ข้ามไปเนื้อหา

หงส์ขาวคอดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หงส์คอดำ)
หงส์ขาวคอดำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anserinae
เผ่า: Cygnini
สกุล: Cygnus
สปีชีส์: C.  melancoryphus
ชื่อทวินาม
Cygnus melancoryphus
(Molina, 1782)
ชื่อพ้อง[2]
ชื่อพ้อง
  • Anas melancoripha (lapsus)
    Molina, 1782
  • Sthenelides melancoryphus
  • Sthenelides melanocoryphus
    (การตรวจทานไม่รอบคอบ)
  • Cygnus melancorypha
    (ชื่อสามัญของ lapsus)
  • Cygnus melanocoryphus
    (การตรวจทานไม่รอบคอบ)
Cygnus melancoryphus

หงส์ขาวคอดำ หรือ หงส์คอดำ (อังกฤษ: Black-necked swan; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cygnus melancoryphus) เป็นสัตว์ปีกจำพวกหงส์ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae)

หงส์ขาวคอดำ มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับหงส์ชนิดอื่นทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ มีขนตามลำตัวสีขาวล้วนทั้งตัว เว้นแต่ส่วนลำคอขึ้นไปที่เป็นสีดำล้วน จนดูคล้ายกับเป็นลูกผสมระหว่างหงส์ขาวกับหงส์ดำ มีจะงอยปากสีเทาอมชมพูและมีปุ่มสีแดงสดที่ฐานของปาก ขณะที่ส่วนใบหน้ามีลายเส้นเล็ก ๆ สีขาวพาดผ่านตา

มีถิ่นกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้[3] โดยตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 6-7 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 4-5 กิโลกรัม อายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี และจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1.5-2 ปี วางไข่ครั้งละประมาณ 5-6 ฟอง ทำรังโดยการเอากิ่งไม้หรือเศษใบไม้หรือฟางมาปูพื้น โดยลักษณะการทำรังจะเป็นไปอย่างมีระเบียบและอ่อนช้อยกว่านกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันมาก ระยะเวลาฟักไข่ประมาณ 30-33 วัน โดยจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงที่มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น เช่น ฤดูหนาวหรือฤดูฝน ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันฟักไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งในช่วงนี้ จะมีนิสัยดุร้ายมาก เพราะต้องปกป้องลูกอ่อน ลูกที่เกิดมาใหม่ ขนจะยังไม่เป็นสีช่วงลำคอเหมือนตัวโต และจะยังบินไม่ได้

หากินตามแหล่งน้ำทั่วไป โดยกินได้ทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เหมือนหงส์ชนิดอื่น ๆ และจับคู่เพียงตัวเดียวตลอดทั้งชีวิต

หงส์ขาวคอดำ ในปัจจุบัน ได้รับความนิยมในการเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม โดยเฉพาะผู้มีฐานะ เนื่องจากมีราคาซื้อขายที่แพงมาก อีกทั้งต้องใช้สถานที่ค่อนข้างกว้างขวางในการเลี้ยง ซึ่งสายพันธุ์ของหงส์ขาวคอดำที่เป็นสัตว์เลี้ยงในปัจจุบันนั้น มาจากนักเพาะพันธุ์สัตว์ของประเทศเนเธอร์แลนด์[4]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cygnus melancoryphus ที่วิกิสปีชีส์