ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิซวี เติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิซวี เติน
維新帝
จักรพรรดิซวี เตินวัยหนุ่มบนบัลลังก์
จักรพรรดิ Đại Nam ภายใต้อันนัมและตังเกี๋ยในอารักขาของฝรั่งเศส
ครองราชย์5 กันยายน ค.ศ. 1907 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1916
ก่อนหน้าถั่ญ ท้าย
ถัดไปขาย ดิ่ญ
จักรพรรดิราชวงศ์เหงียน
ครองราชย์5 กันยายน ค.ศ. 1907 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1916
ก่อนหน้าถั่ญ ท้าย
ถัดไปขาย ดิ่ญ
ประสูติ19 กันยายน ค.ศ. 1900(1900-09-19)
นครจักรพรรดิเว้ อินโดจีนของฝรั่งเศส
สวรรคต26 ธันวาคม ค.ศ. 1945(1945-12-26) (45 ปี)
โลแบ อูบางี-ชารี แอฟริกาศูนย์สูตรของฝรั่งเศส
ฝังพระศพอานลัง
คู่อภิเษกพระมเหสีมายถีหว่าง
นางกำนัลฝรั่งเศส 3 คน (Marie Anne Viale
Fermande Antier
Ernestine Yvette Maillot)
พระราชบุตรArmand Viale
Thérèse Vĩnh San
Rita Suzy Georgette Vĩnh San
Guy Georges Vĩnh San
Yves Claude Vĩnh San
Joseph Roger Vĩnh San
พระนามเต็ม
เหงียน ฟุก หวิญ ซาน
เหงียน ฟุก ฮหว่าง
รัชศก
ซวี เติน (維新): 1907–1916
ราชวงศ์เหงียน ฟุก
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย
พระราชมารดาพระสนมเหงียน ถิ ดิ่ญ
ศาสนาพุทธ
ธง

สมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน (เวียดนาม: Duy Tân, จื๋อฮ้าน: 維新, แปล. "การปรับปรุงใหม่";[1] ; 19 กันยายน ค.ศ. 1900 - 26 ธันวาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุวจักรพรรดิของราชวงศ์เหงียน และทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ถึง ค.ศ. 1916

พระชนม์ชีพ

[แก้]

เมื่อครั้งทรงพระเยาว์

[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน หรือพระนามเมื่อวัยเยาว์คือ เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ซาน (Nguyễn Phúc Vĩnh San, 阮福永珊 ) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย เพราะความขัดแย้งต่อการปกครองของฝรั่งเศสและพฤติกรรมไม่อยู่กับร่องกับรอยของพระองค์ (ซึ่งบางคนคิดว่าพระองค์ทรงแสร้งทำเพื่อปกปิดการต่อต้านฝรั่งเศสของพระองค์) จักรพรรดิถั่ญ ท้าย ทรงถูกประกาศว่าเสียพระสติและทรงถูกเนรเทศไปยังเมืองหวุงเต่าในปี ค.ศ. 1907 ฝรั่งเศสตัดสินใจยกบัลลังก์ให้แก่เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ซาน ในพระชนมายุเพียง 7 พรรษา ตามที่ฝรั่งเศสได้คิดว่าพระองค์จะควบคุมง่ายและทำให้เข้าข้างฝรั่งเศสได้

เรื่องในรัชกาล

[แก้]
พระจักรพรรดิซวี เติน ในปี ค.ศ. 1907

ความพยายามของฝรั่งเศสที่จะให้สนับสนุนตนนั้นเกิดความล้มเหลวอย่างรุนแรง เจ้าชายเหงียน ฟุก หวิญ ซานได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นพระจักรพรรดิและประกาศใช้รัชศกซวี เติน ซึ่งมีความหมายว่า "สหายของการปฏิรูป" แต่ในเวลานั้นพระองค์ได้พิสูจน์ถึงความมีตัวตนของพระนามนี้ โดยเมื่อพระองค์มีพระชนมายุมากขึ้น ได้ทรงพบว่าแม้ว่าพระองค์เป็นพระจักรพรรดิ พระองค์ก็ยังต้องทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสอยู่ตลอด เมื่อพระองค์เจริญเป็นวัยหนุ่มแล้ว พระองค์ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของขุนนางเจิ่น กาว เวิน (Trần Cao Vân) ซึ่งเป็นขุนนางผู้ต่อต้านเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส พระจักรพรรดิทรงวางแผนก่อกบฏลับร่วมกับเจิ่น กาว เวิน และขุนนางอีกหลายคนเพื่อโค่นล้มอำนาจของฝรั่งเศส

ในปี ค.ศ. 1916 ขณะที่ฝรั่งเศสยุ่งอยู่กับการสู้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 พระจักรพรรดิได้ทรงลักลอบหนีออกจากพระราชวังกับเจิ่น กาว เวิน เพื่อปลุกระดมให้ประชาชนต่อต้านฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ความลับก็ถูกเปิดเผยและฝรั่งเศสก็ส่งทหารทันทีหลังจากนั้นไม่กี่วัน กลุ่มกบฏถูกหักหลังและถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส พระจักรพรรดิทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์และเนรเทศไปแทนการถูกสำเร็จโทษ เพราะพระชนมายุของพระองค์และเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เลวร้าย เจิ่น กาว เวิน และผู้นำการก่อกบฏที่เหลือถูกประหารชีวิต อดีตพระจักรพรรดิถูกเนรเทศไปเกาะเรอูว์นียงในมหาสมุทรอินเดียกับพระราชชนก

พระชนม์ชีพระหว่างถูกเนรเทศ

[แก้]

อดีตพระจักรพรรดิยังทรงสนับสนุนการปลดปล่อยเวียดนามในระหว่างทรงถูกเนรเทศ พระองค์ยังทรงต่อต้านระบบวีชีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งการปลดปล่อยเรอูว์นียง (Liberation of La Réunion) จึงทรงเข้าร่วมกองกำลังฝรั่งเศสเสรี (Forces françaises libres) และได้รับพระยศทหารเรือชั้นประทวนในเรือรบทำลายเลออปาร์ (Léopard) ในฐานะทหารหน่วยวิทยุ จากนั้นพระองค์ทรงได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็นร้อยตรีและได้เลื่อนยศเป็นพันโทในที่สุด

อุบัติเหตุเครื่องบินตก

[แก้]

เมื่อฝรั่งเศสกำลังเผชิญความพ่ายแพ้ต่อกลุ่มเวียดมินห์ และระบอบของพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ได้แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถเรียกเสียงสนับสนุนจากประชาชนได้ ชาร์ล เดอ โกล ผู้นำฝรั่งเศสได้พูดคุยกับอดีตพระจักรพรรดิซึ่งยังคงนิยมในหมู่ประชาชนเพราะความชาตินิยมของพระองค์เพื่อให้พระองค์กลับไปเป็นพระจักรพรรดิอย่างเดิม อย่างไรก็ตาม พระองค์กลับเสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ขณะที่พระองค์กำลังเสด็จเดินทางกลับเวียดนามในปี ค.ศ. 1945 และทำให้ความหวังหลาย ๆ อย่างตายตาม อันเป็นการท้าทายความรักชาติของโฮจิมินห์ ในฐานะที่พระองค์เคยเข้ารับราชการทหาร ฝรั่งเศสจึงได้ถวายเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ชั้นประถมาภรณ์และเหรียญแห่งการต่อต้านชั้นจตุรถาภรณ์ (Médaille de la Résistance) และยังแต่งตั้งให้พระองค์ทรงเป็นสมาชิกเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งการปลดปล่อย (Ordre de la Libération) ด้วย

ฝังพระบรมศพในเวียดนาม

[แก้]

ใน ค.ศ. 1987 เจ้าชายบ๋าว หว่าง พระราชโอรสของพระองค์ และพระราชวงศ์เวียดนามได้นำพระบรมศพของพระองค์ ซึ่งนำมาจากแอฟริกา นำกลับไปยังเวียดนามและประกอบพิธีฝังพระบรมศพในสุสานของพระบรมอัยกา จักรพรรดิสุก ดึ๊ก[2] ใน ค.ศ. 2001 เจ้าชายบ๋าว หว่าง ทรงพระนิพนธ์เรื่อง ซวี เติน จักรพรรดิแห่งอันนัม ค.ศ. 1900-1945 (Duy Tân, Empereur d'Annam 1900–1945) เกี่ยวกับพระชนม์ชีพของพระจักรพรรดิ[3] เมืองส่วนใหญ่ในเวียดนามตั้งชื่อถนนตามพระนามของพระองค์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Derived from Book of Documents: "those who have long been stained by their filthy manners will be allowed to renovate themselves" (舊染污俗 咸與維新, translated by James Legge)
  2. CÉRÉMONIE D’INHUMATION A HUE  Viet Nam at vinhsan.free.fr
  3. Presentation du livre sur l empereur Duy Tan at vinhsan.free.fr
  4. Vietnam Country Map. Periplus Travel Maps. 2002–2003. ISBN 0-7946-0070-0.
ก่อนหน้า จักรพรรดิซวี เติน ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม
(เหงียน)

(ค.ศ. 1916ค.ศ. 1925)
สมเด็จพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ