ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง (อังกฤษ : Trang College of Agriculture and Technology  ) เป็นวิทยาลัยด้านการเกษตร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดตรัง โดยเปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ประกาศนียบีตรวิชาชีพ (ปวช.), ประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
สถาบันการอาชีวศึกษา
เกษตรภาคใต้
ชื่อย่อวษท.ตง. / T-CAT
คติพจน์สำนึกต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
สถาปนา17 กรกฎาคม พ.ศ. 2478
ผู้อำนวยการวิทยาลัยดร.ไชยสิทธิ์ กิจค้า
ที่ตั้ง
99 หมู่ที่ 7 ตำบลนาท่ามเหนือ
อำเภอเมืองตรัง
จังหวัดตรัง 92190
เว็บไซต์วษท.ตรัง

ประวัติ

[แก้]

 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง[1] แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่  17 กรกฎาคม พ.ศ. 2478  เป็นใช้ชื่อว่า "โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม" เปิดสอนหลักสูตรวิสามัญเกษตรกรรม

พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดตรังขึ้นใน โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม

พ.ศ. 2481 โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม  ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมตรัง  เปิดสอนระดับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม)   โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมปีที่ 4  เข้าศึกษาต่อ 2 ปี

พ.ศ. 2496 เปิดสอนระดับอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม)  โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม) และผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 3 (ม.3 เดิม)  เข้าศึกษาต่อ 2 ปี

พ.ศ. 2507 เปิดสอนระดับมัธยมตอนปลายสายอาชีพ  แผนกเกษตรกรรมโดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม)  และผู้ที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.6 เดิม)  เข้าเรียนต่อ 3 ปี  และงดรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาประถมปีที่ 4 (ป.4)  เข้าเรียนประโยคอาชีวศึกษาตอนต้น (เกษตรต้น)

พ.ศ. 2518 เปิดสอนหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.4,5)  แผนกเกษตรกรรมแทนหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ  แผนกเกษตรกรรม

พ.ศ. 2519 เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  แผนกเกษตรกรรม  โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพแผนกเกษตรกรรม (ม.ศ.6 เกษตรกรรม)

พ.ศ. 2520 โรงเรียนเกษตรกรรมตรัง  ได้รับการยกวิทยฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง  เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  แผนกเกษตรกรรม    แทนหลักสูตร ม.ศ.6 เกษตรกรรมและได้เปิดสอนการศึกษาพิเศษ(นอกระบบ)  ซึ่งหน่วยฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมเคลื่อนที่  และเปิดสอนหลักสูตรฝึกวิชาชีพเกษตรกรรม ระยะสั้นใน พ.ศ. 2521

พ.ศ. 2527 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) แผนกวิชาชีพเกษตรกรรมสาขาไม้ผล-ไม้ยืนต้น  และสาขาพืชไร่พ.ศ. 2531  เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพิเศษ (ปวช. พิเศษ) ตามโครงการอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชนบท (อศ.กช.) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท

พ.ศ. 2538 ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสิทธิไชยภักดีในวิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง  เพื่อดำเนินการสอนหลักสูตรภาคนอกเกษตรกรรม  โดยเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  ประเภทพาณิชยกรรมและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

พ.ศ. 2539 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตรกรรมตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต ภายใต้นโยบาย “เรียนฟรี  อยู่ประจำ  ทำโครงการ” พ.ศ. 2539  ของนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง  ได้รับการเปลี่ยนชื่อตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539  เป็น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง  ถึงปัจจุบัน

เปิดสอน

[แก้]

ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาพณิชยการ
  • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ

หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง

[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาทคโนโลยีภูมิทัศน์
  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ[2]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.