วิกิพีเดีย:ปัญหายูอาร์แอลภาษาไทย
การพิมพ์ URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทย
[แก้]หากคุณมีปัญหาจากการคลิกที่ลิงก์ภาษาไทยจากเว็บอื่น แล้วไม่เจอบทความ หรือมีปัญหาในการพิมพ์ URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทยนั้น อาจเป็นเพราะว่าเว็บเบราว์เซอร์ที่คุณใช้อยู่ไม่รองรับ URL ในรูปแบบยูนิโคด โดยจะแปลเป็นภาษาละตินแทน จึงทำให้มีปัญหาในการพิมพ์เว็บไซต์และใส่ชื่อบทความเป็นภาษาไทย เช่นหากพิมพ์ http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไทย นั้นจะไม่ไปหน้าภาษาไทยอย่างที่ควรจะเป็น.
วิธีแก้สำหรับไฟร์ฟอกซ์
[แก้]- พิมพ์
about:config
ในช่อง URL - ในช่อง Filter: ให้พิมพ์
network.standard-url
- ตั้งค่า network.standard-url.encode-utf8 เป็น true โดยคลิกขวาแล้วเลือก Toggle หรือดับเบิลคลิกที่รายการดังกล่าว
- ทดสอบด้วยการคัดลอก URL ดังนี้ไปเปิดในไฟร์ฟอกซ์: http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไทย
- หากไฟร์ฟอกซ์สามารถเปิดหน้าบทความภาษาไทย แสดงว่าได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ
[แก้]ถึงแม้ว่าการแก้ไขที่กล่าวมาด้านบน จะทำให้สามารถเรียกดูเว็บด้วย URL ภาษาไทยได้ แต่เมื่อเข้าไปที่หน้าเว็บสำเร็จแล้ว URL ในช่อง URL ก็จะกลับเป็น URL ที่ถูกเข้ารหัสอยู่ดี (ไม่ได้เป็นภาษาไทยเหมือนที่พิมพ์เข้าไป) เช่น
จะถูกแปลงเป็น
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การคัดลอก URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทย
[แก้]วิธีคัดลอก URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทย จาก location bar ของ Mozilla Firefox หรือ Google Chrome โดยไม่ให้มีการ encode เป็น %XX%XX ยาวๆ ให้ทำดังนี้, ในช่อง location bar ของ web browser ให้เคาะ space ท้าย URL หนึ่งครั้งก่อนคัดลอกออกมา. จากเดิมที่ URL ที่คัดลอกมาจะมีการ encode ยาวๆ เช่น,
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
ก็จะกลายเป็นภาษาไทยแบบสั้นๆ ดังนี้,
https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไทย
หมายเหตุ:
- สาเหตุที่สามารถใช้วิธีข้างต้นได้ เนื่องจาก Firefox จะไม่ encode URL ใน location bar ถ้าหาก URL ใน location bar นั้นถูกแก้ไขและยังไม่ได้มีการเคาะ enter.
- สำหรับ Firefox version 53 ขึ้นไป นอกเหนือจากวิธีข้างต้นแล้ว ยังสามารถแก้ไขด้วยการตั้งค่า browser.urlbar.decodeURLsOnCopy เป็น true ใน about:config[1]
- Internet Explorer หรือ Microsoft Edge ไม่จำเป็นต้องทำสิ่งใดเพิ่มเติม เนื่องจากไม่มีการ encode อยู่แล้ว.