ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านซะอีด บิน ตัยมูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านซะอีด บิน ตัยมูร
สุลต่านซะอีด บิน ตัยมูร (ซ้าย) กับพันเอก เดวิด สไมลีย์ แห่งกองทัพบกสหราชอาณาจักร
สุลต่านแห่งโอมาน
ครองราชย์10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 – 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1970
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตัยมูร บิน ฟัยศ็อล
ถัดไปสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด อาล ซะอีด
พระราชสมภพ13 สิงหาคม ค.ศ. 1910(1910-08-13)
ประเทศโอมาน
สวรรคต19 ตุลาคม ค.ศ. 1972(1972-10-19) (62 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ฝังพระศพสุสานบรุกวุด เซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ
สุสานหลวง กรุงมัสกัต
คู่อภิเษกเชคา ฟะติมะ อัล-มาชานี
เชคา มาซูน อัล-มาชานี
พระราชบุตรสุลต่านกอบูส บิน ซะอีด
ราชวงศ์อาล ซะอีด
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตัยมูร บิน ฟัยศ็อล
พระราชมารดาพระนางซัยยิดา ฟะติมะ บินต์ อาลี อัล-ซะอีด
ศาสนาอิสลาม

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านซะอีด บิน ตัยมูร (อังกฤษ: Said bin Taimur; อาหรับ: سعيد بن تيمور) ทรงเป็นสุลต่านแห่งมัสกัตและโอมาน (ประเทศโอมานในปัจจุบัน) ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 1932–1970

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านซะอีด บิน ตัยมูรเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1910 ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตัยมูร บิน ฟัยศ็อล (Taimur bin Feisal) กับพระนางซัยยิดา ฟะติมะ บินต์ อาลี อัล-ซะอีด (Sayyida Fatima bint 'Ali Al-Sa'id) ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 พระองค์พัฒนาประเทศให้ทันสมัยขึ้นด้วยใช้เงินจากการค้าขายปิโตรเลียม ต่อมาพระองค์ทรงขัดแย้งกับอิหม่ามกาลิบ บิน อาลี (Ghalib bin Ali) ผู้นำทางศาสนาของโอมานซึ่งตั้งตนเองเป็นสุลต่านเช่นกัน กาลิบ บิน อาลีก่อกบฏในปี ค.ศ. 1955 แต่ถูกปราบโดยกองทัพโอมานและสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม สุลต่านซะอิดถูกซาอุดีอาระเบียและอียิปต์กดดันเนื่องจากสองประเทศนี้สนับสนุนอิหม่ามกาลิบและมองว่าการแทรงแซงของสหราชอาณาจักรนั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับแนวคิดชาตินิยมอาหรับ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1957 ซาอุดีอาระเบียและอียิปต์จึงสนับสนุนให้อิหม่านกาลิบก่อกบฏอีกครั้ง แต่ก็ถูกปราบลงในอีกสองปีต่อมา[1] อิหม่ามกาลิบตัดสินใจลี้ภัยในประเทศซาอุดีอาระเบียจนกระทั่งเสียชีวิต

ในปี ค.ศ. 1958 สุลต่านซะอีดทรงขายเมืองกวาดาร์ (Gwadar) ให้แก่ประเทศปากีสถาน ด้วยมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1962–1976 เกิดเหตุการณ์กบฏในจังหวัดโดฟาร์ (Dhofar Rebellion)[3] และมีความพยายามในการลอบปลงพระชนม์สุลต่านซะอีด ซึ่งส่งผลให้ในช่วงปลายรัชกาล สุลต่านซะอีดทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1970 กอบูส บิน ซะอีด พระราชโอรสได้ปลดพระองค์ออกจากตำแหน่งประมุขและเนรเทศพระองค์ไปประทับที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[4] สุลต่านซะอีดเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1972 พระบรมศพถูกฝังที่สุสานบรุกวุด (Brookwood Cemetery) ในเทศมณฑลเซอร์รีย์ ต่อมาพระบรมศพถูกเคลื่อนย้ายกลับมายังประเทศโอมานและถูกฝังที่สุสานหลวงในกรุงมัสกัต[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Oman, Culture and Diplomacy by Jeremy Jones, Nicholas Ridout
  2. Sectarian Politics in the Persian Gulf by Lawrence G. Potter
  3. "Oman: The Present in the Context of a Fractured Past by Roby C. Barrett" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
  4. Oman profile - Timeline - BBC News - BBC.com
  5. Tony Jeapes: SAS Secret War. Operation Storm in te Middle East. Grennhill Books/Stakpole Books, London/Pennsylvania 2005, ISBN 1-85367-567-9, page 29.