สงครามอังกฤษ–พม่า
สงครามอังกฤษ–พม่า | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การล่าอาณานิคมของยุโรปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | |||||||||
การยอมจำนนของกองทัพพม่าในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
สยาม (ถึง พ.ศ. 2369) |
| ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
เฮนรี่ ก็อดวิน การ์เน็ต วูลส์ลีย์ แฮร์รี เพรนเดอร์แกสต์ ลอร์ดแอเมิร์สต์ เซอร์ เอดเวิร์ด แพเกต ซอร์อาร์ชิบัลด์ แคมป์เบลล์ โจเซฟ วานตัน มอร์ริสัน ร่วมสงคราม: พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) พระยาสุรเสนา (คุ้ม) พระยาชุมพร (ซุ่ย ซุ่ยยัง) |
พระเจ้าจักกายแมง พระเจ้าพุกาม พระเจ้าสีป่อ มองจี เจาะโลน มหาพันธุละ † มหาเนเมียว † มินจอชัยสุระ | ||||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
Presidency armies กองทหารหลวง ร่วมสงคราม: กองทัพหลวง |
| ||||||||
กำลัง | |||||||||
มากกว่า 50,000 (รวมสยาม) | มากกว่า 40,000 | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ไม่ทราบ บางรายเสียชีวิตด้วยโรค | ไม่ทราบ |
สงครามอังกฤษ-พม่า เป็นสงครามความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรสองแห่งที่กำลังแผ่ขยายอิทธิพล คือจักรวรรดิบริติชกับราชวงศ์โก้นบอง ซึ่งเป็นสงครามที่แพงที่สุดและยาวนานที่สุดของบริติชราช โดยมีค่าใช้จ่าย 5–13 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (500–1.38 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง ณ พ.ศ. 2566)[1] และกินเวลายาวนานกว่า 60 ปี สงครามอังกฤษ-พม่ามี ทั้งหมดสามครั้ง ได้แก่:
- สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369)[2]
- สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง (พ.ศ. 2395–2396)
- สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม (พ.ศ. 2428)
ลำดับเวลา
[แก้]การขยายตัวของอาณาจักรพม่าภายใต้ราชวงศ์โก้นบองส่งผลต่อแนวชายแดน โดยเคลื่อนตัวเข้าใกล้เขตบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษซึ่งต่อมาคือบริติชราช ส่งผลให้มีปัญหาผู้ลี้ภัยและการปฏิบัติทางทหารที่เลยข้ามพรมแดนที่ยังไม่กำหนดชัดเจน[2]
สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง
[แก้]สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ สนธิสัญญารานตะโบส่งผลให้พม่าสูญเสียดินแดนที่เคยพิชิตในรัฐอัสสัม, รัฐมณีปุระ, และรัฐยะไข่[3] อังกฤษยังยึดครองตะนาวศรี ด้วยตั้งใจที่จะใช้เป็นเครื่องต่อรองการเจรจาในอนาคตกับพม่าหรือสยาม[4] เมื่อศตวรรษผ่านไป บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเริ่มต้องการทรัพยากรและพื้นที่หลักของพม่าในยุคแผ่ขยายเขตแดนให้ยิ่งใหญ่[5]
สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง
[แก้]ปี พ.ศ. 2395 พลเรือจัตวาแลมเบิร์ตถูกส่งไปพม่าโดยลอร์ด ดาลฮูซี เนื่องด้วยปัญหาเล็กน้อยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาครั้งก่อน[3] พม่าได้ยอมผ่อนผันทันที รวมถึงปลดผู้ว่าราชการที่อังกฤษให้เหตุผลว่าเป็นเหตุแห่งสงคราม ในที่สุดแลมเบิร์ตได้ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าทางทะเลโดยมีสถานการณ์ที่น่าสงสัย เป็นมูลเหตุเริ่มต้นของสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง ใน พ.ศ. 2395 ซึ่งสิ้นสุดลงโดยอังกฤษยึดครองภาคพะโค[2] และเปลี่ยนชื่อเป็นพม่าตอนล่าง สงครามดังกล่าวส่งผลให้เกิดการปฏิวัติในพระราชวังพม่า พระเจ้าพุกามถูกแทนที่โดยพระเจ้ามินดง พระอนุชาต่างมารดา[3]
สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม
[แก้]พระเจ้ามินดงทรงพยายามปรับปรุงรัฐและเศรษฐกิจของพม่าให้ทันสมัยเพื่อเป็นอิสระ และทรงสถาปนาเมืองหลวงใหม่ที่มัณฑะเลย์ โดยพระองค์ดำริให้มีการเสริมสร้างป้อมปราการ[2][6] อย่างไรก็ตามความพยายามเหล่านี้พิสูจน์ได้ว่าไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อต่อมาอังกฤษอ้างว่าพระเจ้าสีป่อเป็นทรราชย์ที่ตั้งใจเข้าข้างฝรั่งเศส[7] พระองค์สูญเสียการควบคุมอาณาจักร ทำให้เกิดความไม่สงบที่ชายแดน และทรงผิดสัญญาที่ลงนามโดยพระราชบิดาของพระองค์[2] อังกฤษประกาศสงครามอีกครั้งในปี พ.ศ. 2428 พิชิตส่วนที่เหลือทั้งหมดของอาณาจักร ส่งผลให้พม่าทั้งหมดถูกยึดครอง[2][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps – Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 113, 125–127. ISBN 978-0-374-16342-6.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "San Beck Org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-11-01.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1967). History of Burma (2 ed.). London: Susil Gupta. pp. 236–247.
- ↑ D.G.E. Hall (1960). Burma (PDF). Hutchinson University Library. pp. 109–113. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2005-05-19.
- ↑ Thant Myint-U (2008). The River of Lost Footsteps (1 paperback ed.). USA: Farrar, Straus and Giroux. pp. 113–127.
- ↑ German Language Institute เก็บถาวร 2015-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ www.enotes.com
- ↑ Thant Myint-U (2008). The River of Lost Footsteps (1 paperback ed.). USA: Farrar, Straus and Giroux. pp. 161–162 + photo.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Aung, Htin. The Stricken Peacock: Anglo-Burmese Relations 1752–1948 (Springer Science & Business Media, 2013).
- Bruce, George. The Burma Wars, 1824–1886 (1973).
- Gupta, AshwAni. Military Lessons of Burma (2015).
- Messenger, Charles, ed. Reader's Guide to Military History (2001) pp 73–74.
- Pollak, Oliver B. Empires in Collision: Anglo-Burmese Relations in the Mid-Nineteenth Century (1980)
- Stewart, A.T.Q. Pagoda War: Lord Dufferin and the Fall of the Kingdom of Ava, 1885-186O (1972)
- Tarling, Nicholas, ed. The Cambridge History of Southeast Asia, Vol. 2, Part 1: From c.1800 to the 1930s (2000) excerpt