ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ | |
---|---|
เกิด | หม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489 |
คู่สมรส | ศักดา บุญจิตราดุลย์ |
บุตร | ทีฆ บุญจิตราดุลย์ ศศินทุ์ บุญจิตราดุลย์ |
บิดามารดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ทองแถม ประยูรโต |
ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ (เดิม: หม่อมเจ้าศรีสว่างวงศ์ ยุคล; ประสูติ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489) เป็นธิดาในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่ทองแถม ประยูรโต เป็นโสทรเชษฐภคินีในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล
ประวัติ
[แก้]ศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ เป็นธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ประสูติแต่ทองแถม ประยูรโต เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489 มีเจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาสององค์ คือ หม่อมเจ้าหญิง (ถึงชีพิตักษัยเมื่อชันษา 1 วัน) และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล และมีเจ้าพี่เจ้าน้องต่างหม่อมมารดาอีกสี่องค์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (ตอ. 26) และระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ 18)
ศรีสว่างวงศ์ขอพระราชทานกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2521[1] เพื่อสมรสกับศักดา บุญจิตราดุลย์ มีบุตรสองคน คือ ทีฆ บุญจิตราดุลย์ และศศินทุ์ บุญจิตราดุลย์[2]
การทำงาน
[แก้]ศรีสว่างวงศ์เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปปฏิบัติกรณีกิจอยู่บ่อยครั้ง เช่น ไปในการบำเพ็ญพระกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[3] นอกจากนี้ยังได้ถวายงานใต้เบื้องพระยุคลบาทมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลก่อนสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันเช่น
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง[4]
ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปี พ.ศ. 2560 ร่วมเดินในริ้วขบวนอิสริยศ ริ้วขบวนที่ 2 ร่วมกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล, ร้อยเอก หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล และหม่อมเจ้านภดลเฉลิมศรี ยุคล[5]
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีตักบาตรเนื่องในพระราชพิธีสงกรานต์ โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ 150 รูป เข้าไปรับพระราชทานบิณฑบาตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง[6]
ในปี พ.ศ. 2563 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานในพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 50 รูป ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร, วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร, วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของศรีสว่างวงศ์ บุญจิตราดุลย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์, เล่ม 96, ตอนที่ 16, 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522, หน้า 587
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-07-03.
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2559
- ↑ https://news.thaipbs.or.th/content/266944
- ↑ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/750236
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์