พันธุ์สวลี กิติยากร
พันธุ์สวลี กิติยากร | |
---|---|
เกิด | หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล 24 กันยายน พ.ศ. 2476 ประเทศสยาม |
ตระกูล | ยุคล (โดยประสูติ) กิติยากร (โดยสมรส) |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร (สมรส 2499; เสียชีวิต 2547) |
บุตร | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ หม่อมหลวงสราลี กิติยากร |
บิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล |
มารดา | หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล |
ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิม หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล; เกิด 24 กันยายน พ.ศ. 2476) เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล เป็นพระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และยังเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
ประวัติ
[แก้]ชีวิตตอนต้น
[แก้]ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลีมีฐานันดรศักดิ์เดิมคือ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล พระนามลำลองว่า ท่านหญิงปิ๋ม เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) มีเจ้าน้องร่วมมารดาสององค์คือหม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล (ท่านชายกบ), รังษีนภดล ยุคล (ท่านหญิงอ๋อย) และมีเจ้าน้องต่างมารดาอีกสามองค์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนราชินี เมื่อ พ.ศ. 2493 แล้วทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
สมรส
[แก้]หม่อมเจ้าพันธุ์สวลีได้พบกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากรครั้งแรก ในงานเลี้ยงสังสรรค์ของหมู่นักเรียนไทยในอังกฤษ และเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์[1] ต่อมาหม่อมเจ้าพันธุ์สวลีได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2499 เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์[2] พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2499[3] มีธิดาหนึ่งพระองค์กับหนึ่งคน ได้แก่
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (เดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร; ประสูติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) อภิเษกสมรสและหย่ากับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[4][5] มีพระราชธิดาหนึ่งพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
- หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2509) สมรสและหย่ากับธีรเดช จิราธิวัฒน์ มีบุตรชายสองคนคือ สุทธกิตติ์และสิทธิกิตติ์ จิราธิวัฒน์
เกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล (พ.ศ. 2476–2499) | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
ฐานันดรศักดิ์และคำนำหน้านาม
[แก้]- 24 กันยายน พ.ศ. 2476 – 10 เมษายน พ.ศ. 2499 : หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล
- 10 เมษายน พ.ศ. 2499 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 : นางพันธุ์สวลี กิติยากร
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 : คุณหญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 – ปัจจุบัน : ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[8]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
ตั้งตามนาม
[แก้]- พระพุทธสุวรรณพันธุ์สวลีมงคลประดิษฐ์ วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี[9]
ลำดับสาแหรก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""รักของท่านหญิง" สำรวจความรัก-การแต่งงานของเจ้านายสตรีที่เปลี่ยนไปหลัง 2475". ศิลปวัฒนธรรม. 19 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๖
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๙๔, ตอน ๑๓ ก, ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๔๐ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2540" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (27ข): 8. 3 ธันวาคม 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2553.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (17ข): 20. 4 ธันวาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2553.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2532" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (73ง ฉบับพิเศษ): 5. 4 พฤษภาคม 2532. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2553.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จรัล บรรยงคเสนา (28 สิงหาคม 2560). "พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ทรงเป็นประธานเททองหล่อพระวัดทองทั่วจันทบุรี". สำนักงานประชาสัมพันธ์จันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- HSH Princess Bandhu Savali Yugala เก็บถาวร 2006-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน