หน่วยรับความรู้สึก
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก หน่วยรับ)
หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (อังกฤษ: receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้นๆ
ภาพรวม
[แก้]หน่วยรับความรู้สึกมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับ ลิแกนด์ และหน้าที่ของมัน เช่น
- โปรตีนบางตัวเป็นเพอริเฟอรัล เมมเบรน โปรตีน (peripheral membrane protein) *ฮอร์โมน รีเซปเตอร์ และ นิวโรทรานสมิตเตอร์ รีเซปเตอร์ หลายตัวเป็น ทรานเมมเบรน รีเซปเตอร์ (transmembrane receptor) ชึ่งประกอบด้วยไลปิด 2 ชั้น (lipid bilayer) ของเซลล์ เมมเบรนรีเซปเตอร์พวกนี้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- เมตาโบโทรปิก รีเซปเตอร์ (Metabotropic receptor) เป็นรีเซปเตอร์คู่กับ จี โปรตีน (G protein) และมีผลต่อเซลล์ทางอ้อมผ่านเอ็นไซม์ที่ควบคุม ไอออน แชนแนล (ion channel)
- ไอโอโนโทรปิก รีเซปเตอร์ (Ionotropic receptor) ประกอบด้วยรูกลางที่ทำหน้าที่ประตู ลิแกนด์-เกตเตด ไอออน แชนแนล
- หน่วยรับความรู้สึกประเภท อินทราเซลลูลาร์ โปรตีน (intracellular proteins) เช่น สเตอรอยด์ฮอร์โมน รีเซปเตอร์ รีเซปเตอร์บ่อยครั้งสามารถเข้า นิวเคลียส และมีผลต่อ การแสดงออกทางพันธุกรรม (gene expression)
- รูปร่างและบทบาทของรีเซปเตอร์มีผลต่อฤทธิ์ของยา ณ จุดเชื่อมต่อบนรีเซปเตอร์
ทรานเมมเบรน รีเซปเตอร์ (Transmembrane receptors)
[แก้]เมตาโบโทรปิก รีเซปเตอร์ (Metabotropic receptor)
[แก้]จี โปรตีน-คัปเิปิลด์ รีเซปเตอร์ (G protein-coupled receptors)
[แก้]หน่วยรับความรู้สึกนี้รู้จักกันในชื่อ 7 ทรานเมมเบรน รีเซปเตอร์ หรือ 7TM รีเซปเตอร์
- "มัสคารินิก อะซิทิลคอลีน รีเซปเตอร์"หรือ Acetylcholine receptors (Muscarinic acetylcholine receptor-Acetylcholine และ Muscarine)
- อะดีโนซีน รีเซปเตอร์ (Adenosine receptor-Adenosine)
- อะดรีโนเซพเตอร์ (Adrenoceptor-Adrenergic receptor adrenaline, and other structurally related hormones and drugs)
- กาบา รีเซปเตอร์, Type-B (GABA receptor-γ-Aminobutyric acid or GABA)
- แองกิโอเทนซิน รีเซปเตอร์ (Angiotensin receptor-แองกิโอเทนซิน)
- แคนนาบินอยด์ รีเซปเตอร์ (Cannabinoid receptor-แคนนาบินอยด์)
- คอลีซีสโตคินนิน รีเซปเตอร์ (Cholecystokinin receptor-คอลีซีสโตคินนิน)
- โดพามีน รีเซปเตอร์ (Dopamine receptor-โดพามีน)
- กลูคากอน รีเซปเตอร์ (Glucagon receptor-กลูคากอน)
- เมตาโบโทรปิก กลูตาเมต รีเซปเตอร์ (Metabotropic glutamate receptor-กลูตาเมต)
- ฮีสตามีน รีเซปเตอร์ (Histamine receptor-ฮีสตามีน)
- โอลแฟคตอรี่ รีเซปเตอร์ (Olfactory receptor- โอลแฟคชั่น)
- โอปออยด์ รีเซปเตอร์ (Opioid receptor-โอปออยด์)
- โรดอปซิน (Rhodopsin-photoreceptor)
- ซิคริติน รีเซปเตอร์ (Secretin receptor-ซิคริติน)
- เซอโรโทนิน รีเซปเตอร์ (Serotonin receptor-เซอโรโทนิน 5-Hydroxytryptamine or 5-HT)
- โซมาโตสแตติน รีเซปเตอร์ (Somatostatin receptor-โซมาโตสแตติน)
- ฯลฯ
ไทโรซีน ไคเนส รีเซปเตอร์ (Tyrosine kinase receptors)
[แก้]- อีริโทรพอยอีติน รีเซปเตอร์ (Erythropoietin receptor-Erythropoietin)
- อินสุลิน รีเซปเตอร์ (Insulin receptor-Insulin)
- รีเซปเตอร์ สำหรับ โกรว์ท แฟคเตอร์ (growth factor) & ไซโตคีน (cytokine)
- ฯลฯ
กัวนิลิล ไซเคลส รีเซปเตอร์ (Guanylyl cyclase receptors)
[แก้]- GC-A & GC-B: รีเซปเตอร์ สำหรับ เอเทรียล-เนตริยูรีติก เพปไทด์ (Atrial-natriuretic peptide-ANP) และ เนตริยูรีติก เพปไทด์ อื่น
- GC-C: กัวนิลิน รีเซปเตอร์ (Guanylin receptors)
ไอโอโนโทรปิก รีเซปเตอร์ (Ionotropic receptors)
[แก้]- นิโคตินิก อะซิทิลคอลีน รีเซปเตอร์ อะซิทิลคอลีน รีเซปเตอร์ (Acetylcholine, Nicotine)
- ไกลซีน รีเซปเตอร์ (GlyR) (Glycine receptor-ไกลซีน, สตริชนิน (Strychnine))
- กาบา รีเซปเตอร์: GABA-A, GABA-C (GABA)
- กลูตาเมต รีเซปเตอร์: NMDA receptor, AMPA receptor, and ไกเนส รีเซปเตอร์ (กลูตาเมต)
- 5-HT3 รีเซปเตอร์ (เซอโรโทนิน)
อินทราเซลลูลาร์ (Intracellular receptors)
[แก้]ทรานสคริปชั่น แฟคเตอร์ (Transcription factors)
[แก้]- สเตอรอยด์ ฮอร์โมน รีเซปเตอร์:
- ไทรอยด์ ฮอร์โมน รีเซปเตอร์
- เรตินอยด์ รีเซปเตอร์ (vitamin A and related compounds) ;
- เปอรอกซิโซม โปรลิเฟอราเตอร์-แอคติเวเตด รีเซปเตอร์ (PPARs)