ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิหุมายูง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิหุมายูง
จักรพรรดิแห่งอินเดีย
นะซีร์ อุดดีน มุฮัมมัด ฮุมายูน
จักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์โมกุล (ช่วงที่ 1)
ครองราชย์26 ธันวาคม ค.ศ. 1530 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540
ราชาภิเษก30 ธันวาคม ค.ศ. 1530
เมืองอัครา
ก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์
ถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร
จักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์โมกุล (ช่วงที่ 2)
ครองราชย์22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 155517 มกราคม ค.ศ. 1556
ก่อนหน้าบาบูร์
ถัดไปอักบัร
ประสูติ7 มีนาคม ค.ศ. 1508
เมืองคาบูล
สวรรคต17 มกราคม ค.ศ. 1556
เมืองเดลี
มเหสีเบกา เบกุม
มาห์ ชูชัก
มิเวห์ จัน
ฮามิดา บานุ เบกุม
ชาห์ซาดิ กานุม
พระราชบุตรอะลามัน มีร์ซา
อักบาร์
มีร์ซา มูฮัมมัด ฮาคิม
อากีกาห์ เบกุม
บักชี บานุ เบกุม
บักท์ อุน นิสซา เบกุม
นะซีร์ อุดดีน มุฮัมมัด ฮุมายูน
ราชวงศ์โมกุล
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์
พระราชมารดาพระนางมะฮาม เบกุล

นะซีร์ อุดดีน มุฮัมมัด ฮุมายูน (เปอร์เซีย: نصیر الدین محمد همایون) หรือนิยมเรียกพระนามว่า จักรพรรดิหุมายูง (ฮินดี: हुमायूँ; อูรดู: ہمایوں; ราชสมภพ 7 มีนาคม ค.ศ. 1508 - สวรรคต 17 มกราคม ค.ศ. 1556) เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา คือสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ ซึ่งปกครองอาณาจักรโมกุลอันกว้างขวางที่รวมถึงอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และอินเดียทางตอนเหนือในปัจจุบัน ทรงปกครองจักรวรรดิทั้งหมดสองช่วงคือ ช่วงแรก ระหว่าง 26 ธันวาคม ค.ศ. 1530 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540 และช่วงที่สอง ระหว่าง 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1555 จนกระทั่งสวรรคตเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ. 1556 ซึ่งคล้ายกับกรณีของพระราชบิดาซึ่งเสียอาณาจักรในช่วงแรกของรัชสมัย แต่ด้วยความช่วยเหลือจากราชวงศ์ซาฟาวิดแห่งเปอร์เซีย พระองค์สามารถเอาชนะกลับคืนได้กว้างขวางกว่าเดิม ในขณะที่สวรรคต จักรวรรดิโมกุลได้ขยายอาณาบริเวณกว่าหนึ่งล้านตารางกิโลเมตร

พระองค์ทรงครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในส่วนของอินเดียเมื่อปีค.ศ. 1530 ในขณะที่พระอนุชาต่างพระมารดา คือ คัมราน มีร์ซา (Kamran Mirza) ได้ปกครองคาบูล และละฮอร์ ซึ่งเป็นจักรวรรดิของพระราชบิดาทางตอนเหนือ สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายูงขึ้นครองราชย์ในขณะที่มีพระชนมายุเพียง 22 พระชันษา ซึ่งในขณะนั้นยังไม่ค่อยเจนจัดด้านการปกครองอาณาจักรของพระองค์นัก

พระองค์เสียอาณาจักรโมกุลให้แก่เชอร์ชาห์สุรี (Sher Shah Suri) ขุนนางเชื้อสายอัฟกัน และในภายหลังได้อาณาจักรกลับคืนมาด้วยความช่วยเหลือของราชวงศ์เปอร์เซียในอีก 15 ปีต่อมา โดยหลังจากเสด็จกลับจากลี้ภัยในเปอร์เซียแล้วได้เกณฑ์เหล่าขุนนาง และคหบดีจากเปอร์เซีย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ธรรมเนียมในราชสำนักโมกุลนั้นได้รับอิทธิพลจากราชสำนักเปอร์เซีย รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ภาษา และวรรณคดีอีกด้วย นอกจากนี้จะสังเกตได้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ หลักศิลาจารึกต่าง ๆ นั้นได้ทำขึ้นเป็นภาษาเปอร์เซีย

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Begum, Gulbadan (1902). Humayun-nama :The history of Humayun. Royal Asiatic Society. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); Persian and English text
  • Banerji, S K (1938). Humayun Badshah. Humphrey Milford Oxford University Press.
  • ., Jawhar (fl. 1554) (1832). The Tezkereh Al Vakiāt: Or, Private Memoirs of the Moghul Emperor Humayun. Oriental Translation Fund. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  • Cambridge History of India, Vol. III & IV, "Turks and Afghan" and "The Mughal Period". (Cambridge) 1928
  • Muzaffar Alam & Sanjay Subrahmanyan (Eds.) The Mughal State 1526–1750 (Delhi) 1998
  • William Irvine The army of the Indian Moghuls. (London) 1902. (Last revised 1985)
  • Bamber Gasgoigne The Great Moghuls (London) 1971. (Last revised 1987)
  • Jos Gommans Mughal Warfare (London) 2002
  • Peter Jackson The Delhi Sultanate. A Political and Military History (Cambridge) 1999
  • John F. Richards The Mughal Empire (Cambridge) 1993
  • Public Domain บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)


ก่อนหน้า จักรพรรดิหุมายูง ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุล สมัยที่ 1
(26 ธันวาคม ค.ศ. 1530 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1540)
เชอร์ชาห์สุรี
(ในฐานะ ชาห์แห่งเดลี)
มูฮัมมัด อะดิล ชาห์
(ในฐานะ ชาห์แห่งเดลี)

จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุล สมัยที่ 2
(22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1555 - 17 มกราคม ค.ศ. 1556)
สมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร