การศึกษาด้านคอมพิวเตอร์
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก สาขาวิชาคอมพิวเตอร์)
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ระดับปริญญาตรีในประเทศไทย กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552[1] แบ่งเป็นสาขาดังนี้
- สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (CS)
- สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE)
- สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE)
- สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (IT)
- สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (BC)
โดยอ้างอิงจากการจัดหลักสูตร ของ The Association for Computing Machinery (ACM), The Association for Information Systems (AIS) และ The Institute of Electrical and Electronics Engineer - Computer Society (IEEE-CS) ชึ่งได้แบ่งองค์ความรู้ของสาขาคอมพิวเตอร์ออกเป็น 5 ด้านหลักคือ
- องค์การและระบบสารสนเทศ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานประยุกต์
- เทคโนโลยีและวิธีการทางซอฟต์แวร์
- โครงสร้างพื้นฐานของระบบ
- ฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
โดยทั้ง 5 สาขาวิชานั้น มุ่งเน้นองค์ความรู้ ที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ยังมีสาขาอื่น ๆ ที่ เรียนต้านคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education) ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นต้น
เนื้อหาสาระสำคัญของสาขาคอมพิวเตอร์
[แก้]เนื้อหาสาระสำคัญของสาขาคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ด้านคอมพิวเตอร์ จำแนกตามสาขาวิชาได้ดังนี้
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- โครงสร้างดิสครีต (Discrete Structures)
- พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals
- ความซับซ้อนและขั้นตอนวิธี (Algorithms and Complexity)
- โครงสร้างและสถาปัตยกรรม (Architecture and Organization)
- ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
- การประมวลผลเครือข่าย (Net-Centric Computing)
- ภาษาการเขียนโปรแกรม (Programming Languages)
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction)
- กราฟิกและการประมวลผลภาพ (Graphics and Visual Computing)
- ระบบชาญฉลาด (Intelligent Systems)
- การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
- ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ (Social and Professional Issues)
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
- ศาสตร์เพื่อการคำนวณ (Computational Science)
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
- คณิตศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ (Computer Mathematics)
- อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
- ตรรกศาสตร์ดิจิทัล (Digital Logic)
- โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structures and Algorithms)
- โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture and Organization)
- ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
- ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)
- สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
- ความจำเป็นของคอมพิวเตอร์ (Computing Essentials)
- พื้นฐานคณิตศาสตร์และวิศวกรรม (Mathematical and Engineering Fundamentals)
- วิชาชีพภาคปฏิบัติ (Professional Practices)
- การวิเคราะห์และการสร้างแบบจำลองซอฟต์แวร์ (Software Modeling and Analysis)
- การออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Design)
- การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Validation and Verification)
- วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Software Evolution)
- กระบวนการทางซอฟต์แวร์ (Software Process)
- คุณภาพซอฟต์แวร์ (Software Quality)
- การจัดการซอฟต์แวร์ (Software Management)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Fundamentals)
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction)
- ความมั่นคงและการประกันสารสนเทศ (Information Assurance and Security)
- การจัดการสารสนเทศ (Information Management)
- การบูรณาการการเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยี (Integrative Programming and Technologies)
- คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mathematics and Statistics for Information Technology)
- เครือข่าย (Networking)
- พื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Programming Fundamentals)
- แพลตฟอร์มเทคโนโลยี (Platform Technologies)
- การบำรุงรักษาและการบริหารระบบ (Systems Administration and Maintenance)
- สถาปัตยกรรมและการบูรณาการระบบ (Systems Integration and Architecture)
- ประเด็นทางสังคมและวิชาชีพ (Social and Professional Issues)
- ระบบเว็บและเทคโนโลยี (Web Systems and Technologies)
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- พื้นฐานคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer and Information Technology Fundamentals)
- การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming)
- โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี (Data Structures and Algorithms)
- การเขียนโปรแกรมบนเว็บ (Web Programming)
- ระบบฐานข้อมูล (Database Systems)
- ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems)
- การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design)
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking)
- ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ (Information Systems Security)
- โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจ (Business Computer Project)
- ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ (Computer Software Usage Skill)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2013-02-23.