ข้ามไปเนื้อหา

วินโดวส์ 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วินโดวส์เซเว่น)
วินโดวส์ 7
110
เว็บไซต์วิกิพีเดียบนวินโดวส์ 7
ผู้พัฒนาไมโครซอฟท์
ตระกูลระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์
รหัสต้นฉบับClosed source / Shared source
เผยแพร่สู่
กระบวนการผลิต
RTM: 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
Retail: 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552
รุ่นล่าสุด6.1 (build 7600.16385.090713-1255[1])
/ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 (2009-07-22)[2]
วิธีการอัปเดตWindows Update
แพลตฟอร์มIA-32, x86-64
ชนิดเคอร์เนลHybrid [ต้องการอ้างอิง]
สัญญาอนุญาตMS-EULA
รุ่นก่อนหน้าวินโดวส์วิสตา (2007)
รุ่นถัดไปวินโดวส์ 8 (2012)
เว็บไซต์ทางการเว็บไซต์ทางการ
สถานะการสนับสนุน
ยุติการสนับสนุนเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563
บทความในชุด

วินโดวส์ 7 (อังกฤษ: Windows 7 วินโดวส์เซเวน, วินโดวส์เจ็ด) เป็นซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ในสายวินโดวส์ สำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและมีเดียเซนเตอร์โดยวันออกจำหน่ายจริงยังไม่ได้ระบุไว้โดยจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์[3]ไมโครซอฟท์ได้มีการประกาศเปิดตัววินโดวส์ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ว่าการพัฒนาวินโดวส์ตัวนี้จะใช้เวลาสามปีให้หลังจากการวางจำหน่ายวินโดวส์ วิสตา[3]

คุณสมบัติใหม่ของวินโดวส์ตัวนี้จะมีจุดเด่นในส่วนของ รองรับระบบมัลติทัช มีการออกแบบวินโดวส์เชลล์ใหม่ และระบบเน็ตเวิร์กแบบใหม่ภายใต้ชื่อโฮมกรุ๊ป (HomeGroup) [4] ในขณะที่คุณสมบัติหลายส่วนในวินโดวส์รุ่นก่อนหน้าจะถูกนำออกไปได้แก่ วินโดวส์มูฟวีเมเกอร์ และ วินโดวส์โฟโตแกลเลอรี[5]

รุ่นทดสอบล่าสุดคือรุ่น 6.1.7100 (Windows 7 RC) ออกให้ทดสอบเมื่อ 30 เมษายน 2552 โดยในช่วงเวลาเดียวกันได้มีการแจ้งว่าผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากทางเว็บไมโครซอฟท์ มีโอกาสที่ผู้ให้บริการดาวน์โหลดสอดแทรกมัลแวร์หรือโทรจันมากับไฟล์ด้วย[6]

ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ได้จัดงานเปิดตัววินโดวส์ 7 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ แฟชันฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน[7]

มีผู้ใช้ Windows 7 หลายคนให้การขนานนาม Windows 7 ว่า "Windows 7 คือ Windows Vista ที่ทำสำเร็จ"

ประวัติการพัฒนา

[แก้]

เดิมวินโดวส์รุ่นหนึ่งที่ใช้ชื่อรหัสว่า "แบล็คคอมบ์" ได้ถูกวางแผนว่า จะเป็นวินโดวส์รุ่นถัดจากวินโดวส์เอกซ์พีและวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ในปี พ.ศ. 2543 โดยคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ถูกวางแผนจะให้มีในแบล็คคอมบ์นั้นมีอยู่มาก แต่ทว่าระหว่างนั้น ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเริ่มการพัฒนาวินโดวส์รุ่นหนึ่งที่มีชื่อว่า "ลองฮอร์น" (Longhorn) ในปี พ.ศ. 2546 ทำให้การพัฒนาแบล็คคอมบ์ต้องหยุดไปชั่วคราว[8] ในกลางปี พ.ศ. 2546 ลองฮอร์นได้รวมคุณลักษณะต่าง ๆ ซึ่งจะพัฒนาในแบล็คคอมบ์ด้วย แต่หลังจากที่ได้มีการพบข่าวว่า มีไวรัสคอมพิวเตอร์ในลักษณะของเวิร์มสามตัว ได้แก่ บลาสเตอร์ นาชี และโซบิก มีการโจมตีคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอกซ์พีและวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 บ่อยมาก ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546[9] ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องเปลี่ยนแผนการพัฒนาใหม่ โดยหยุดพักการพัฒนาลองฮอร์นไว้ก่อน แล้วมาพัฒนาเซอร์วิสแพ็คสำหรับวินโดวส์เอกซ์พีและวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ก่อน ทำให้การพัฒนาของวินโดวส์ลองฮอร์น ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น วินโดวส์วิสตานั้น ล่าช้าลง จนไมโครซอฟท์ตัดสินใจล้มเลิกการพัฒนาลองฮอร์นแบบเก่า และเริ่มการพัฒนาแบบใหม่แทน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 คุณลักษณะจำนวนมากถูกตัดออกไปจากวินโดวส์ลองฮอร์น[10] จากนั้น แบล็คคอมบ์ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เวียนนา ในต้นปี พ.ศ. 2549[11]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่า จะใช้ชื่อวินโดวส์รุ่นใหม่นี้ว่า วินโดวส์ 7[12][13] แต่การใช้ชื่อ "วินโดวส์ 7" นั้นก็ทำให้บางคนสับสนเช่นกัน[14] เนื่องจากวินโดวส์ 7 มีหมายเลขรุ่นเป็น 6.1 ซึ่งคล้ายกับหมายเลขรุ่นของวิสตามาก (6.0) และเพิ่มความเข้ากันได้กับโปรแกรมต่าง ๆ ที่ตรวจสอบเพียงหมายเลขรุ่นหลักเท่านั้น คล้ายกับวินโดวส์ 2000 และวินโดวส์เอกซ์พีที่ใช้หมายเลขรุ่นหลัก 5.x เหมือนกัน[15]

ความสามารถใหม่ในวินโดวส์ 7

[แก้]

วินโดวส์ 7 ได้เพิ่มความสามารถใหม่ ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งหน้าต่าง (Aero Snap) การแอบดูหน้าเดสก์ท็อป (Aero Peek) ฯลฯ หรือการปรับปรุงความสามารถจากรุ่นก่อนหน้า เช่นการปรับระดับการแจ้งเตือนของ User Account Control (UAC) ซึ่งแต่เดิมในวินโดวส์วิสตาจะไม่สามารถปรับระดับได้ การปรับปรุงระบบให้ระบบมีความเสถียรมากขึ้น ฯลฯ

การสิ้นสุดการสนับสนุน

[แก้]

ไมโครซอฟท์ได้หยุดการสนับสนุนวินโดวส์ 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2020 ซึ่งจะทำให้วินโดวส์ 7 ไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการอัปเดตซอฟต์แวร์จาก Windows Update ที่ช่วยปกป้องได้อีกต่อไป และผู้พัฒนาด้านอื่น ๆ จะเริ่มทยอยหยุดการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับวินโดวส์ 7

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Windows 7 and Windows Server 2008 R2 Officially RTM At Build Version 6.1.7600.16385". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 2009-07-23.
  2. http://windowsteamblog.com/blogs/windows7/archive/2009/07/22/windows-7-has-been-released-to-manufacturing.aspx
  3. 3.0 3.1 Foley, Mary J (20 July 2007). "Windows Seven: Think 2010". ZDNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-24. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  4. LeBlanc, Brandon (28 October 2008). "How Libraries & HomeGroup Work Together in Windows 7". Windows Team Blog. Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  5. LeBlance, Brandon (28 October 2008). "The Complete Windows Experience – Windows 7 + Windows Live". Windows Team Blog. Microsoft. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  6. Leaked copies of Windows 7 RC contain Trojan เก็บถาวร 2009-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คอมพิวเตอร์เวิลด์
  7. ไมโครซอฟท์นับถอยหลังสู่การเปิดตัววินโดวส์ 7 ในประเทศไทย 31 ตุลาคมนี้ http://www.arip.co.th/news.php?id=410230 เก็บถาวร 2010-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Lettice, John (October 24, 2001). "Gates confirms Windows Longhorn for 2003". The Register. สืบค้นเมื่อ March 5, 2008.
  9. Bill Goodwin (August 15, 2003). "Businesses are left reeling after a triple strike by Blaster, Nachi and the Sobig virus". Computer Weekly. TechTarget. สืบค้นเมื่อ March 20, 2016.
  10. Todd Bishop (August 28, 2004). "Microsoft cuts key Longhorn feature". Seattle Post-Intelligencer. Hearst Corporation. สืบค้นเมื่อ March 25, 2009.
  11. Thurrott, Paul (February 14, 2007). "Windows "7" FAQ". SuperSite for Windows. Penton Media. สืบค้นเมื่อ January 5, 2008.
  12. Fried, Ina (October 13, 2008). "Microsoft makes Windows 7 name final". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ October 13, 2008.
  13. "For Microsoft's Windows, 7th time's a charm". CBC News. October 2008. สืบค้นเมื่อ October 27, 2008.
  14. Alex Castle (October 15, 2008). "Microsoft Justifies Its Windows 7 Naming Decision". Maximum PC. สืบค้นเมื่อ November 18, 2009.
  15. Andrew. "Why Call it Windows 7?". worldstart.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-18. สืบค้นเมื่อ November 20, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]