ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศปาเลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐปาเลา)
สาธารณรัฐปาเลา

Republic of Palau (อังกฤษ)
Beluu er a Belau (ปาเลา)
ตราแผ่นดินของปาเลา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญRainbow's End
เพลงชาติเบเลา เรกิด (ปาเลาของเรา)
ที่ตั้งของปาเลา
เมืองหลวงเงรุลมุด
7°30′N 134°37′E / 7.500°N 134.617°E / 7.500; 134.617
เมืองใหญ่สุดคอรอร์
7°20′N 134°29′E / 7.333°N 134.483°E / 7.333; 134.483
ภาษาราชการภาษาอังกฤษและภาษาปาเลา
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาอาเงาร์ (ในรัฐอาเงาร์)
ภาษาซอนโซรัล (ในรัฐซอนโซรัล)
ภาษาโตบี (ในรัฐฮาโตโฮเบย์)
การปกครองสาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
Surangel Whipps Jr.
• รองประธานาธิบดี
Uduch Sengebau Sr.
พื้นที่
• รวม
459 ตารางกิโลเมตร (177 ตารางไมล์) (179th)
น้อยมาก
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
21,503[1] (224)
• สำมะโนประชากร 2013
20,918
46.7 ต่อตารางกิโลเมตร (121.0 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$300 ล้าน[2]
$16,296[2] (81)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$322 ล้าน[2]
$17,438[2]
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.826[3]
สูงมาก · อันดับที่ 50
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
เขตเวลาUTC+ 9
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
ไม่ใช้
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+680
รหัส ISO 3166PW
โดเมนบนสุด.pw

ปาเลา (อังกฤษ: Palau; ปาเลา: Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (อังกฤษ: Republic of Palau; ปาเลา: Beluu er a Belau[4]) เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะ 340 เกาะทางตะวันตกของหมู่เกาะแคโรไลน์ เนื้อที่รวมประมาณ 466 ตารางกิโลเมตร[5] เกาะที่มีประชากรมากที่สุดคือคอรอร์ เมื่องหลวงชื่อเงรุลมุด มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับประเทศไมโครนีเชียทางตะวันออก ประเทศอินโดนีเซียทางใต้ และประเทศฟิลิปปินส์ทางตะวันออกเฉียงหนือ ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุดและมีประชากรน้อยที่สุดในโลก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สันนิษฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลา จึงทำให้ชาวอังกฤษเริ่มรู้จักเกาะนี้ และกลายเป็นคู่ค้าหลัก ในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมาก

ต่อมาชาวสเปนได้มีอำนาจเหนือปาเลา แต่ภายหลังได้ขายหมู่เกาะนี้ให้แก่เยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและบุกเข้ายึดครองปาเลาให้อยู่ภายใต้อำนาจจักรวรรดิญี่ปุ่นและได้โยกย้ายประชากรให้ไปอาศัยอยู่เกาะต่าง ๆ ของปาเลา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปาเลาจึงกลายเป็นสนามรบระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามสหรัฐอเมริกาเริ่มมีอำนาจแทนญี่ปุ่น ปาเลาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเกือบทุกด้าน หลังจากได้รับเอกราช ก็ยังได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและการป้องกันจากสหรัฐอเมริกา

การเมือง

[แก้]

ปาเลามีประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้าคณะรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ปาเลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 16 หน่วยย่อย เรียกว่ารัฐ (states):

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]

ประกอบด้วยหมู่เกาะ 26 เกาะ และมีเกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ 300 เกาะ

ภูมิอากาศ

[แก้]

ฝนตกชุก และอากาศร้อนตลอดปี

เศรษฐกิจ

[แก้]

ปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีการกระจุกตัวของรายได้[ต้องการอ้างอิง] ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการ ท่องเที่ยว เกษตรกรรม การประมง โดยรัฐบาลเป็นผู้สร้างและจ้างงานหลัก ปาเลายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐฯ และการประกอบธุรกิจจากนักลงทุนสหรัฐฯ ซึ่งทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย

ประชากร

[แก้]

ปาเลา ร้อยละ 70 ชาวเอเชีย ร้อยละ 28 อื่น ๆ ร้อยละ 2 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ประชากรรู้หนังสือร้อยละ 98 ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อยละ 71

วัฒนธรรม

[แก้]

เป็นแบบวัฒนธรรมแบบชาวไมโครนีเซีย และก็ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกเป็นอย่างมากแม้กระทั่งภาษาพูด และศาสนา ในฐานะอดีตเคยเป็นเมืองขึ้น ส่วนญี่ปุ่นเองก็มีส่วนสร้างวัฒนธรรมของชาวปาเลา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ส่วนมากพูดกันในเกาะอาเงาร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Palau". www.imf.org.
  3. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  4. Constitution of Palau เก็บถาวร 26 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (PDF). palauembassy.com. Retrieved 1 June 2013.
  5. "Statistical Yearbook 2015". Republic of Palau Bureau of Budget and Planning Ministry of Finance (1 February 2016). Retrieved on 21 August 2018.