ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (ดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:MUSIC)

โครงการวิกิที่เกียวข้อง: อัลบั้มเพลง, เพลง

หน้านี้เป็นหน้าแสดงรายละเอียดของเกณฑ์ความโดดเด่นของบทความในทางอุตสาหกรรมดนตรี ที่สามารถนำบทความลงวิกิพีเดียได้ โดยบทความในทางอุตสาหกรรมดนตรีนั้น รวมถึง บุคคลทางอุตสาหกรรมดนตรี ประกอบด้วย นักร้อง, นักบรรเลง, โปรดิวเซอร์, นักแต่งเพลง, วงดนตรี และบทความที่เกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ อัลบั้มเพลง, ซิงเกิล, เพลง, รายชื่อผลงานของศิลปิน เป็นต้น

หมายเหตุ หน้านี้เป็นเพียงแนวทางในการเขียนบทความในทางอุตสาหกรรมดนตรีสำหรับผู้ใช้เท่านั้น เกณฑ์ต่างๆที่กำหนดในหน้านี้ไม่มีผลต่อการลบบทความ อย่างไรก็ตาม หากบทความนั้นไม่สามารถระบุความสำคัญของบทความ หรือความโดดเด่นประการอื่นนอกเหนือจากเกณฑ์ด้านล่างนี้ ก็สามารถได้รับพิจารณาจากผู้ใช้คนอื่นให้แจ้งลบบทความได้

ในส่วนของบทความที่ไม่มีความสมบูรณ์ และไม่สามารถบ่งบอกถึงความสำคัญหรือความโดดเด่นของบทความได้ มิได้หมายความว่าจะถูกลบเช่นกัน บทความนั้นจะได้รับการวางป้าย {{โครงดนตรี}} และ/หรือ {{เก็บกวาดอัลบั้มเพลง}} เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นๆที่มีข้อมูลเกี่ยวกับบทความดังกล่าว ร่วมกันแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าเป็นบทความที่สมบูรณ์ในด้านองค์ประกอบเนื้อหา แต่หากไม่มีความสำคัญ หรือความโดดเด่น ก็อาจได้รับการพิจารณาจากผู้ใช้คนอื่นๆเช่นกัน

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ความโดดเด่นของบทความเกี่ยวกับบุคคลในทางอุตสาหกรรมดนตรี รูปแบบการเขียนสามารถศึกษาได้จากบทความนักร้อง, วงดนตรี ที่ได้รับการพิจารณาเป็นบทความคัดสรร หรือบทความคุณภาพ รวมถึงการใช้วิจารณญาณในการพิจารณาความโดดเด่นของบทความดังกล่าวโดยผู้ใช้เอง

เกณฑ์สำหรับบทความเกี่ยวกับนักดนตรี

[แก้]

นักดนตรีหรือกลุ่มดนตรี (มีความหมายถึง วงดนตรี นักร้อง แร็ปเปอร์ วงออร์เครสตรา ดีเจ กลุ่มแสดงละครเพลง ฯลฯ) อาจมีความโดดเด่นหากผ่านเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  1. เป็นประเด็นพูดถึงในสื่อสำคัญที่เผยแพร่ผลงาน ที่แหล่งที่มาไม่ได้มาจากตัวนักดนตรี กลุ่มนักดนตรีและมีความเชื่อถือได้
    • เกณฑ์ในข้อนี้รวมในสื่อทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ หนังสือ บทความในนิตยสาร สื่อออนไลน์ของสิ่งพิมพ์ และสารคดีโทรทัศน์ ยกเว้น
      • ข้อความบทความแถลงข่าว ที่เผยแพร่เกี่ยวกับนักดนตรีหรือวงดนตรีที่พูดเกี่ยวกับตัวพวกเขาเอง และโฆษณาของนักดนตรีหรือกลุ่มดนตรี รวมถึงโฆษณาจากทางผู้ผลิตเอง
      • งานที่รวมถึงเนื้อหาไม่สำคัญ อย่างเช่นบทความ ที่เพียงแค่รายงานวันในการแสดง วันออกจำหน่าย รายชื่อเพลง หรือในสารบัญรายชื่อ
      • ข้อความจากหนังสือพิมพ์โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย (หรือในทำนองเดียวกัน) ถือว่าไม่สำคัญ แต่อาจประเมินเป็นกรณีไป
  2. มีเพลงติดอยู่บนชาร์ตเพลงหรืออัลบั้ม บนชาร์ตในระดับประเทศหรือนานาชาติ จากสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
  3. มีเพลงหรืออัลบั้มได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ (certified gold) อย่างน้อยใน 1 ประเทศ
  4. ได้มีการรายงานข่าวสำคัญจากสื่อที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับทัวร์คอนเสิร์ตระหว่างประเทศ หรือทัวร์คอนเสิร์ตระดับประเทศ อย่างน้อย 1 ประเทศ
  5. ออกผลงานอัลบั้มมากกว่า 2 อัลบั้มจากสังกัดค่ายใหญ่หรือหนึ่งในนั้นมาจากค่ายอิสระที่สำคัญ (อย่างเช่น ค่ายเพลงอิสระที่มีประวัติการออกผลงานหลายปี และมีทะเบียนรายชื่อผู้แสดง หรือมีศิลปินที่เป็นที่รู้จักอยู่มาก)
  6. เป็นกลุ่มที่มีนักดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากกว่า 2 คน หรือนักดนตรี 1 คน เป็นสมาชิกของกลุ่มดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากกว่า 2 วง
  7. เป็นผู้นำ เป็นที่โดดเด่นและรู้จักในสไตล์เพลงหนึ่ง หรือเป็นที่โดดเด่นของดนตรีประจำเมือง ในที่นี้ต้องเข้าหลักเกณฑ์ของวิกิพีเดียด้วย เช่นความน่าเชื่อถือ
  8. ได้รับรางวัลหรือได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลทางดนตรี อย่างเช่น รางวัลแกรมมี รางวัลจูโน รางวัลเมอร์คิวรี รางวัลชอยซ์ รางวัลเอ็มทีวี เป็นต้น
  9. ได้รับรางวัลหรือเป็นผู้ชนะในการแข่งขันทางด้านดนตรีที่สำคัญ (รองชนะเลิศและอันดับอื่น ยังไม่ถือว่าผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นโดยทันที)
  10. มีผลงานดนตรีกับทางสื่อที่เป็นที่รู้จัก เช่น สถานีดนตรี (เช่นแสดงในงานแจกรางวัล) ผลงานในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ (ผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์) มีผลงานอยู่ในอัลบั้มรวมเพลงที่เป็นที่รู้จัก เป็นต้น (แต่ถ้าสิ่งนี้เป็นเพียงสิ่งเดียวในการอ้างแล้ว ควรจะมีการกล่าวถึงในบทความหรือโยงไปที่ตัวบทความด้วย)
  11. มีการเปิดทางสถานีวิทยุระดับประเทศและสถานีโทรทัศน์ดนตรี โดยทั่วไปการเปิดขั้นต่ำคือ 5-15 ครั้งต่ออาทิตย์ต่อสถานี
  12. มีการเอ่ยถึงทางรายการของสถานีโทรทัศน์หรือสถานีวิทยุมากกว่าครึ่งชั่วโมง

หมายเหตุ สมาชิกของวง (ที่ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น) จะไม่เขียนแยกออกมา จนกว่าสมาชิกวงคนนั้นจะผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นของตัวเอง เช่น การออกผลงานเดี่ยว มีอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือจากหลากหลายแหล่ง ส่วนนักร้องและนักดนตรีที่โด่งดังเพียงจากการร่วมในรายการเรียลลิตี อาจพิจารณาเปลี่ยนทางไปที่หน้ารายการเรียลลิตีนั้น จะเริ่มเขียนเป็นบทความก็ต่อเมื่อผ่านความโดดเด่นด้านบน

เกณฑ์สำหรับบทความเกี่ยวกับนักประพันธ์เพลง

[แก้]
  1. ได้รับเครดิตในการเขียนหรือร่วมเขียนไม่ว่าจะเป็นเนื้อเพลงหรือดนตรีในเพลงที่เป็นที่รู้จัก
  2. ประพันธ์เพลงของละครเพลง (ไม่ว่าจะเพลง หรือ โอเปร่า) ที่แสดงในโรงละครที่มีชื่อเสียง ที่มีเหตุผลเพียงพอโดยตัดสินจากเหตุการณ์และเวลา
  3. มีผลงานที่ถือเป็นพื้นฐานต่อผลงานเพลงอื่นในเวลาต่อมา โดยนักประพันธ์เพลง นักเขียนเพลง คนเขียนเนื้อเพลง (ที่ต้องเข้าหลักเกณฑ์เช่นกัน)
  4. เขียนเพลงหรือประพันธ์ดนตรีที่ได้รับรางวัล (หรือในบางกรณีหากเป็นการจัดอันดับ อาจเป็นที่ 2 หรืออันดับรองลงมาที่สำคัญ) ในการประกวดแข่งขันดนตรีที่สำคัญ ที่มิใช่จัดขึ้นเพื่อค้นหาหน้าใหม่โดยเฉพาะ)
  5. มีชื่ออยู่ในการเป็นอิทธิพลหรืออาจารย์ของนักประพันธ์ (ที่ต้องเข้าหลักเกณฑ์เช่นกัน)
  6. มีชื่อในหนังสืออ้างอิงมาตรฐานในความยาวที่มีเหตุผลในการกล่าวถึงแนวเพลงของเขา พวกเขา

เกณฑ์สำหรับบทความเกี่ยวกับอัลบั้มเพลง, เพลง และซิงเกิล

[แก้]

บทความอัลบั้มเพลง/เพลงที่มีในวิกิพีเดียภาษาไทย ต้องผ่านเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

  1. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่มีอันดับบนชาร์ต หรืออัลบั้มที่มีเพลงในอัลบั้มมีอันดับบนชาร์ต โดยเพลง/อัลบั้มภาษาไทย ให้ใช้ชาร์ตระดับจังหวัดขึ้นไป เพลง/อัลบั้มสากล ให้ใช้ชาร์ตระดับประเทศ หรือระดับสากล
  2. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่ได้รับ/เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในระดับประเทศ หรือสากล จากสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
  3. เป็นอัลบั้มของนักร้องที่มีชื่อเสียง อาทิ เป็นนักร้องที่ได้รับเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลด้านดนตรี เป็นต้น
  4. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่มีการกล่าวถึง หรือวิพากษ์วิจารณ์โดยสื่อที่เป็นกลาง อาจอยู่ในรูปแบบนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่น ๆ ทั้งนี้ไม่รวม
    1. หนังสือพิมพ์ในระดับโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย
    2. ผลงานการตีพิมพ์โดยศิลปินเจ้าของอัลบั้ม หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของอัลบั้ม
  5. เป็นอัลบั้ม/เพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ (certified gold) อย่างน้อยใน 1 ประเทศ
  6. เป็นเพลง/อัลบั้มที่มีเพลงในอัลบั้ม นำมาใช้ประกอบสื่อ อาทิ เป็นเพลงประกอบโฆษณา/โทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่น
  7. บทความเพลง จะไม่เขียนแยกออกมา จนกว่าเพลงนั้นมีความโดดเด่น อย่างติดอันดับเพลงบนชาร์ตที่มีชื่อเสียง เพลงได้รับรางวัลจากสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ หรือถูกนำมาทำใหม่โดยศิลปินอื่นหลายศิลปิน หรือเป็นเพลงที่ถูกกล่าวถึงในสื่อที่น่าเชื่อถือ นอกจากประเด็นความโดดเด่นแล้ว บทความเพลงที่แยกออกไปจะต้องมีข้อมูลอ้างอิงที่พิสูจน์ตรวจสอบได้อย่างเพียงพอ บทความที่เป็นโครงสั้น ๆ ไม่มีสาระเพียงพอ หรือมีแต่รายชื่อ จะถูกรวมกับบทความศิลปินหรืออัลบั้ม หรือลบ

ทัวร์คอนเสิร์ต

[แก้]

ทัวร์คอนเสิร์ตอาจมีความโดดเด่นหากได้รับการกล่าวถึงอย่างโดดเด่นจากแหล่งข้อมูลอิสระหลาย ๆ แหล่ง โดยมีข้อมูลเชิงลึกที่กล่าวถึงงานอย่างโดดเด่นในแง่ของการทำงานคอนเสิร์ต ความประสบความสำเร็จด้านรายได้ การกล่าวถึงกลุ่มผู้ชม และอื่น ๆ หากแหล่งข้อมูลปรากฏแต่เพียงว่ามีงานนั้นเกิดขึ้นจริง ก็ยังไม่มีความโดดเด่นเพียงพอ คอนเสิร์ตที่ไม่สามารถให้อ้างอิงทุติยภูมิได้อย่างเพียงพอ ควรใส่เนื้่อหาเหล่านี้ในหน้าของศิลปินแทนที่จะสร้างหน้าขึ้นมาใหม่ และการที่ทัวร์หนึ่งของศิลปินผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น ไม่ได้หมายถึงทุกทัวร์ของศิลปินนั้นจะมีความโดดเด่นด้วย

หากไม่ผ่านเกณฑ์

[แก้]

จะไม่เขียนบทความแยกออกมา เป็นบทความบุคคล วงดนตรี หรือผลงานเพลง หากไม่ผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นดังกล่าว หรือผ่านเกณฑ์ความโดดเด่นทั่วไป ถึงอย่างไรก็ตามหากบุคคลนั้นผ่านเกณฑ์ดังกล่าว แต่ผู้เขียนไม่สามารถหาแหล่งอ้างอิงอิสระที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ก็ไม่ควรเขียน เป้าหมายของวิกิพีเดียคือไม่เขียนบทความที่มีเนื้อหาเพียงเล็กน้อยที่ไม่ได้ให้ข้อมูลแบบสารานุกรม หรือไม่เขียนบทความเพื่อประชาสัมพันธ์ตัวเองโดยส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลต่าง ๆ อาจเขียนรวมกับบทความในวิกิพีเดียบทความอื่นได้ เนื้อหาของนักดนตรี กลุ่ม หรืองานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ อาจคงให้เขียนในประเด็นที่สำคัญรวมกับบทความอื่น พิจารณาได้ดังนี้

  • มีการให้ข้อมูลรายละเอียดที่เหมาะสมและสำคัญต่อบทความ
  • หลีกเลี่ยงข้อมูลประชาสัมพันธ์
  • ให้ข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ จากแหล่งอ้างอิงอิสระ

ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกของวงดนตรี โดยทั่วไปจะรวมกับบทความวง เพลงต่าง ๆ อาจอธิบายในบทความรายชื่อผลงาน การเปลี่ยนทางชื่อหัวข้อและการสร้างบทความแก้ความกำกวมเป็นการช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อมูลได้