ข้ามไปเนื้อหา

สุลต่านอะฮ์มัด ตาจุดดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะฮ์มัด ตาจุดดิน
أحمد تاج الدين
พระบรมฉายาลักษณ์ทางการ, ป. ค.ศ. 1934
สุลต่านบรูไน
ครองราชย์11 กันยายน ค.ศ. 1924 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1950
ราชาภิเษก17 มีนาคม ค.ศ. 1940
ก่อนหน้ามูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2
ถัดไปโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3
ประสูติ22 สิงหาคม ค.ศ. 1913(1913-08-22)
อิซตานาเปอกัน บรูไนทาวน์ ประเทศบรูไน
อะฮ์มัด ตาจุดดิน อาคาซุล ไครี วัดดีน
สวรรคต4 มิถุนายน ค.ศ. 1950(1950-06-04) (36 ปี)
โรงพยาบาลสิงคโปร์เจเนอรัล อาณานิคมสิงคโปร์
ฝังพระศพกูบะฮ์มากัมดีราจา บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ประเทศบรูไน
ชายากาดายัง อามัซ
เติงกู ไรฮานี (สมรส 1934)
พระราชบุตรเปองีรัน อานัก ซีตี ซาเอระฮ์
เปองีรัน อานัก ซีตี ซูไบดะฮ์
เปองีรัน อานัก ซีตี ฮาลีมะฮ์
เจ้าหญิงโนร์ เอฮ์ซานี
พระนามเต็ม
สุลต่าน เซอร์ อะฮ์มัด ตาจุดดิน อาคาซุล ไครี วัดดีน อิบนี สุลต่าน เซอร์ มูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2
ราชวงศ์โบลเกียห์
พระราชบิดาสุลต่านมูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2
พระราชมารดาเปองีรัน อานัก ฟาตีมะฮ์
ศาสนาอิสลาม

อะฮ์มัด ตาจุดดิน อาคาซุล ไครี วัดดีน (มลายู: Ahmad Tajuddin Akhazul Khairi Waddien, أحمد تاج الدين اعكاظ الخير والدين; 22 สิงหาคม ค.ศ. 1913 – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1950) เป็นสุลต่านบรูไนองค์ที่ 27 ที่ครองราชย์ใน ค.ศ. 1924 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1950 จากนั้นสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 พระอนุชา จึงขึ้นสืบราชสมบัติต่อ[1]

พระชนมชีพช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

อะฮ์มัด ตาจุดดินเสด็จพระราชสมภพในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1913[a] ที่อิซตานาเปอกันในบรูไนทาวน์ในรัชสมัยของสุลต่านมูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2 พระราชบิดา พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระราชบิดากับอัครชายา ราจา อิซเตอรี เปองีรัน อานัก ซีตี ฟาตีมะฮ์ โดยเปองีรัน มูดา บงซู พระเชษฐาของอะฮ์มัด ตาจุดดิน สวรรคตใน ค.ศ. 1910 ทำให้เปองีรัน มูดา โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน พระอนุชา สืบทอดตำแหน่งต่อจาก ก่อนที่อะฮ์มัด ตาจุดดินขึ้นเป็นสุลต่าน พระองค์เคยเป็นที่รู้จักกันในพระนาม เปองีรัน มูดา เบอซาร์ อะฮ์มัด ตาจุดดิน[5]

พระองค์ได้รับการศึกษาขั้นต้นในพระราชวังก่อนเข้าเรียนในโรงเรียนอย่างเป็นทางการ ครูคนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายให้สอนพระองค์มีชื่อว่าจิกกู ซัลเละฮ์ ฮาจี มัซรี[6] ซัลเละฮ์ ฮาจี มัซรีเป็นหนึ่งในนักสู้เพื่ออิสรภาพที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีความรู้สึกต่อต้านอาณานิคม อะฮ์มัด ตาจุดดินทรงขึ้นเรือไปยังประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1932 ตามรายงานระบุว่าพระราชมารดาของพระองค์ขัดขวางความพยายามของอีริก เออร์เนสต์ ฟอลก์ พริตตี พลเมืองชาวอังกฤษ ในการย้ายพระองค์ไปศึกษาที่มาลายาหรืออังกฤษ[7] ถึงกระนั้น พระองค์เริ่มได้รับการสอนภาษาอังกฤษจากครูชาวอังกฤษที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษเมื่ออายุได้สิบสี่พรรษา[8] โดยเรียนภาษาอังกฤษจาก Mr. H.F. Stalley พระองค์อยู่ในอังกฤษเพื่อเรียนภาษาอังกฤษและรายละเอียดอารยธรรมตะวันตกเป็นเวลาหนึ่งปี[9] พระองค์เป็นสุลต่านองค์แรกในประวัติศาสตร์ที่สำรวจโลกตะวันตกมากกว่าพระราชบิดาผู้โดยสารเรือไปแค่เพียงสิงคโปร์และลาบวน[10]

รัชสมัย

[แก้]

สวรรคตและพระราชพิธีพระบรมศพ

[แก้]
แรฟเฟิลส์โฮเท็ลใน ค.ศ. 1920–1939

เมื่อสุลต่านอะฮ์มัด ตาจุดดินหยุดพักระหว่างทางไปยังสหราชอาณาจักรที่สิงคโปร์ เพื่อแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับการขึ้นค่าสิทธิน้ำมันปี 1906 พระองค์กลับประชวรและต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสิงคโปร์เจเนอรัลในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1950[11] พระองค์เข้าโรงพยาบาลและสวรรคตในวันถัดมา[12] ด้วยพระชนมพรรษา 36 พรรษา[13] โดยมาสาเหตุจากไตวายหลังประสบเหตุเลือดออกที่แรฟเฟิลส์โฮเท็ลในคืนวันที่ 3 มิถุนายน[14] เมื่อพระราชพิธีพระบรมศพเสร็จสิ้น พระวรกายของพระองค์จึงถูกนำไปตั้งให้ทำความเคารพพระบรมศพ (laid in state) ที่ห้องโถงของพระราชวังใหญ่แห่งโจโฮร์บะฮ์รู เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีเกียรติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชนท้องถิ่นจากหลากหลายเชื้อชาติและศาสนาในประเทศได้แสดงความอาลัยต่อพระมหากษัตริย์ผู้ล่วงลับ และถวายความอาลัยแก่พระชายาของพระองค์[15] แมคดอนัลด์ถวายพวงหรีดและเข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1950[16]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รายงานวิจัยบรูไนระบุวันพระราชสมภพที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1913[2][3] ส่วน Bob Reece นักประวัติศาสตร์ ระบุไว้ที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1913[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kershaw 2002, p. XVII.
  2. Zullkiflee 2020, p. 49.
  3. Ministry of Religious Affairs 2008, p. 70.
  4. Reece 2009, p. 124.
  5. Mohamed, p. 2.
  6. Mohamed, p. 3.
  7. Horton 1985, p. 301.
  8. Reece 2009, p. 92.
  9. Great Britain Colonial Office 1932, p. 29.
  10. Hussainmiya 1995, p. 46.
  11. Reece 1993, p. 279.
  12. Sidhu 2009, p. 169.
  13. Reece 2009, p. 128.
  14. Reece 2009, p. 98.
  15. "SULTAN OF BRUNEI DARUSSALAM AHMAD TAJUDDIN WHO DIED IN SINGAPORE AND LAID IN STATE IN THE ISTANA AT JOHORE BAHRU". National Archives of Singapore. 1950-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.
  16. "COMMISSIONER-GENERAL FOR SOUTHEAST ASIA MALCOLM MACDONALD WITH A WREATH ATTENDING FUNERAL OF THE SULTAN OF BRUNEI DARUSSALAM AHMAD TAJUDDIN WHO DIED IN SINGAPORE AND LAID IN STATE IN THE ISTANA AT JOHORE BAHRU". National Archives of Singapore. 1950-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-10-02.

บรรณานุกรม

[แก้]