ใช่ | 我要金龜婿 Wo yao jin gui xu | |||
1987 | Final Victory | ใช่ | 最後勝利 Zui hou sheng li | |||
1987 | หลังกระแทกฝา | Executive | ใช่ | 江湖龍虎鬥 Gong woo lung foo moon | ||
1987 | ขู่เฮอะ แต่อย่าหลอก | ใช่ | 猛鬼差館 Meng gui chai guan | |||
1988 | ทะลุกลางอก | ใช่ | ใช่ | 旺角卡門 Wong gok ka moon | Directing debut | |
1988 | กล้าหักเหลี่ยม | ใช่ | 獵鷹計劃Lie ying ji hua | |||
1988 | ขู่เฮอะ แต่อย่าหลอก ภาค 2 | ใช่ | 猛鬼學堂 Meng gui xue tang | |||
1990 | ขบวนโหด มาโปรดสัตว์ | ใช่ | 再戰江湖 Choi saan gong woo | |||
1990 | วันที่หัวใจรักกล้าตัดขอบฟ้า | ใช่ | ใช่ | 阿飛正傳 Ah fei zing zyun | ||
1991 | ตายกี่ชาติก็ขาดเธอไม่ได้ | ใช่ | 九一神鵰俠侶Gau yat san diu hap lu | |||
1993 | มังกรหยก หยกก๊าหว่า | Executive | 射鵰英雄傳之東成西就 Se diu ying hung ji dung sing sai jau | |||
1994 | ผู้หญิงผมทอง ฟัดหัวใจให้โลกตะลึง | ใช่ | ใช่ | ใช่ | 重慶森林 Chung Hing sam lam | |
1994 | มังกรหยก ศึกอภิมหายุทธ | ใช่ | ใช่ | ใช่ | 東邪西毒 Dung che sai duk | |
1995 | นักฆ่าตาชั้นเดียว | ใช่ | Executive | ใช่ | 墮落天使 Do lok tin si | |
1997 | โลกนี้รักใครไม่ได้นอกจากเขา | ใช่ | Executive | ใช่ | 春光乍洩 Chun gwong cha sit | |
1998 | First Love: Litter on the Breeze | ใช่ | 初纏戀后的二人世界 Choh chin luen hau dik yi yan sai gaai | |||
2000 | ห้วงรักอารมณ์สเน่หา | ใช่ | ใช่ | ใช่ | 花樣年華 Fa yeung nin wa | |
2002 | Chinese Odyssey 2002 | ใช่ | 天下無雙 Tian xia wu shuang | |||
2004 | 2046 ขอยืมได้ไหม เวลาของเธอ | ใช่ | ใช่ | ใช่ | 2046 | |
2007 | 300 วัน 5,000 ไมล์ ห่างไกลไม่ห่างกัน | ใช่ | ใช่ | ใช่ | 藍莓之夜 | English language |
2008 | รักเธอ แต่ใจให้นาย | Executive | 渺渺 | |||
2012 | Touch of the Light | Executive | Ni guang fei xiang | |||
2013 | ยอดปรมาจารย์ "ยิปมัน" | ใช่ | ใช่ | ใช่ | 一代宗師 Yi dai zong shi | |
2016 | เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ | ใช่ | 大唐玄奘 | |||
2016 | รักเธอ...ทุกวันพรุ่งนี้ | ใช่ | ใช่ | 摆渡人 | ||
2018 | พยัคฆ์สำอาง กระแทกยุโรป | ใช่ | 欧洲攻略 | |||
2021 | One for the Road วันสุดท้าย..ก่อนบายเธอ |
ใช่ | ||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 [ลิงก์เสีย] "หว่องกาไว" รับเกียรติเป็นประธานกรรมการเทศกาลหนังเบอร์ลิน จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ Abbas, M. A. Hong Kong: Culture and the Politics of Disappearance. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1997. ISBN 0-8166-2925-0.
- ↑ Bordwell, David. Planet Hong Kong: Popular Cinema and the Art of Entertainment. Cambridge, Mass.: Harvard University Press, 2000. ISBN 0-674-00214-8.