ข้ามไปเนื้อหา

เฟิ่งหฺวาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หงส์แดง)
เฟิ่งหฺวาง
กลุ่มสิ่งมีชีวิตในตำนาน
กลุ่มย่อยฟีนิกซ์
คติชนประมวลเรื่องปรัมปราจีน
ชื่ออื่นฟีนิกซ์จีน, หงส์จีน
ประเทศจีน
เฟิ่งหฺวาง
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม鳳凰
อักษรจีนตัวย่อ凤凰
ฮั่นยฺหวี่พินอินfènghuáng
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือPhượng hoàng
Phụng hoàng
จื๋อฮ้าน鳳凰
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
봉황
ฮันจา
鳳凰
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ鳳凰
ฮิรางานะほうおう
การถอดเสียง
โรมาจิhōō, ออกเสียง [hoːoꜜː]
ภาพสลักนูนต่ำรูปเฟิ่งหฺวางที่หน้าประตูยุคราชวงศ์ฮั่น

เฟิ่งหฺวาง (จีน: 鳳凰; พินอิน: Fènghuáng; ยฺหวิดเพ็ง: fung6 wong4; เยลกวางตุ้ง: fuhng wòhng, การออกเสียงภาษาจีนกลาง: [fə̂ŋ.xwǎŋ]) เป็นนกในเรื่องปรัมปราที่ปรากฏในเรื่องปรัมปราของเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เป็นนกที่ปกครองเหนือนกชนิดอื่น ๆ เฟิ่งหฺวางตัวผู้เดิมเรียกว่า เฟิ่ง และตัวเมียเดิมเรียกว่า หฺวาง แต่โดยทั่วไปมักจะถิอว่าเฟิ่งหฺวางเป็นสิ่งแทนเพศหญิง เพื่อให้คู่กับมังกรจีนที่เป็นสิ่งแทนเพศชาย

เฟิ่งหฺวางเป็นที่รู้จักในชื่อที่คล้ายคลึงกันในภาษาอื่น ๆ จำนวนมาก (ญี่ปุ่น: hōō; เวียดนาม: phượng hoàng หรือ phụng hoàng; เกาหลี: bonghwang) ในโลกตะวันตกโดยทั่วไปเรียกเฟิ่งหฺวางว่า ฟีนิกซ์จีน (Chinese phoenix) หรือเพียง ฟีนิกซ์ (phoenix) แม้ว่าเฟิ่งหฺวางมีความคล้ายคลึงกับฟีนิกซ์ของโลกตะวันตกเพียงผิวเผินก็ตาม

สภาพปรากฏ

[แก้]
ภาพของเฟิ่งหฺวางตรงข้ามกับมังกรบนตราประจำชาติสิบสองสัญลักษณ์ซึ่งเป็นตราของรัฐบาลจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1913 ถึง ค.ศ. 1928

ภาพโดยทั่วไปของเฟิ่งหฺวางคือภาพที่เฟิ่งหฺวางกำลังจับงูด้วยกรงเล็บและกางปีกออก ในพจนานุกรมเอ๋อร์หย่าบทที่ 17 อธิบายเรื่องนก (釋鳥 ชื่อเหนี่ยว) ระบุว่าลักษณะร่างกายของเฟิ่งหฺวางประกอบด้วยหัวไก่ คางนกนางแอ่น คองู หลังเต่า และหางปลา[1]

ร่างกายของเฟิ่งหฺวางเป็นสัญลักษณ์แทนเทห์ฟากฟ้า หัวเป็นท้องฟ้า ตาเป็นดวงอาทิตย์ หลังเป็นดวงจันทร์ ปีกเป็นลม เท้าเป็นโลก และหางเป็นดาวเคราะห์[2] กล่าวกันว่าเฟิ่งหฺวางกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์[2] ร่างกายของเฟิ่งหฺวางประกอบด้วยสีมูลฐาน 5 สีคือ ดำ ขาว แดง เหลือง และเขียว[2] บางครั้งแบกม้วนตำราหรือกล่องตำราศักดิ์สิทธิ์[2] บางครั้งปรากฏเป็นภาพพร้อมกับลูกไฟ[2] เชื่อกันว่าเฟิ่งหฺวางจะปรากฏเฉพาะตัวในพื้นที่หรือสถานที่ที่มีความสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

อ้างอิง

[แก้]
  1. 《尔雅·释鸟》郭璞注,鳳凰特徵是:"雞頭、燕頷、蛇頸、龜背、魚尾、五彩色,高六尺许"。
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Nozedar, Adele (2006). The secret language of birds: A treasury of myths, folklore & inspirational true stories. London: HarperElement. p. 37. ISBN 978-0007219049.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]