ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:หมวดหมู่ รายการ และแม่แบบนำทาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:CLNT)

วิกิพีเดียมีวิธีจัดกลุ่มบทความหลายวิธี ได้แก่ หมวดหมู่ บทความรายการ (รวมทั้งรายการไอเท็ม เช่นเดียวกับบทความอภิธานศัพท์ ดัชนีและลำดับเวลาตามหัวข้อ) รายการอื่นรวมทั้งรายการฝังตัว และแม่แบบนำทาง (ซึ่งซีรีย์บทความเป็นประเภทหนึ่ง) การจัดกลุ่มบทความด้วยวิธีหนึ่งแล้วไม่ได้กำหนดให้หรือห้ามการใช้วิธีอื่น แต่ทุกวิธีจัดระเบียบสารสนเทศมีข้อดีและข้อเสียของตัวเอง และใช้กับส่วนใหญ่โดยไม่ขึ้นกับวิธีอื่นที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรฐานซึ่งมีการพัฒนาบนวิกิพีเดียสำหรับแต่ละระบบ

เหตุฉะนี้ วิธีการทั้งสามจึงไม่ควรพิจารณาว่าขัดแย้งกัน แต่ทั้งหมดเสริมกัน ตัวอย่างเช่น เนื่องจากผู้เขียนมีลีลาต่างกัน บ้างชอบรวบรวมรายการ บ้างชอบสร้างหมวดหมู่ ทำให้มีการรวบรวมลิงก์สองวิธีต่างกัน แนวทางดังกล่าวทำให้มีระบบการนำทางวิกิพีเดียโดยใช้ลิงก์สองวิธีหลัก ดูรายการเลือกนำทางที่บนสุดของ หมวดหมู่:หมวดหมู่วิกิพีเดีย ผู้ใช้หลายคนนิยมค้นดูวิกิพีเดียผ่านรายการ บ้างนิยมนำทางด้วยหมวดหมู่ และรายการมักชัดเจนกว่าสำหรับผู้เริ่มใหม่ที่อาจยังไม่พบระบบหมวดหมู่ในทันที ฉะนั้น "ค่ายหมวดหมู่" จึงไม่ควรลบหรือยุบรายการของวิกิพีเดีย และ "ค่ายรายการ" ไม่ควรทำลายระบบหมวดหมู่ของวิกิพีเดียเช่นกัน แต่ทั้งสองควรใช้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อปรับระบบให้ไปพร้อมกัน

ขณะเดียวกันอาจมีบางกรณีที่มีความเห็นพ้องกำหนดว่าวิธีการนำเสนอสารสนเทศอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นอาจไม่เหมาะสมกับวิกิพีเดีย ตัวอย่างเช่น การจัดหมวดหมู่มากเกิน (overcategorization) มีบางสถานการณ์ที่ตัดสินแล้วว่าไม่ควรใช้หมวดหมู่ บางหมวดหมู่ถูกลบเพราะมีลักษณะเหมือนรายการ (listify) เพราะกรณีเหล่านี้ใช้รายการเหมาะสมกว่าหมวดหมู่

หมวดหมู่ รายการและแม่แบบนำทางทับซ้อนกันไม่ถือว่าซ้ำซ้อน

[แก้]

ไม่ใช่เรื่องไม่เหมาะสมหรือผิดปกติที่จะมีหมวดหมู่ รายการและแม่แบบนำทางที่ครอบคลุมหัวข้อเดียวกัน ระบบการจัดระเบียบสารสนเทศทั้งสามถือว่าส่งเสริมกัน ยิ่งไปกว่านั้น ไม่ควรให้เหตุผลการลบหมวดหมู่ว่าซ้ำซ้อนกับรายการ หรือระบุว่ารายการซ้ำซ้อนกับหมวดหมู่

เมื่อพิจารณาว่ารายการอาจมีคุณลักษณะที่หมวดหมู่ไม่มี และการสร้างรายการลิงก์ที่ยังไม่เติบโตเต็มที่เป็นขั้นตอนที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงรายการ การลบรายการที่ยังไม่เติบโตเต็มที่เหล่านี้เป็นการสูญเสียวัตถุก่อสร้าง และเป็นการกดดันผู้สร้างรายการโดยไม่จำเป็นให้ผูกมัดความพยายามตั้งแต่แรกเพิ่มขึ้นเมื่อใดที่พวกเขาต้องการสร้างรายการใหม่ ซึ่งอาจทำให้ท้อใจได้ การตัดสินว่าควรสร้างรายการดีหรือไม่ไม่ขึ้นอยู่กับว่ามีหมวดหมู่ว่าด้วยหัวข้อเดียวกันหรือไม่

หมวดหมู่

[แก้]

เมื่อเปรียบเทียบกับรายการ หมวดหมู่อาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ตัวอย่างของหน้าหมวดหมู่ ทุกหน้าในเนมสเปซบทความควรมีอย่างน้อยหนึ่งหมวดหมู่ หมวดหมู่ควรเป็นหัวข้อหลักที่น่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบทความ

บทความ: ภราดร ศรีชาพันธุ์
หมวดที่มีประโยชน์: หมวดหมู่:นักเทนนิสชาวไทย
ไม่มีประโยชน์: หมวดหมู่:ชาวไทยที่ชื่อขึ้นต้นด้วย ภ. สำเภา

ก่อนสร้างหมวดหมู่ ควรถามตัวเองด้วยคำถามสองคำถามด้านล่าง หากคำตอบของคำถามทั้งสองนี้คือ "ไม่" ก็ไม่ควรสร้างหมวดหมู่

  • จะเขียนเรื่องราวที่อธิบายชื่อบทความนั้นได้ความยาวเกิน 1 ย่อหน้าหรือไม่
  • หากคุณไปที่บทความจากหมวดหมู่มันจะชัดเจนหรือไม่ว่าทำไมบทความจึงอยู่ในหมวดหมู่ดังกล่าว หัวข้อหมวดหมู่มีการกล่าวถึงอย่างเด่นชัดในบทความหรือไม่

บทความหนึ่งมักอยู่ในหลายหมวดหมู่ ทว่า ควรใช้การยับยั้งชั่งใจด้วย เพราะหมวดหมู่จะมีประสิทธิภาพน้อยลงยิ่งถ้าบทความหนึ่งมีหมวดหมู่จำนวนมาก

ปกติบทความไม่ควรอยู่ในหมวดหมู่และหมวดหมู่ย่อยของมันพร้อมกัน เช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ อยู่ใน หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ จึงไม่ควรอยู่ในหมวดหมู่:ซอฟต์แวร์ ยกเว้นเมื่อบทความนิยามหมวดหมู่เช่นเดียวกับอยู่ในหมวดหมู่ชั้นสูงขึ้นไป เช่น รัฐโอไฮโอ อยู่ในหมวดหมู่:รัฐของสหรัฐ และ หมวดหมู่:รัฐโอไฮโอ (วิธีที่ดีในการทำความเข้าใจข้อยกเว้นนี้คือถ้ามีบทความแล้วหมวดหมู่สร้างบนหัวเรือ่งเดียวกันกับบทความ ไม่ควรทำให้บทความถูกลบออกจากหมวดหมู่ของมันทุกหมวด)

ควรพิจารณาข้อยกเว้นเมื่อหัวเรือ่งบทความมีความเกี่ยวข้องกับหมวดหมู่แม่ที่ไม่แสดงด้วยบทนิยามของหมวดหมู่ย่อยด้วย ตัวอย่างเช่น

ควรพิจารณาข้อยกเว้นเมื่อหัวเรื่องของบทความมีความเกี่ยวข้องกับหมวดหมู่หลักที่ไม่ได้แสดงตามคำจำกัดความของหมวดหมู่ย่อย ตัวอย่างเช่นถ้า หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นหมวดหมู่ย่อยเดียวใน หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส จะไม่สมเหตุสมผลหากจะถอดชื่อบุคคลสำคัญในการปฏิวัติฝรั่งเศสออกเพียงเพราะวิธีการเสียชีวิตของพวกเขา

หมวดหมู่ปรากฏโดยไม่มีคำอธิบายประกอบ ฉะนั้นระวังเรื่องมุมมองที่เป็นกลาง (NPOV) เมื่อสร้างหรือเติมบทความเข้าหมวดหมู่ หากไม่ปรากฏชัดในตัวเองและเป็นที่ถกเถียงกันว่าบทความนั้นควรอยู่ในหมวดหมู่หนึ่ง ๆ หรือไม่ ก็ไม่ควรใส่บทความเข้าหมวดหมู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทความบุคคล

ข้อยกเว้นสำหรับกฎข้างต้นคือ หมวดหมู่:การบำรุงรักษาวิกิพีเดีย ซึ่งมีหมวดหมู่ที่ตั้งใจให้เป็นหมวดหมู่ชั่วคราว

ทุกหมวดหมู่ควรเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่อื่น คุณสามารถเริ่มตั้งแต่ลำดับชั้นหมวดหมู่บนความบนสุดที่ หมวดหมู่:การจำแนกหัวข้อหลัก หากคุณคิดว่าอาจมีหมวดหมู่พ่อแม่ดีแล้วแต่หาเองไม่เจอ คุณสามารถใส่ป้ายระบุ {{ต้องการหมวดหมู่}} หมวดหมู่ของคุณจะแสดงที่

หมวดหมู่มีแป้นเรียงลำดับเหมือนกับหน้าอื่น แม้มีใช้ในรูปแบบที่ยืดหยุ่นมากกว่า

ข้อดีของหมวดหมู่

[แก้]
  1. ลิงก์อัตโนมัติ สร้างลิงก์ไปหมวดหมู่ทางหน้าบทความ แล้วลิงก์สมนัยไปบทความนั้นจะเห็นได้จากหน้าหมวดหมู่
  2. การนำทางแบบหลายทิศทาง หมวดหมู่หนึ่งมีหมวดหมู่ย่อยได้หลายหมวด และยังสามารถเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหมู่ได้หลายหมวดเช่นกัน หมวดหมู่จัดระเบียบภายในวิกิพีเดียเป็นเครือข่ายความรู้เริ่มจาก หมวดหมู่:หมวดหมู่วิกิพีเดีย
  3. ดีสำหรับการค้นดูเพื่อสำรวจวิกิพีเดีย
  4. มีความเสี่ยงต่ำต่อลิงก์สแปมภายนอกเมื่อเทียบกับหน้าประเภทอื่น เนื่องจากบทความวิกิพีเดียเท่านั้นที่เป็นสมาชิกของหมวดหมู่ได้
  5. ไม่ค่อยขัดขวางการไหลของบทความ
  6. การค้นหาสามารถใช้ตัวแปรเสริม incategory เพื่อให้ไม่รวมหรือรวมหน้าทั้งหมดในหมวดหมู่นั้น ไม่รวมหมวดหมู่ย่อย แต่สามารถเพิ่มคำค้นได้หลายคำ

ข้อเสียของหมวดหมู่

[แก้]
  1. ไม่สามารถแก้ไขเพิ่มหรือลบรายการได้โดยตรง ต้องจัดการที่ท้ายของแต่ละบทความแทน
  2. ไม่ให้บริบทสำหรับรายการใด ๆ รวมทั้งไม่มีการขยายความ คือ มีให้เฉพาะชื่อบทความเท่านั้น นั่นคือ การแสดงรายการไม่สามารถให้คำบรรยายเพิ่มเติม (คำอธิบายหรือความเห็น) รวมทั้งอ้างอิง
  3. ไม่มีข้อกำหนดสำหรับการอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ยืนยันว่าหัวข้อหนึ่งเข้าเกณฑ์การรวมหมวดหมู่หรือไม่
  4. หน่วยเรียงตามลำดับพยัญชนะเท่านั้น (แม้ว่าคุณพอจะสามารถควบคุมการจัดเรียงพยัญชนะได้) ไม่สามารถจัดระเบียบเป็นส่วนหรือส่วนย่อยในหน้าเดียว ที่มีบทนำอธิบายได้
  5. บำรุงรักษาได้ยาก
    1. หมวดหมู่ที่มีรายการหลายร้อยรายการไม่สามารถย้ายได้ ยกเว้นแก้ไขบทความทั้งหมดนั้น (แม้อาจให้บอตช่วยได้)
    2. การเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงหมวดหมู่ทำได้ยาก เพราะประวัติการแก้ไขของหมวดหมู่ไม่แสดงว่ามีการเพิ่มหรือลบหน่วยออกจากหมวดหมู่เมื่อใด ฉะนั้นจึงไม่มีวิธีง่ายในการบอกเมื่อมีการลบบทความออกจากหมวดหมู่ คือ บทความจะหายไปจากหมวดหมู่ราวกับไม่เคยมีมาก่อน คุณลักษณะรายการเฝ้าดูของวิกิพีเดียพอทำให้ผู้ใช้เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงสมาชิกของหมวดหมู่ได้
  6. ไม่รองรับการเฝ้าติดตามรูปแบบอื่น เช่น การเพิ่มลิงก์แดง (ลิงก์แดงมีประโยชน์เป็นตัวชี้ช่องว่างและเป็นตัวเตือนความจำงานในการสร้างบทความเหล่านี้) อย่างไรก็ตามยังสามารถเพิ่มโครงใส่หมวดหมู่ได้
  7. สามารถใส่ชื่อทางเลือกของรายการเดียวกันเฉพาะด้วยการรวมหน้าเปลี่ยนทางในหมวดหมู่เท่านั้น
  8. สำหรับผู้ใช้ใหม่ อาจไม่ชัดเจนว่ามีฟังก์ชันหมวดหมู่อยู่ วิธีการเพิ่มรายการ วิธีลิงก์หมวดหมู่ใหม่เข้ากับหมวดหมู่เดิม หรือวิธีจัดการกับความกังวลเรื่องมุมมองที่เป็นกลาง
  9. หมวดหมู่จะไม่แสดงในมุมมองอุปกรณ์เคลื่อนที่
  10. การแสดงรายการในหมวดหมู่นั้นจำกัดไว้ที่ 200 รายการต่อหน้า หากต้องการดูเนื้อหาสมบูรณ์ของแม่แบบจะต้องดูหลายหน้า

รายการ

[แก้]

เมื่อเปรียบเทียบกับหมวดหมู่ รายการอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ตัวอย่างรายการ: รายชื่อสายพันธุ์หมา

ข้อดีของรายการ

[แก้]
  1. ดีสำหรับการค้นดูแบบสำรวจวิกิพีเดีย
  2. มักครอบคลุมมากกว่า เพราะแต่ละรายการมีการบำรุงรักษามาจากตำแหน่งศูนย์กลาง (ที่หน้าเอง)
  3. สามารถจัดรูปแบบได้หลายวิธี เพื่อปรับปรุงการนำเสนอเนื้อหาของรายการ
    • ตัวอย่างเช่น ลำดับชั้นหลายระดับอาจรวมอยู่ในรายการ หรือรายการอาจมีหลายคอลัมน์ ซึ่งแต่ละคอลัมน์สามารถเป็นพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ในการเรียงลำดับรายการ
  4. สามารถสร้างและดูแลโดยการแก้ไขหน้าเดียว ขณะที่การกรอกหมวดหมู่ต้องมีการแก้ไขหลายหน้า
  5. สามารถตกแต่งด้วยคำอธิบายประกอบ (รายละเอียดเพิ่มเติม)
    • ตัวอย่างเช่นรายชื่อทีมฟุตบอลชิงแชมป์โลกสามารถใส่รายละเอียดได้ว่าชนะแชมป์ใดบ้าง ชนะทีมใดในรอบชิงชนะเลิศ ใครเป็นโค้ช ก็ได้
  6. รวมอยู่ในการค้นหาวิกิพีเดีย ด้วยเหตุว่าอยู่ในเนมสเปซหลัก รายการจึงรวมอยู่ในการค้นหาวิกิพีเดียโดยปริยาย นอกจากนี้ ยังค้นเนื้อหาจากกูเกิลหรือเสิร์ชเอนจินอื่นได้ด้วย
  7. สามารถใส่แหล่งอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลการใส่บทความในรายการได้
  8. สามารถใส่รายการที่ยังไม่มีลิงก์ได้ (หมายถึง ทำลิงก์แดง)
  9. สามารถเรียงลำดับรายการเองได้โดยมีหลายวิธี บทความอาจปรากฏหลายครั้งหรือในแบบต่างกันในรายการเดียวกันได้
  10. รายการสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความได้
  11. สามารถใส่ลิงก์ที่มองไม่เห็นไปยังหน้าอภิปราย เพื่อให้การคลิกที่ "การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวโยง" รวมหน้าเหล่านั้น (รูปแบบ: จักษุวิทยา ); ตวรายการเองสามารถใส่ได้โดยลิงก์เข้าหาตวเอง เช่น โดยการลิงก์วลีตัวเส้นหนาในส่วนนำ
  12. มือใหม่แก้ไขได้ง่าย ที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับภาษามาร์กอัพวิกิ
  13. ใส่ภาพได้
  14. สามารถใส่แม่แบบ (อย่างกล่องนำทาง) เป็นส่นหนึ่งของรายการ
  15. รายการฝังตัวสามารถใส่หน่วยที่ไม่สำคัญเพียงพอแยกเป็นบทความของตัวเองได้ แต่ยังมีความสำคัญเพียงพอใส่รวมอยู่ในรายการ

ข้อเสียของรายการ

[แก้]
  1. ไม่มีลิงก์อัตโนมัติ ทุกบทความเชื่อมโยงไปยังหมวดหมู่ในทางเดีวกัน แต่อาจพบรายการได้ยากกว่าพราะไม่ใช่ทุกบทความที่อยู่ในรายการลิงก์มายังรายการดังกล่าว การพยายามบังคับให้ลิงก์ข้ามจากบทความในหมวดหมู่เสี่ยงต่อข้อผิดพลาด ทให้การแก้ไขรายการเป็นงานหนัก
  2. ลำดับชั้นที่ครอบคลุมน้อยกว่า ระบบหมวดหมู่มีลำดับชั้นที่กว้างขวางและลงรายละเอียดเพื่ออำนวยความสะดวกการค้นดูโดยเพิ่มการกำหนดลักษณะมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนรายการของรายการค่อนข้างพบน้อยและไม่ได้ซ้อนในหลายชั้นนัก
  3. การประมวลผลอัตโนมัติที่ซับซ้อน รายการประมวลผลอัตโนมัติด้วยบอตได้ยากกว่า เพราะอาจมีร้อยแก้วที่มีลิงก์ไปรายการที่ไม่อยู่ในรายการเอง และมีความจำเป็นต้องแจงส่วนข้อความวิกิหน้าเพื่อดึงลิงก์ในรายการแทนการใช้เอพีไอพิเศษเหมือนกับหมวดหมู่
  4. ไม่มีการเรียงลำดับอัตโนมัติ ผู้แก้ไขต้องกำหนดด้วยตนเองว่าหน่วยนั้นอยู่ที่ใดในรายการ และเพิ่มเอง บ่อยครั้งผู้เขียนจะเพิ่มรายการใหม่ต่อท้ายสุดบทความ ซึ่งลดประสิทธิภาพของรายการ สามารถลดข้อเสียนี้ได้โดยการใส่รายการในตารางเรียงลำดับได้
  5. อาจติดปัญหาหน่วยที่ไม่สามารถหาแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และไม่ผ่านเกณฑ์การรวบรวมในสารานุกรม
  6. บางหัวข้อกว้างเสียจนรายการจะยาวจนจัดการไม่ได้และไม่สามารถดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ตัวอย่างเช่น รายชื่อชาวไทยทุกคนที่มีบทความวิกิพีเดีย

แม่แบบนำทาง

[แก้]

แม่แบบนำทางเป็นการจัดกลุ่มลิงก์ที่ใช้ในบทความที่เกี่ยวข้องหลายบทความเพื่ออำนวยความสะดวกการนำทางระหว่างบทความเหล่านี้ในวกิพีเดีย ปกตินำเสนอในสองรูปแบบ

  • แม่แบบแนวนอนที่อยู่ท้ายบทความ เรียก กล่องนำทาง (navbox)
  • แม่แบบแนวตั้งซึ่งมักพบอยู่มุมขวาบนของบทความ เรียก แถบข้าง (sidebar)

เอกสารประกอบมาร์กอัพวิกิสำหรับแม่แบบนำทางที่ระดับการเจาะจงต่างกัน ได้แก่ แม่แบบ:Navbox/doc, แม่แบบ:Sidebar/doc และที่ด้านบนหรือล่างของแม่แบบ ดู แม่แบบ:Navbar/doc

แต่ละลิงก์ควรระบุได้อย่างชัดเจนเช่นนี้กับผู้อ่าน โดยทั่วไปสีข้อความควรสอดคล้องกับค่าเริ่มต้นสีข้อความของวิกิพีเดีย ดังนั้นลิงก์ควรเป็น สีน้ำเงิน ลิงก์ตายควรเป็น สีแดง ไม่ควรใช้สีแดงและน้ำเงินสำหรับข้อความอื่น (ที่ไม่ใช่ลิงก์)

แม่แบบนำทางมีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับกลุ่มบทความขนาดเ็กและนิยามอย่างดี ทั้งนี้ ไม่ได้ห้ามสร้างแม่แบบที่ลิงก์จำนวนมาก แต่มันอาจดูวุ่นวาย อ่านและใช้ยาก แม่แบบที่ดีโดยทั่วไปเป็นไปตามแนวปฏิบัติดังนี้

  1. บทความทั้งหมดในแม่แบบสัมพันธ์กับหัวเรื่องสอดคล้องกันเพียงเรื่องเดียว
  2. หัวเรื่องของแม่แบบควรมีการกล่าวถึงในทุกบทความ
  3. บทความควรพาดพิงกันและกันในขอบเขตที่สมเหตุสมผล
  4. เรื่องที่เป็นหัวเรื่องของแม่แบบควรมีบทความวิกิพีเดีย
  5. หากไม่ใช่แม่แบบนำทาง ผู้เขียควรเชื่อมโยงบทคามเหล่านี้ในส่วน "ดูเพิ่ม" ของบทความ

หากกลุ่มบทความใดไม่ผ่านบททดสอบข้างต้น หมายความว่า บทความเหล่านั้นเกี่ยวข้องกันอย่างหลวม ๆ หากทำเป็นรายการหรือหมวดหมู่อาจเหมาะสมมากกว่า

อย่าพึ่งพากล่องนำทางสำหรับลิงก์ไปบทความที่มีความสัมพันธ์กับบทความหนึ่ง ๆ สูงเพียงอย่างเดียว กล่องนำทางไม่แสดงผลในเว็บไซต์อุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับวิกิพีเดีย ซึ่งมีผู้อ่านประมาณครึ่งหนึ่ง

แม่แบบนำทางอยู่มุมขวาบนของทความ (บางทีเรียก แม่แบบ "แถบข้าง" หรือ "ส่วนหนึ่งในชุด") ควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพราะแม่แบบดังกล่าวมีการแสดงผลโดดเด่นต่อผู้อ่าน การรวบรวมบทความในแม่แบบแถบข้างควรมีความสมพันธ์กันค่อนข้างเหนียวแน่น และแม่แบควรผ่านแนวปฏิบัติก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ถ้าบทความไม่ได้สัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น แม่แบบท้ายเรื่องอาจเหมาะสมกว่า

ลิงก์บทความในแม่แบบนำทางควรจัดกลุ่มเข้าด้วยกัน โดยอาจแบ่งตามหัวข้อ แบ่งตามยุคสมัย เป็นต้น การเรียงลำดับตามพยัญชนะไม่ให้คุณค่าเพิ่มเติมต่อหมวดหมู่ที่มีลิงก์บทความเดียวกัน ตัวอย่างเช่น แม่แบบ:กลศาสตร์ดั้งเดิม ซึ่งมีบทความที่จัดกลุ่มเป็นหัวข้อย่อยที่เกี่ยวข้องกัน

ทุกบทความที่ดึงข้อมูลกล่องนำทางหนึ่ง ๆ ปกติควรใส่เป็นลิงก์ในกล่องนำทางด้วยเพื่อให้การนำทางเป็นแบบไปกลับ

การใช้แม่แบบนำทางไม่ใช่ข้อกำหนดหรือข้อห้ามสำหรับทุกบทความ ไม่ว่าจะใส่กล่องนำทาง หรือจะใส่กล่องใด มักมีการเสนอแนะโดยโครงการวิกิ แต่สุดท้ายตัดสินจากการอภิปรายและความเห้นพ้องในหมู่ผู้เขียนของบทความนั้น ๆ ตามหลักไปกลับข้างต้น การนี้อาจมีผลต่อการใส่บทความใดบทความหนึ่งในแม่แบบนำทาง หากมีความเห็นไม่ตรงกัน ควรให้การอภิปรายมีศูนย์กลางที่หน้าคุยของบทความ ไม่ใช่หน้าคุยของแม่แบบ (เพราะมีผู้เฝ้าดูน้อยกว่า)

ควรเลี่ยงการใส่ชื่อการแสดงของผู้ให้ความบันเทิงในกล่องนำทางสำหรับการผลิตที่ผู้นั้นปรากฏ หรือสมาชิกนักแสดงเข้าสู่กล่องนำทางของการผลิตที่พวกเขาทำงาน เช่น นักแสดง ตลก พิธีกร นักเขียน เป็นต้น เพื่อป้องกันการทำให้แม่แบบนำทางรก และเลี่ยงการให้น้ำหนักการแสดงของผู้ให้ความบันเทิงหนึ่งเหนือการแสดงอื่นอย่างไม่เท่าเทียม

เช่นเดียวกัน ผลงานภาพยนตร์ของบุคคลหนึ่ง ๆ ไม่ควรใส่รวมในกล่องนำทาง ยกเว้นผู้นั้นอาจถือเป็นผู้สร้างหลักของผลงานนั้น เพื่อป้องกันการทำให้กล่องนำทางของบุคคลรก และเลี่ยงการให้น้ำหนักไม่เท่าเทียมต่อการมีส่วนร่วมของผู้หนึ่งเหนือผู้อื่น

สุดท้าย ไม่ควรใส่แหล่งข้อมูลอื่นในแม่แบบนำทาง แม้อาจใส่แหล่งที่มาในเอกสารกำกับแม่แบบได้

ข้อดีของแม่แบบนำทาง

[แก้]
  1. ให้รูปลักษณ์และระบบนำทางที่เหมือนกันสำหรับบทความที่เกี่ยวข้อง
  2. นำทางได้เร็วกว่าหมวดหมู่
  3. ให้สารสนเทศทันทีแก่ส่วนย่อยเทียบเท่า
  4. สำหรับการนำเสนอชุดบทความในลำดับเวลา แม่แบบมักเหมาะสมที่สุด แม่แบบ:Princess Royal สำหรับลำดับเวลาที่ยาวมาก แนะนำให้ใช้กล่องสืบตำแหน่ง ซึ่งแสดงเฉพาะส่วนย่อยของชุดที่อยู่ลำดับก่อนหน้าและถัดไปของบทความดังกล่าว
  5. แม่แบบให้ทรัพยากรจัดระเบียบสำหรับผู้อ่านที่เข้าหัวข้อกว้าง ๆ บางเรื่องเพื่อหาบทความอื่นในหัวข้อเดียวกัน แทนที่จะทำให้ผู้อ่าน "ตกหา" บทความที่มีลิงก์วิกิในข้อความหรือในส่วน "ดูเพิ่ม"
  6. ลดส่วน "ดูเพิ่ม" ขนาดใหญ่ ซึ่งอาจซ้ำซ้อนกันและไม่สอดคล้องในหมู่บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อเสียของแม่แบบนำทาง

[แก้]
  1. ไม่แสดงต่อผู้อ่านที่ใช้เว็บไซต์อุปกรณ์เคลื่อนที่
  2. ไม่ให้รูปลักษณ์และระบบนำทางเหมือนกันระหว่างคนละหัวข้อ คือ แม่แบบนำทางไม่มีรูปแบบเดียวกันหมด
  3. แม่แบบที่ดูเรียบง่ายสามารถใช้หมวดหมู่แทนได้ นอกจากนี้ การให้รายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่าหมวดหมู่ทำได้ยากโดยไม่ทำให้กล่องนั้นใหญ่มาก
  4. สามารถกลายเป็นน่าเกลียดหรือดูไม่มีจุดหมายเช่นโดยโครงร่างสีที่ไม่น่าดูขนาดจำนวนในหน้าเดียวกันและอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้กล่องบทความชุดจะต้องชัดเจนในตัวเองในขณะที่พวกเขาไม่สามารถมีข้อความมากสำหรับคำจำกัดความหรือคำอธิบาย
  5. การใส่ลิงก์บทความหรือการแบ่งหัวข้อย่อยในแม่แบบอาจส่งเสริมมุมมองด้านหนึ่งโดยไม่ตั้งใจ นอกจากนี้แม่แบบยังอาจเสนออย่างไม่ถูกต้องว่าแง่มุมหนึ่งของหัวข้อหรือตัวอย่างที่มีลิงก์มีความสำคัญมาก น้อยหรือเท่ากับตัวอย่างอื่น ใช้เพื่อนำเสนอหัวข้อที่เป็นที่รู้จักน้อยในที่ที่มีชื่อเสียง หรือแสดงความเป็นเจ้าของ หากพยายามเยียวยาปัญหาดังกล่าวด้วยการเพิ่มแม่แบบอีกอาจนำไปสู่ข้อเสียตามข้อ 4.
  6. ในทางกลับกัน แม่แบบอาจให้คำใบ้ลิงก์ที่มีความสัมพันธ์หรือความสำคัญมากที่สุดแก่ผู้อ่านไม่พอ ซึ่งจะไม่ทำให้แม่แบบไม่เป็นที่ถกเถียง
  7. สามารถเปลี่ยนแปลงผังหน้าโดยไม่ปราศจากเหตุผลด้วยการแสดงแม่แบบในหน้านั้น (เช่น เมื่อแม่แบบมีคำสั่ง) NOTOC หรือ <div> ที่ไม่ปิด เป็นต้น)
  8. สามารถใช้พื้นที่มากเกินไปสำหรับสารสนเทศที่สัมพันธ์กันเพียงเล็กน้อย
  9. มีรายการเต็มลิงก์ในทุกบทความ แม้บ่อยครั้งลิงก์เหล่านี้จำนวนมากไม่มีประโยชน์ในบางบทความ
  10. เนื่องจากขนาดของแม่แบบ การใช้แม่แบบนำทางหลายแม่แบบอาจกินพื้นที่ในบทความหนึ่ง ๆ มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ทางเลือกที่มีผลต่อมุมมองว่าจะใส่แม่แบบใดบ้าง
  11. แม่แบบไม่รวมอยู่ในผลการค้นหาโดยปริยาย ทำให้ผู้อ่านและผู้เขียนหาแม่แบบได้ยาก
  12. แม่แบบสันนิษฐานเป็นนัยว่าผู้อ่านที่ผ่านมาในบทความในหัวข้อกว้างหัวข้อหนึ่งจะต้องการอ่านบทความอื่นในหัวข้อเดียวกัน แทนที่จะอ่านบทความที่มีลิงก์วิกิในข้อความหรือในส่วน "ดูเพิ่ม"

แม่แบบนำทางซึ่งอยู่มุมขวาบนของบทความ (บ้างเรียก แม่แบบ "แถบข้าง" หรือ "ส่วนหนึ่งในชุด") มีประเด็นเฉพาะบางประการ และควรได้รับความสนใจพิเศษเพราะมีการแสดงชัดเจนต่อผู้อ่าน

  1. จอภาพที่เห็นได้ชัดเจนขนาดใหญ่ตรงนั้นอาจใช้สำหรับภาพหรือสารสนเทศสำคัญอย่างอื่นมากกว่า
  2. แม่แบบอาจรับรู้ว่ากั้นหัวเรื่องหนึ่งว่าเป็น "พื้นที่" ของสาขาวิชาการหนึ่ง ๆ