รางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
การจัดประกวดและแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ จำกัดเฉพาะศิลปินสัญชาติไทย ให้ส่งผลงานศิลปกรรมเข้าร่วมประกวดและแสดง โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยส่งเสริมวงการศิลปะในประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป
โดยแบ่งประเภทของผลงานศิลปกรรมเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และสื่อประสม โดยรางวัลในแต่ละประเภทจะเรียกว่า รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง , รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน และ รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ซึ่งผู้ที่ได้รางวัลดังกล่าวจะได้รับประกาศนียบัตรและเงินรางวัลจำนวนนึง
ประวัติ
[แก้]การดำเนินการในการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 - 14 เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่าง กรมศิลปากร กับ มหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องจากในระยะแรกนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยอยู่ในสังกัดของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ดังนั้นในการจัดแสดงครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2507 มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ดำเนินการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติโดยได้รับความร่วมมือจากกรมศิลปากรและสถาบันการศึกษาทางศิสปะเกือบทุกสถาบันจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ในการจัดประเภทของศิลปกรรมแห่งชาตินั้น ระยะแรก ๆ มีการจัดแบ่งผลงานศิลปกรรมหลายประเภท และมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง อาจเนื่องมาจากเพื่อกระตุ้นผู้ที่ทำงานศิลปะหลายสาขา ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2507 ได้จัดแบ่งประเภทของงานชัดเจนขึ้นเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ และมาปรับเปลี่ยนอีกครั้งในครั้งที่ 27 ให้เพิ่มประเภทสื่อประสม เพื่อให้ศิลปินมีอิสระในการเลือกใช้สื่อมากขึ้นและเปิดโอกาสให้ศิลปินได้ทำงานในลักษณะแตกต่างออกไปจากศิลปะ 3 ประเภท รางวัลของผู้ชนะการประกวดในขั้นแรกนั้นไม่มีเงินรางวัล มีเพียงเหรียญรางวัลโดยได้แบ่งออกเป็น รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง และเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ศิลปินที่ได้รับเหรียญทองครบ 3 ครั้ง หรือได้เหรียญทอง 2 ครั้ง กับเหรียญเงินอีก 2 ครั้ง ในแต่ละประเภทจะได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมซึ่งปัจจุบันมีศิลปินชั้นเยี่ยมทั้งหมด 19 คน
กรรมการคัดเลือกและตัดสินในระยะแรก มหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดบุคคลที่จะมาเป็นกรรมการคัดเลือกและตัดสิน โดยคัดมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านศิลปะสาขาต่างๆ ต่อมาเมื่อการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 28 จนถึงครั้งที่ 32 ได้มีการสรรหากรรมการคัดเลือกและตัดสิน สำหรับการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 52 นี้ คณะกรรมการประกอบด้วยศิลปินชั้นเยี่ยม นักวิชาการศิลปะ และศิลปินอิสระ จำนวน 13 ท่าน ดำเนินการคัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรม
สำหรับงบประมาณในการดำเนินการจัดแสดงงานแต่ละครั้ง ในยุคแรกนั้นได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคเอกชนอื่นๆ จนกระทั่งมาถึงการแสดงงานในครั้งที่ 28 บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้เป็นผู้ให้การสนับสนุนมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้การสนับสนุนรางวัลในการจัดซื้อผลงานศิลปกรรมจากผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ครั้งที่ 49 เป็นครั้งแรก และได้สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งในการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเช่นกัน
การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2505 เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นครั้งแรกและในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพฝีพระหัตถ์ให้อัญเชิญเข้าร่วมเป็นครั้งแรก และก็ยังพระราชทานภาพผลงานฝีพระหัตถ์ให้อัญเชิญเข้าร่วมแสดงด้วยทุกครั้ง
รายชื่อศิลปินที่ได้รับรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |