สงครามโครแอต-บอสนีแอก
สงครามโครแอต-บอสนีแอก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามยูโกสลาเวีย, สงครามบอสเนีย , สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
กองกำลังป้องกันตนเองชาวโครแอตบอสเนีย
สนับสนุน
ปากีสถาน |
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย สาธารณรัฐโครเอเชีย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อาลียา อีเซตเบกอวิช อารีฟ ปาชาลิช เซเฟร์ ฮาลีลอวิช ราชิม เดลิช บลัช กรัลเยวิช † Abdelkader Mokhtari Mahmut Karalić Asim Koričić |
มาเต บอบัน (ประธานาธิบดีแห่ง โครเอเชีย) |
สงครามโครแอต-บอสนีแอก เป็นสงครามระหว่างชาวบอสเนียกับชาวโครแอต ซึ่งเกิดทั้งในภูมิภาคบอสเนียกลาง เฮอร์เซโกวีนา และในเขตประเทศโครเอเชีย มูลเหตุสงครามมาจากในปี1991 โครเอเชียได้ประกาศเอกราชจาก ยูโกสลาเวีย แต่ก็แยกไปเฉพาะชาวโครแอตในโครเอเชีย ทำให้ชาวโครแอตในบอสเนียจึงได้ก่อตั้ง สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย เพื่อประกาศเอกราชจาก สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งกำลังทำสงครามกับกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บอยู่ ซึ่งถ้าเปิดศึกกับชาวโครแอตก็จะกลายเป็นสงครามสองฝ่าย แต่ด้วยรัฐบาลบอสเนียไม่ยอมรับให้โครเอเชียยึดดินแดนอีกต่อไป กองทัพบอสเนียจึงเคลื่อนพลบุกฐานที่มั่นกองกำลังโครแอต ซึ่งมีทั้งชาวโครแอตบอสเนียและชาวโครเอเชียประจำอยู่ในกองกำลัง บอสเนียได้เปิดศึกกับโครเอเชียด้วย ในพรมแดนโครแอต-บอสเนีย ทั่วประเทศบอสเนีย
สงครามโครแอต-บอสนีแอกยังถูกระบุว่าเป็นสงครามที่มีอาชญกรรมสงคราม โดยทหารชาวโครแอต ซึ่งได้ทำการสังหารหมู่ชาวบอสเนียในภูมิภาคบอสเนียกลาง ในช่วงเมษายน 1993 มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 2,000 คน โดยทั้งหมดเป็นชาวมุสลิมบอสเนีย กองทัพบอสเนียได้ร้องขอให้ สหประชาชาติส่งกำลังมา ซึ่งสหประชาชาติส่งกำลังทางทหารเข้ามา สหประชาชาติได้จับกุมผู้กอ่อาชญกรรมชาวโครแอต และกำหนดให้ สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย ถูกยุบและไปรวมกับบอสเนีย ขณะเดียวกันสหประชาชาติยังได้ให้บอสเนียและโครเอเชียสงบศึกกัน และ ร่วมกันทำสงครามกับกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บทั้งในบอสเนียและโครเอเชีย ปี1995 กองทัพบอสเนียได้เคลือนพลเข้าโครเอเชียเพื่อช่วยโครเอเชียปราบปรามกลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บ
ผลลัพธ์ของสงครามเกิดอาชญกรรมสงครามากมาย และ มีการจัดตั้งสนธิสัญญาวอชินัตนระหว่างรัฐบาลบอสเนียและรัฐบาลโครเอเชีย รัฐบาลบอสเนียสถาปนาสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาขึ้นเพื่อเป็นดินแดนของชาวโครแอตและชาวมุสลิมบอสเนีย มีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- การสังหารหมู่ที่ลัชวา วัลเลย์
- ยุทธการโมสตาร์
- สงครามบอสเนีย
- สงครามประกาศเอกราชโครเอเชีย
- ปฏิบัติการเนเรตวา 73
อ้างอิง
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Lukic, Rénéo; Lynch, Allen (1996). Europe From the Balkans to the Urals: The Disintegration of Yugoslavia and the Soviet Union. Oxford University Press. ISBN 0-19-829200-7.
- Magaš, Branka; Žanić, Ivo (2001). The War in Croatia and Bosnia-Herzegovina 1991–1995. Taylor & Francis. ISBN 0-7146-5204-0.
- Ramet, Sabrina P. (2002). Balkan Babel: The Disintegration of Yugoslavia from the Death of Tito to the Fall of Milošević. Westview Press. ISBN 0-8133-3987-1.
- Ramet, Sabrina P. (2006). The Three Yugoslavias: State-Building and Legitimation, 1918–2004. Indiana University Press. ISBN 0-271-01629-9.
- Central Intelligence Agency, Office of Russian and European Analysis (2002). Balkan Battlegrounds: A Military History of the Yugoslav Conflict, 1990–1995, Volume 1. Washington, D.C.: Central Intelligence Agency. ISBN 978-0-16-066472-4.
- Central Intelligence Agency, Office of Russian and European Analysis (2002). Balkan Battlegrounds: A Military History of the Yugoslav Conflict, 1990–1995, Volume 2. Washington, D.C.: Central Intelligence Agency. ISBN 978-0-16-066472-4.
- Tanner, Marcus (2001). Croatia: a nation forged in war (2nd ed.). New Haven; London: Yale University Press. ISBN 0-300-09125-7.
เว็บ
[แก้]- "Prosecutor v. Kordić and Čerkez Judgement" (PDF). International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia. 26 February 2001.
- "Prosecutor v. Rasim Delić Judgement" (PDF). International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia. 15 September 2008.
- "Prosecutor v. Jadranko Prlić, Bruno Stojić, Slobodan Praljak, Milivoj Petković, Valentin Ćorić, Berislav Pušić - Judgement - Volume 1 of 6" (PDF). International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia. 29 May 2013.