วิกิพีเดีย:สอนการใช้งาน (แบบเก่า)/จัดรูปแบบ
อารัมภบท | วิธีการแก้ไข | การจัดรูปแบบ | ลิงก์ | การอ้างอิง แหล่งที่มา | หน้าคุย | จำไว้ว่า | ลงทะเบียน | ท้ายสุด |
การจัดรูปแบบบทความวิกิพีเดียต่างจากการเขียนในโปรแกรมประมวลคำมาตรฐานหรือในวิชวลเอดิเตอร์ (VisualEditor) ที่เป็นสิ่งแวดล้อมแก้ไขทางเลือกของวิกิพีเดีย วิกิพีเดียใช้รหัสข้อความเรียก ป้ายระบุวิกิ เพื่อสร้างส่วนย่อยต่าง ๆ ในหน้า (เช่น พาดหัว) ภาษามาร์กอัพนี้เรียก ข้อความวิกิ และออกแบบมาเพื่อให้แก้ไขได้ง่าย ดู กระดาษจดโค้ด สำหรับรายการอ้างอิงอย่างรวดเร็วของรหัสข้อความวิกิ บทความซับซ้อนอาจยึดแบบผังจากบทความเดิมที่มีโครงสร้างและหัวข้อที่เหมาะสม
ตัวเส้นหนาและตัวเอน
ป้ายระบุวิกิที่ใช้มากที่สุดได้แก่ ตัวเส้นหนา และ ตัวเอน ซึ่งทำตัวเส้นหนาและตัวเอนโดยใส่เครื่องหมายอะพอสทรอฟี ('
) หลายตัวคร่อมคำหรือวลีนั้น
คุณพิมพ์ | คุณได้ |
''ตัวเอน'' | ตัวเอน |
'''ตัวเส้นหนา''' |
ตัวเส้นหนา |
'''''ตัวเอนและเส้นหนา''''' |
ตัวเอนและเส้นหนา |
ในวิกิพีเดีย ชื่อของเรื่องบทความเขียนด้วยตัวเส้นหนา เมื่อกล่าวถึงครั้งแรกในบทความ ตัวอย่างเช่น ในบทความ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ขึ้นต้นว่า
- สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (อังกฤษ: Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) ทรงเป็นพระมหาราชินีของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ...
ตัวเอน อาจใช้กับชื่อหนังสือ ภาพยนตร์ อัลบั้ม และเกมคอมพิวเตอร์ หากกล่าวถึงเรื่องบทความที่เป็นชื่อเหล่านี้ ก็ใช้ ตัว ตัวเอนและเส้นหนา
พาดหัวและพาดหัวย่อย
พาดหัวและพาดหัวย่อยเป็นวิธีจัดระเบียบบทความ หากบทความอภิปรายหลายหัวข้อและอุทิศเนื้อหาที่มีความยาวพอสมควรแก่หัวข้อนั้น คุณสามารถจัดให้บทความน่าอ่านมากขึ้นโดยแทรกะพาดหัวสำหรับแต่ละหัวข้อ เป็นการสร้างส่วนสำหรับแต่ละหัวข้อ
คุณสามารถสร้างส่วนภายในส่วน (หรือส่วนย่อย) ได้โดยใช้พาดหัวย่อย
คุณสามารถสร้างพาดหัวย่อยคร่อมข้อความพาดหัวด้วยป้ายระบุวิกิ "=
" หลายตัว ยิ่งมีสัญลักษณ์ "=
" ในป้ายระบุวิกิเท่าไหร่ พาดหัวยิ่งเป็นส่วนย่อยมากเท่านั้น
คุณพิมพ์ | คุณได้ |
== พระมาลาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 == |
|
=== หมวกฟาง === |
หากบทความมีพาดหัวอย่างน้อย 4 พาดหัว จะสร้างสารบัญอัตโนมัติ
ตัวห้อยและตัวยก
การใช้รูปแบบตัวห้อย คุณเพิ่มป้ายระบุ <sub>
เปิดนำหน้าข้อความและปิดด้วยป้ายระบุ </sub>
ตาม สำหรับตัวยกใช้ <sup>
และ </sup>
ตัวอย่างเช่น
รหัส H<sub>2</sub>SO<sub>4</sub> &rarr; 2 H<sup>+</sup> + SO<sub>4</sub><sup>2&minus;</sup>
แสดงผลเป็น H2SO4 → 2 H+ + SO42−
เอชทีเอ็มแอล
ข้อความวิกิมีคุณลักษณะทั้งหมดที่กำหนดให้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมการจัดรูปแบบของวิกิพีเดีย ทว่า ขีดความสามารถจัดรูปแบบของมันมีข้อจำกัด หากคุณต้องการควบคุมการจัดรูปแบบให้มากขึ้น เช่น การใช้สี ลีลาข้อความและย่อนห้า และผังหน้า คุณสามารถใช้เอชทีเอ็มแอลได้ แต่เอชทีเอ็มแอลยากและซับซ้อนกว่าข้อความวิกิ
แถบเครื่องมือแก้ไข
ตัวแก้ไขของวิกิพีเดียมีสองแถบเครื่องมือที่ช่วยการใช้ป้ายระบุวิกิ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการพิมพ์ข้อความเป็นตัวเส้นหนา แทนที่จะพิมพ์ป้ายระบุ '''
ด้วยมือ คุณสามารถกดปุ่มตัวเส้นหนา แล้วคลิกข้อความในนั้นได้โดยตรง
ไอคอน | ฟังก์ชัน | สิ่งที่แสดงเมื่อกำลังแก้ไข | สิ่งที่แสดงในหน้า |
---|---|---|---|
ตัวเส้นหนา | '''ข้อความตัวหนา'''
|
ข้อความตัวหนา | |
ตัวเอน | ''ข้อความตัวเอน''
|
ข้อความตัวเอน | |
ลิงก์ภายนอก | [http://www.example.com ชื่อลิงก์]
|
ชื่อลิงก์ | |
ลิงก์ภายใน | [[ชื่อลิงก์]]
|
ชื่อลิงก์ | |
แทรกภาพ | [[File:Example.jpg|thumbnail]]
|
||
แทรกการอ้างอิง | <ref>แทรกข้อความอ้างอิงที่นี่</ref>
|
[1] | |
เซ็นความเห็นคุย (พร้อมตราเวลา) |
--~~~~
|
ชื่อผู้ใช้ (คุย) 11:35, 12 มกราคม 2025 (UTC) |
วิชวลเอดิเตอร์
แถบเครื่องมือวิชวลเอดิเตอร์ปรากฏบนสุดของจอภาพเมื่อคุณเริ่มแก้ไข
รายการเลือดดึงลงหัวเรื่อง เปิดให้คุณเปลี่ยนการจัดรูปแบบย่อหน้า ในการเปลี่ยนลีลาของย่อหน้า ให้วางเคอร์เซอร์ในย่อหน้าแล้วเลือกรายการในรายการเลือกนี้ (ไม่จำเป็นต้องเน้นข้อความใด) ชื่อเรื่องส่วนจัดรูปแบบเป็น "หัวเรื่อง" และส่วนย่อยจัดรูปแบบเป็น "หัวเรื่อง 2", "หัวเรื่อง 3" ไปเรื่อย ๆ รูปแบบปกติสำหรับข้อความได้แก่ "ย่อหน้า"
การจัดรูปแบบ: การคลิก "A" เป็นการเปิดรายการเลือก
- รายการ "ตัวหนา" (B) ทำให้ข้อความที่เลือกเป็นตัวเส้นหนา
- รายการ "ตัวเอน" (I) ทำให้ข้อความที่เลือกเป็นตัวเอน
- รายการ "ตัวยก" (x2) ทำให้ข้อความที่เลือกมีขนาดเล็กกว่าและอยู่สูงกว่าข้อความที่อยู่โดยรอบเล็กน้อย
- รายการ "ตัวห้อย" (x2) ทำให้ข้อความที่เลือกมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ต่ำกว่าข้อความที่อยู่โดยรอบเล็กน้อย
- รายการ "ขีดทับ" (
S) เพิ่มแถบทึบทับข้อความที่เลือก - รายการ "รหัสคอมพิวเตอร์" (วงเล็บเหลี่ยมคู่
{}
) เปลี่ยนชุดแบบอักษรข้อความที่เลือกเป็นแถบความกว้างคงที่ ซึ่งทำให้แยกข้อความนี้จากข้อความแวดล้อม (ที่มีความกว้างตามสัดส่วน) - รายการ "เส้นใต้" (U) เพิ่มเส้นทึบใต้ข้อความที่เลือก
- รายการ "ภาษา" (Aあ) เปิดให้คุณติดป้ายภาษา (เช่น ภาษาญี่ปุ่น) และทิศทาง (ตัวอย่างเช่น ขวาไปซ้าย) ของข้อความที่เลือก
- รายการสุดท้าย () เรียก "เอาออก" ลบการจัดรูปแบบอักขระทั้งหมดจากข้อความที่เลือก รวมทั้งลิงก์
- ↑ แทรกข้อความอ้างอิงที่นี่