วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ชื่อบทความกษัตริย์
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ชื่อบทความกษัตริย์)
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
ส่วนอภิปราย
- เท่าที่ผมลองอ่านดูในกรุเก่าๆ เหมือนว่าชื่อบทความกษัตริย์ยังไม่ได้ข้อยุติน่ะครับ เช่น ใช้ พระเจ้า สมเด็จพระเจ้า ฯลฯ ก็เลยอยากมาถามว่า ควรใช้อะไรกันให้เป็นบรรทัดฐานครับ
- ปล.ถ้าผมอ่านไม่ละเอียด (จากข้อมูลเก่าๆ) และมีข้อสรุปแล้วก็ขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ ;)
- --V i P 20:25, 24 มีนาคม 2553 (ICT)
- รบกวนช่วยตรวจสอบสำหรับการใช้คำว่า "กษัตริย์" กับ "พระมหากษัตริย์" ด้วยครับ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "King" เหมือนกัน แต่ไหงภาษาไทยกลับใช้สะเปะสะปะ
- ใช้เอกสารหลักฐานและอื่นๆ ตามสมควร คงไม่สามารถใช้คำนำหน้าอย่างหนึ่งอย่างใดได้อย่างเดียว
- --m̈assgo AquaCS4™ • 04:04, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
- ต้องใช้ตามความนิยมด้วยครับ ปัจจุบันใช้ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" แต่หนังสือเก่า ๆ ของ อ.นิธิ ยังใช้ "พระรามคำแหง" เป็นต้น
- --taweethaも 04:47, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
- ผมว่าน่าใช้คำว่ากษัตริย์กับกษัตริย์ของต่างประเทศ และใช้ พระมหากษัตริย์กับกษัตริย์ของประเทศไทยนะครับ ความเหฌนส่วนตัว :-D
- เห็นด้วยกับคุณโจ ชิเงรุครับ ส่วน พระเจ้า ก็น่าจะใช้เรียกขึ้นต้นกับกษัตริย์ต่างประเทศเป็นส่วนมากนะครับ (ความคิดเห็นส่วนตัว) เช่น พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นต้น ส่วนในไทยก็ใช้พระเจ้าบ้าง เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นต้น ยุคสมัยก็อาจจะเกี่ยวนะครับ อย่างในสมัยอยุธยานิยมเรียกว่า สมเด็จพระ เป็นส่วนมาก เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นต้น ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์นิยมใช้ พระบาทสมเด็จพระ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นครับ
- -- มารวย บางสิม 12:13, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
- มันแล้วแต่กรณีนะครับ อย่างเช่นกษัตริย์ของกัมพูชาก็มี คำนำหน้านาม กำหนดไว้อยู่แล้ว เช่น พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ส่วนคำว่า พระมหากษัตริย์ ไม่มีในพจนานุกรม เพราะเราเติม พระมหา ที่แปลว่า ยิ่งใหญ่ ลงไปข้างหน้า กษัตริย์ เพื่อเป็นการยกย่องสรรเสริญ ผมไม่เห็นด้วยว่าผู้ใช้วิกิพีเดียภาษาไทยจะยกย่องแต่กษัตริย์ของไทยอย่างเดียว แต่การตัดคำว่าพระมหาออกก็ไม่ได้เป็นการหมิ่นแต่อย่างไร ดังนั้นผมจึงเห็นว่าเมื่อกล่าวถึง king โดยทั่วไปควรใช้ กษัตริย์ ครับ
- --octahedron80 12:47, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
- ความคิดเห็นของคุณ octahedron80 เข้าท่าดีนะครับ เห็นด้วยๆ
- -- มารวย บางสิม 13:01, 31 มีนาคม 2553 (ICT)
- เรื่องนี้
- สำหรับประเทศไทยเอง ตอนยึดอำนาจจากประชาธิปก แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในกฎหมายก็เรียก "กษัตริย์" เฉย ๆ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "King" (ดู รัฐธรรมนูญฉบับแรกสุด เป็นต้น) พอระยะหลัง ๆ ฝ่ายนิยมเจ้าได้ครองอำนาจอีกจนปัจจุบัน จึงเปลี่ยนไปใช้ "พระมหากษัตริย์" เพื่อเยินยอมากขึ้น แต่ก็ตรงกับคำว่า "King" อยู่ (เช่น หัวคำพิพากษาที่มักว่า "ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์" = "In the Name of the King")
- ส่วนการใช้คำนั้น ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี (คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาจัดทำหนังสือ "ราชาศัำพท์" ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๘-๑๐.) สรุปได้ว่า
- ปัจจุบัน กษัตริย์ไทยที่ราชาภิเษกแล้ว ใช้คำนำหน้าชื่อ (อย่างเดียวกับที่คนทั่วไปใช้ "นาย" หรือ "นาง" เป็นต้น) ว่า "พระบาทสมเด็จพระ" ("His Majesty King") ถ้ายังไม่ราชาภิเษก ใช้ "สมเด็จพระ" ("King") เฉย ๆ
- กษัตริย์ไทยในอดีต ใช้ "สมเด็จพระ" แต่บางทีก็ใช้ตามความนิยม เช่น "ขุนหลวง," "พ่อขุน," "พระยา"
- ส่วนกษัตริย์ต่างด้าว บอกแค่ว่า "...จำเป็นต้องสังเกตจำตามที่ทางราชการใช้" แล้วยกตัวอย่าง เช่น "พระจักรพรรดิ" (พระจักรพรรดิไฮเลเซลาส ที่ ๑), "สมเด็จพระเจ้า" (สมเด็จพระเจ้าจอร์จ ที่ ๕), "สมเด็จพระ" (สมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์), "พระเจ้า" (พระเจ้าอชาตศัตรู) เท่านั้น ก็สรุปว่ายังเอาอะไรแน่ไม่ได้จากทางราชการ แต่เหมือนตอนฉลองครองราชย์ ๖๐ ปี กระทรวงการต่างประเทศเคยวางเกณฑ์เรียก "สมเด็จพระราชาธิบดี" "สุลต่าน" ฯลฯ อะไรพวกนี้ไว้
- มีปัญหาเพิ่มอีกหนึ่งอย่าง รายพระนามกษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช ต้องเติมคำว่า "มหาราช" สำหรับการตั้งชื่อบทความด้วยหรือไม่ เพราะส่วนนี้หากแก้แล้วก็ต้องแก้หน้าย่อยด้วย ปัญหาจะตามมาอีก--octahedron80 03:13, 2 เมษายน 2553 (ICT)
- สำหรับ ประเทศไทย ในกฎหมาย แม้กษัตริย์จะได้รับสมญา "มหาราช" ก็ไม่คำนึง ทั้งสมัยโบราณและปัจจุบัน โดยสรุปการอ้างถึงกษัตริย์ได้ดังนี้
- ปัจจุบัน เขียนชื่อใน ๓ รูปแบบ วางเป็นระเบียบแล้ว คือ
- "อย่างยิ่ง" เขียนเต็มตามสุพรรณบัฏ ซึ่งใช้ในกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น รัฐธรรมนูญ เท่านั้น เช่น
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" (รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐)
- "อย่างกลาง" เอาคำสร้อยในชื่อออกบ้าง ใช้ในกฎหมายลำดับรองลงมา เช่น ราชโองการ เช่น
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" (ราชโองการตั้งหัวหน้า คปค.)
- "อย่างย่อ" ย่อเหลือแต่ส่วนสำคัญของชื่อ ไม่พึงย่อกว่านี้อีกแล้ว ใช้ในกฎหมายทั่ว ๆ ไป เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา เช่น
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"
- "อย่างยิ่ง" เขียนเต็มตามสุพรรณบัฏ ซึ่งใช้ในกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น รัฐธรรมนูญ เท่านั้น เช่น
- โบราณ ก็สรุปยากนะ แต่เท่าที่สังเกตจากกฎหมายสมัยโบราณ เห็นว่า คล้าย ๆ กับปัจจุบัน กล่าวคือ
- "อย่างยิ่ง" ใช้ในกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น พระธรรมศาสตร์ (ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญในสมัยโบราณ) เช่น
- "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธิเจ้าอยู่หัว อันเสด็จปราบดาภิเษกผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย"
- (ประกาศพระราชปรารภให้ชำระกฎหมายตราสามดวง - เป็นชื่อของ "รัชกาลที่ ๑")
- "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลยคุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธิเจ้าอยู่หัว อันเสด็จปราบดาภิเษกผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย"
- "อย่างกลาง" ใช้ในกฎหมายลำดับรองลงมา หรือเอกสารสำคัญ เช่น ราชโองการ จดหมายหาประมุขต่างด้าว เช่น
- "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ สุทธสมมุติเทพยพงศ วงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้เป็นใหญ่แก่ประเทศราชต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง คือ เมืองลาว เมืองกำโพชา เมืองมลายู หลายเมือง แลที่อื่น ๆ"
- (จดหมายหากษัตริย์ฝรั่งเศส - เป็นชื่อของ "รัชกาลที่ ๔"; เรื่องเมืองบริวารนี้ จะใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ แต่สมัยนั้นมีปัญหาเรื่องแย่งชิงอาณานิคม ต้องบอกให้รู้ว่าแผ่นดินนี้ของใคร แต่ถึงกระนั้นก็ถูกแย่งอยู่ดีตอนจบ)
- "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ สุทธสมมุติเทพยพงศ วงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้เป็นใหญ่แก่ประเทศราชต่าง ๆ ที่ใกล้เคียง คือ เมืองลาว เมืองกำโพชา เมืองมลายู หลายเมือง แลที่อื่น ๆ"
- "อย่างย่อ" ใช้ในกฎหมายทั่ว ๆ ไป เช่น ประกาศ หมายรับสั่ง พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ฯลฯ (คำว่า "พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา ฯลฯ" พวกนี้ มีความหมายต่างปัจจุบัน) เช่น
- "พระบาทสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถ อิศวรบรมนาถ บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ"
- (พระราชบัญญัติพระอัยการลักษณะอุทธรณ์ จ.ศ. ๑๕๕๕ (สมัยอยุธยา - เป็นชื่อของ "เอกาทศรถ"))
- "พระบาทสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถ อิศวรบรมนาถ บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ"
- แต่สมัยโบราณ การใช้ข้างต้นไม่ตายตัว บางทีกฎหมายไม่สำคัญก็ระบุชื่อเต็ม กฎหมายสำึคัญระบุึชื่อย่อ ก็มี
- "อย่างยิ่ง" ใช้ในกฎหมายสำคัญ ๆ เช่น พระธรรมศาสตร์ (ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญในสมัยโบราณ) เช่น
- สรุปได้ว่า
- ประเทศไทย ไม่ควรใส่ "มหาราช" เพราะอย่างเป็นทางการและโดยปรกติไม่ใส่คำนี้
- กษัตริย์ปัจจุบัน ควรใช้ "อย่างย่อ" หรืออย่างที่นิยมกัน ดังที่บทความทั้งหลายใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็ดีแล้ว (เช่น "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" หรือ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" แทนที่จะเป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ " ฯลฯ)
- กษัตริย์ในอดีต ควรใช้ตามความนิยม (โดยไม่มี "มหาราช" เว้นแต่รู้จักกันในสมญานี้มากกว่า) หรือจะใช้ "อย่างย่อ" อย่างที่ปัจจุบันใช้อยู่ก็ดีแล้ว (เช่น "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ", "สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘", "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ฯลฯ)
- ปัจจุบันชื่อกษัตริย์ไทยก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร
- ปัจจุบัน เขียนชื่อใน ๓ รูปแบบ วางเป็นระเบียบแล้ว คือ
- ตอนนี้หมายกำหนดการ/กำหนดการต่าง ๆ ที่ออกมาจากทางการออกพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และออกพระนามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคะ ดิฉันคิดว่าน่าจะยึดประกาศของทางการดีกว่าค่ะ เหมือน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งก็เติมมหาราช เช่นกัน สำหรับรัชกาลที่ 5 นั้น พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช ซึ่งไม่ได้เติมคำว่า มหาราช หลังพระนามของพระองค์ แต่เติมหลังพระราชสมัญญานาม แต่ทางวิกิพีเดียตั้งชื่อบทความโดยใช้พระนามเป็นหลัก ดังนั้น ชื่อบทความของรัชกาลที่ 5 ดิฉันคิดว่าไม่จำเป็นต้องเติมมหาราชคะ --ฉัตรา 12:07, 3 เมษายน 2553 (ICT)
- ความจริงถ้าใช้ชื่อจริง ๆ ไปเลยเหมือนวิกิฯ ฝรั่ง เช่น "ภูมิพลอดุยเดช", "อานันทมหิดล", "กัลยาณิวัฒนา", "สิริกิติ์" (ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ว่า "พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ" เป็นต้น) ฯลฯ ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่พวกนิยมเจ้าคงรับไม่ได้ ประกอบกับการที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกคำนำหน้าชื่อ (พระบาทสมเด็จ ฯลฯ) ก่อนชื่อ (ซึ่งก็คำนำหน้าชื่อนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะทำให้ต้องลามไปโลมเลียกษัตริย์ต่างด้าวด้วย จะเพราะด้วยมารยาทหรืออะไรก็ตาม)
- ประเทศไหนก็มีวัฒนธรรมและการปฏิบัติบัติเป็นของตัวเองคะ ประเทศไทยก็ย่อมมีธรรมเนียมการปฏิบัติเป็นของตนเช่นกันคะ ดิฉันว่าการพูดคุยกันแบบนี้เราควรจะหาทางออกที่ดีที่สุด มากกว่าจะมานั่งเสียดสีกันว่า ใครนิยมเจ้า ใครต่อต้านเจ้า นะคะ เพราะนั่นไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อการพัฒนาบทความคะ --ฉัตรา 12:45, 3 เมษายน 2553 (ICT)
- สรุปว่ากษัตริย์ต่างประเทศจะใช้กันยังไงครับ ผมว่าเมื่อมาคุยกันแล้วก็อยากให้มีบทสรุปไปครอบคลุมทุกเรื่องเลยครับ พวก "พระจักรพรรดิ" (พระจักรพรรดิไฮเลเซลาส ที่ ๑), "สมเด็จพระ" (สมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์) ยกไว้ก่อนก็ได้ครับเป็นหลักตายตัวอยู่แล้ว แต่ในส่วนของ "สมเด็จพระเจ้า" กับ "สมเด็จพระราชาธิบดี" เนี่ยจะใช้กันยังไงครับ แล้วยังจะ "สมเด็จพระเจ้า" กับ "พระเจ้า" อีก-- tONa~22 @ คุยคุ้ยเขี่ย 22:22, 5 เมษายน 2553 (ICT)
- เรื่อง มหาราช ยังไม่มีความเห็น เพราะส่วนตัว ถ้ามหาราชไปต่ท้ายพระนามหลัก(ตามที่รับการกรอกหูมา) เช่น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระเจ้าอเล็กซานเตอร์มหาราช ก็คงใช้อยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเป็นพระนามรอง เช่น พระปิยมหาราช ก็ไม่ใช้
- เรื่องนี้ไม่ได้อ้างลอยๆ เพราะ En.วกพด ที่ปกติจะไม่ตั้งชื่อบทความเยิ่นเย้อ ก็ยังใช้ใน Alexander the Great
- เรื่องพระรามคำแหง นั่นอยู่ที่บริบท ถ้าเอ่ยถึงพระราชวัติ หรือประวัติศาสตร์ ก็ควรเรียกอย่างสมัยนั้นเป็นหลัก ไม่ควรเติมมหาราชไปในรายละเอียด ตัวอย่าง ย่อหน้าแรกของ อาณาจักรสุโขทัย ผมใช้พระนามของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ว่า บางกลางหาว เพราะสมัยนั้นยังทรงไม่ได้พระนามนี้ --m̈assgo AquaCS4™ • 15:00, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- จากข้อ 13 หากจะเขียน "พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ" นั้น ส่วนตัวคิดว่า เรื่องคำนำหน้านาม และสามานยนาม เมื่อก่อนเคยคุยกันแล้วว่า เอาคำนำหน้า ตำแหน่ง และสามานยนาม ขึ้นต้นตามคำพูดปกติ หากจะเอาชื่อมาขึ้นต้น ต้องเปลี่ยนทั้งหมดทั้งวิกิพีเดีย ทั้ง "พหลโยธิน, ถนน" ทั้งบรรดาศักดิ์ "ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ" ฯลฯ ซึ่ง หากเห็นดังนี้ ก็คงเหนื่อยหน่อย --m̈assgo AquaCS4™ • 02:38, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- สำหรับของประเทศไทย ควรใช้ตามประกาศของทางการเป็นหลักครับ เช่น รัชกาลที่ ๑ ปัจจุบัน ทางการออกพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (อ้างจาก หมายกำหนดการ ที่ ๑๖/๒๕๕๒ หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครบ ๒๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ หรือ ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้น)
- ตอนนี้ผมได้เมล์ไปถามราชบัณฑิต ถ้ายังไงลองรอดูก่อนนะฮะ --Jo Shigeru 14:01, 10 เมษายน 2553 (ICT)
ลงคะแนน
ลงคะแนนกันเลยไหมครับ ไม่งั้นไม่ได้ข้อสรุป --Horus | พูดคุย 20:07, 5 เมษายน 2553 (ICT)
กรุณาอธิบายเพิ่มหากมีเงื่อนไขเฉพาะ --octahedron80 02:25, 6 เมษายน 2553 (ICT)
กรณีคำนำหน้าพระนามกษัตริย์ (เนื้อหาและชื่อบทความ)
- ให้กษัตริย์ไทยที่ราชาภิเษกแล้ว ใช้คำนำหน้าชื่อว่า "พระบาทสมเด็จพระ" ถ้ายังไม่ราชาภิเษก ใช้ "สมเด็จพระ"
- กษัตริย์ไทยในอดีต ใช้ "สมเด็จพระ" แต่อาจใช้ตามความนิยม เช่น "ขุนหลวง," "พ่อขุน," "พระยา"
- กษัตริย์ต่างประเทศ ให้ใช้ตามที่ทางราชการของประเทศนั้น ๆ ใช้
(จาก คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาจัดทำหนังสือ "ราชาศัพท์" ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๘-๑๐.)
- เห็นด้วย มีหลักฐาน --Horus | พูดคุย 20:11, 5 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --m̈assgo AquaCS4™ • 01:20, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย ในบทความก็ใส่หมายเหตุเรื่องชื่อไว้ด้วยก็ดีครับ จะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง และเพิ่มในหลักการตั้งชื่อบทความด้วย --octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย หลักการชัดเจนคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย เพราะเป็นคนเสนอเอง
- เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:34, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 19:58, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย -- มารวย บางสิม 17:49, 16 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Pongsak ksm 22:38, 30 เมษายน 2553 (ICT)
หมายเหตุ: เพิ่มในวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ แล้ว --Horus | พูดคุย 09:20, 18 เมษายน 2553 (ICT)
กรณีการใช้ "กษัตริย์-พระมหากษัตริย์" แทนพระนาม (เนื้อหา)
- ใช้คำว่า "กษัตริย์" ทุกบทความ (ยกเว้นข้อความที่อ้างจากแหล่งอื่น)
-
- เห็นด้วย เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน --Horus | พูดคุย 20:11, 5 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย เพราะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน มีความเป็นกลาง -- มารวย บางสิม 20:47, 5 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย แต่เรื่องการอ้างถึงข้อความต้นฉบับ ก็ต้องคงไว้ตามเดิม เช่นคำพูด คำขวัญ หนังสือ หัวกฎหมาย จะแทนที่คำทีเดียวทั้งหมดเลยไม่ได้--octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ดิฉันมองไม่เห็นความจำเป็นว่าทำไมทางวิกิพีเดียถึงต้องจำกัดการใช้ภาษาในเนื้อหาของแต่ละบทความให้เขียนเหมือนกันหมดคะ ดิฉันมองว่านอกจาก 2 คำนี้ คำอื่น ๆ เช่น พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้น ก็คือ King เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ควรจำกัดการใช้คำในเนื้อหาคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ความจริงคำทั้งสอง (กษัตริย์-พระมหากษัตริย์) ก็ความหมายเดียวกัน บริบทก็ไม่ต่างกัน (เหมือนกับในบทความหนึ่งว่า "จักรพรรดิซวนถงทรง..." อีกบทความก็ว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิซวนถงทรง..." ไม่ต่างกันเลย เพียงแต่อาจดูไม่เป็นระเบียบบ้าง) นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคำที่ใช้เรียกได้ เช่น พระมหากษัตริยาธิราช พระราชา ฯลฯ ควรให้ผู้เขียนมีอิสระจะเลือกใช้คำให้ถูกกับบริบท ตราบที่ไม่ทำให้ใครเสียหาย ไม่เป็นผลเสียต่อบทความ และไม่ขัดต่อการอ้างอิงอะไรต่าง ๆ นานา
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ความเห็น ที่ผมเสนอมานี้มิได้หมายความถึงพระนามของกษัตริย์นะครับ เพียงแต่หมายถึงการใช้คำ ๆ นี้โดด ๆ น่ะครับ อย่างเช่น "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ไทย" เปรียบเทียบกับ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทย" อย่างนี้เป็นต้นครับ ทั้งนี้ ไม่น่าหมายรวมถึง "รัฐจักรวรรดิ" ซึ่งมี "จักรพรรดิ" เป็นประมุขครับ นั่นมันคนละกรณีกับ "ราชาธิปไตย" ของ "รัฐชาติ" --Horus | พูดคุย 19:29, 7 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับความเห็นของคุณฉัตราและคุณ Clumsy --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:36, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เนื่องจากที่นี่เป็นวิกิภาษาไทย ก็ต้องใช้พระนามตามบริบทของเมืองไทยสิ เห็นด้วยกับคุณ ScorpianPK --Pitt 11:23, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับความเห็นก่อนๆ Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:01, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้คำว่า "กษัตริย์" กับกษัตริย์ต่างประเทศ และใช้ "พระมหากษัตริย์" กับกษัตริย์ของไทย
-
- เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เพราะควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ไม่เข้าข้างฝ่ายใด -- มารวย บางสิม 20:47, 5 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีการแบ่งได้ชัดเจน ว่า อะไรไทย อะไรไม่ไทย ควรใช้ตามบริบท --m̈assgo AquaCS4™ • 01:24, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ที่จริงลงอันบนแล้ว ไม่ต้องลงอันนี้ก็ได้นี่--octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ไม่ควรจำกัดคำที่ใช้ภายในเนื้อหาคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๑
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:36, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:01, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้คำว่า "พระมหากษัตริย์" ทุกบทความ
-
- ไม่เห็นด้วย เพราะไม่กะทัดรัด ยืดยาวเกินไป -- มารวย บางสิม 09:21, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ไม่ควรจำกัดคำที่ใช้ภายในเนื้อหาคะ--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๑
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:36, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Mda 9:50, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:01, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
กรณีการใช้ "มหาราช" ต่อท้ายพระนาม (ชื่อบทความ)
- ไม่ใช้ในกษัตริย์ของทุกประเทศที่ได้รับสมัญญานาม
-
- เห็นด้วย --octahedron80 02:16, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- เป็นกลาง --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- เป็นกลาง เป็นการยากที่จะบอกได้ว่าไม่ใช้ในบทความทั้งหมด เช่น อเล็กซานเดอร์มหาราช, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น แต่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้บทความเป็นมาตรฐานเดียวกัน --Horus | พูดคุย 18:41, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เพราะบางคนก็เป็นที่รู้จักกันในนาม "มหาราช" มากกว่า และวิกิฯ ฝรั่งเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยอมรับให้มีการใช้ "มหาราช" ได้
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับความคิดของคุณ Clumsy --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้ในกษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่ได้รับสมัญญานาม แต่ไม่ใช้ในกษัตริย์ของต่างประเทศ
-
- ไม่เห็นด้วย ควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๒
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยกับคุณฉัตรา --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้ในกษัตริย์ไทยบางพระองค์ที่ได้รับสมัญญานามตามความนิยม แต่ไม่ใช้ในกษัตริย์ของต่างประเทศ
-
- ไม่เห็นด้วย ควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด--ฉัตรา 11:12, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกัน ๒
- เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้เสมอในกษัตริย์ของทุกประเทศที่ได้รับสมัญญานาม
-
- เห็นด้วย เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเป็นที่นิยม -- มารวย บางสิม 09:19, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ไม่น่าจะถึงกับต้องใช้ทุกพระนาม ใช้ชื่อที่เน้นความเข้าใจ --Horus | พูดคุย 18:41, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ไม่จำเป็น
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้เสมอหากอยู่ในพระนามหลัก และ ไม่ใช้เมื่ออยู่ในพระนามรอง และใช้หลักนี้ในกษัตริย์ของทุกดินแดน
-
- เห็นด้วย ตามการอธิบายข้อ 16 ข้างต้น --m̈assgo AquaCS4™ • 14:45, 6 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย ตรงกับที่ดิฉันคิดไว้มากที่สุดคะ--ฉัตรา 09:44, 7 เมษายน 2553 (ICT)
- เป็นกลาง คือไม่ทราบว่าพระนามหลักนี่หมายถึงชื่อเต็มยาวๆ หรือชื่อที่ได้รับความนิยมหรือครับ -- มารวย บางสิม 17:02, 7 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:30, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย แต่ไม่รู้จะกล่าวสุนทรพจน์อะไรดี --Horus | พูดคุย 23:48, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย เท่าที่อ่านความเห็นของคุณฉัตราและธัญกิจด้านบน คิดว่าข้อนี้ดูเหมาะสมกว่าข้ออื่น ๆ นะครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 23:54, 9 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Pitt 11:28, 11 เมษายน 2553 (ICT)
- เป็นกลาง --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 20:06, 12 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Sry85 20:50, 22 เมษายน 2553 (ICT)
การดำเนินการ
ผมว่าน่าจะเริ่มดำเนินการได้แล้วนะครับ --Horus | พูดคุย 09:17, 18 เมษายน 2553 (ICT)
- การที่ตัดมหาราชออกไปจะเป็นการลดพระราชอิสริยายศของพระองค์ลงหรือไม่???? --Jo Shigeru 08:14, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- ไม่ใช่ แต่ไม่มีความจำเป็นต้องระบุทุกบทความ --Horus | พูดคุย 15:55, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- แล้วบทความไหนจะออกมั่ง?? แต่อย่างเอาของในหลวงองค์ปัจจุบันออก เราควรเฉลิมพระเกียรติพระองค์ --Jo Shigeru 21:07, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- "เฉลิมพระเกียรติ" เราก็ทำกันอยู่แล้ว และอย่าลืมว่าสารานุกรมไม่ใช่ที่เขียนเฉลิมพระเกียรติ หากไปเขียนก็จะเป็นแค่ opinion ไม่ใช่ fact --Horus | พูดคุย 21:18, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- ไม่ใช่ แต่ไม่มีความจำเป็นต้องระบุทุกบทความ --Horus | พูดคุย 15:55, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- การที่ตัดมหาราชออกไปจะเป็นการลดพระราชอิสริยายศของพระองค์ลงหรือไม่???? --Jo Shigeru 08:14, 1 พฤษภาคม 2553 (ICT)
วาระ 2
กรณีการใช้คำว่า "กษัตริย์-พระมหากษัตริย์" ในชื่อบทความ/ชื่อแม่แบบ/หมวดหมู่
- ใช้คำว่า "กษัตริย์" ทุกบทความ
-
- เห็นด้วย กำหนดเป็นมาตรฐาน --Horus | พูดคุย 20:14, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย ด้วยเหตุผลเดียวกับการเขียนเนื้อหาที่เคยเลือกไว้ --octahedron80 20:20, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ควรใช้ตามการบัญญัติของราชบัณฑิตเป็นหลักครับ --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:26, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เมื่อราชบัณฑิตมีการบัญญัติไว้แล้ว ก็ควรใช้ตามราชบัณฑิตคะ--ฉัตรา 11:01, 24 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 16:06, 26 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย มาตรฐานเดียวกัน กะทัดรัด -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:49, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --- ~ Look-Narm ~ คุย 21:03, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- ใช้คำว่า "กษัตริย์" กับกษัตริย์ต่างประเทศ และใช้ "พระมหากษัตริย์" กับกษัตริย์ของไทย
-
- เห็นด้วย --Jo Shigeru 16:06, 26 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลด้านบน --Horus | พูดคุย 20:14, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:20, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ฉัตรา 20:23, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:26, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:49, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --- ~ Look-Narm ~ คุย 21:03, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
- ใช้คำว่า "พระมหากษัตริย์" ทุกบทความ
-
- ไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลด้านบน --Horus | พูดคุย 20:14, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:20, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 16:06, 26 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย เนื่องจาก
- ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิต บัญญัติคำว่า King ให้ใช้คำว่า พระมหากษัตริย์ ทั้งในสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
- พจนานุกรมของราชบัณฑิต กล่าวว่า พระมหากษัตริย์ คือ คำเต็มของกษัตริย์ ไม่ได้หมายความว่ายิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์แต่อย่างใด
- ประกาศทางการของไทย ใช้คำว่า พระมหากษัตริย์ในการเรียกประมุขของประเทศอื่นเช่นกัน อาทิ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปถวายพระมหากษัตริย์แห่งประเทศเดนมาร์ก, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเหรียญรัตนาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศกรีซ เป็นต้น--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:20, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- คุณสำคัญผิดไปแล้ว "ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์" หมายความว่าสามารถใช้ชื่ออย่างยาวได้ มิได้หมายความว่า กษัตริย์ เป็นคำย่อของ พระมหากษัตริย์ เพราะจากรูปศัพท์นั้น มีอยู่แค่ กฺษตฺริย คำเดียว แล้วเอาคำอื่นเข้ามาประกอบ นั่นคือ
- พระ - ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง
- มหา - ใหญ่, ยิ่งใหญ่
- กษัตริย์ - พระเจ้าแผ่นดิน
- จริงอยู่ที่ พระมหากษัตริย์ มิได้แปลว่า "ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์" แต่แปลว่า "กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่" ต่างหาก เราจำเป็นต้องเติมความเป็น "ผู้ยิ่งใหญ่" ให้กับชื่อทั่วไปด้วยไหมครับ (ถ้าปรากฏในวรรณกรรม ละคร การ์ตูน เป็นต้น) เพราะขอบเขตนี้จะรวมทั้งหมด "ทุกบทความ" --octahedron80 09:46, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- คุณสำคัญผิดไปแล้ว "ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์" หมายความว่าสามารถใช้ชื่ออย่างยาวได้ มิได้หมายความว่า กษัตริย์ เป็นคำย่อของ พระมหากษัตริย์ เพราะจากรูปศัพท์นั้น มีอยู่แค่ กฺษตฺริย คำเดียว แล้วเอาคำอื่นเข้ามาประกอบ นั่นคือ
- ขอบคุณที่ อธิบายครับ สำหรับข้อ 2 นี้ ผมเอามาเพื่ออธิบายถึงการใช้พระมหากษัตริย์ไม่ได้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์อย่างที่บางคนเข้าใจครับ ทั้งสองคำเป็นคำทีมีความหมายในระดับเดียวกัน และเราใช้จนเป็นที่คุ้นเคยและแพร่หลาย แต่จุดสำคัญของการสนับสนุนในข้อนี้คือ ข้อแรก เพราะเป็นการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตที่เราใช้เป็นหลักอ้างอิงครับ ส่วนข้อ 3 ก็บอกไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า เรายังใช้คำว่า พระมหากษัตริย์ กับ "ประเทศอื่น ๆ" ด้วย ไม่เฉพาะประเทศไทย ดังนั้น ผมจึงสนับสนุนให้ใช้ คำศัพท์ที่บัญญัติโดยราชบัณฑิตในทุก ๆ บทความ ครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 10:08, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย เมื่อราชบัณฑิตมีการบัญญัติไว้แล้ว ก็ควรใช้ตามราชบัณฑิตคะ--ฉัตรา 11:01, 24 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย เหตุผลเดียวกับคุณฮอรัส -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:49, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย เหตุผลตามข้อ 1 ของคุณ scorpion - 2T 09:36, 30 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --- ~ Look-Narm ~ คุย 21:03, 2 พฤษภาคม 2553 (ICT)
กรณีการใช้คำว่า "ราชวงศ์-พระราชวงศ์" ในชื่อบทความ/ชื่อแม่แบบ/หมวดหมู่
- ใช้คำว่า "ราชวงศ์" ทุกบทความ
-
- เห็นด้วย ไม่จำเป็นต้องใช้พระราชวงศ์คะ--ฉัตรา 20:28, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย บทความที่มีอยู่ก็ใช้ราชวงศ์เฉยๆ --octahedron80 20:34, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ดิฉันเห็นหมวดหมู่มีพระราชวงศ์คะ คิดว่าน่าจะรวบไปเลยในคราวนี้คะ--ฉัตรา 20:45, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย พระราชวงศ์ ฟัง ๆ ดูเหมือนจะสื่อถึงสมาชิกในราชวงศ์มากกว่าจะสื่อถึงราชวงศ์มังครับ--ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:23, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย เห็นด้วยกับคุณป่องครับ คำว่าพระราชวงศ์ น่าจะหมายความว่าสมาชิกในราชวงศ์มากกว่า ---m̈assgo AquaCS4™ • 15:55, 26 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย --Jo Shigeru 08:24, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:51, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้คำว่า "ราชวงศ์" กับกษัตริย์ต่างประเทศ และใช้ "พระราชวงศ์" กับกษัตริย์ของไทย
-
- เห็นด้วย --Jo Shigeru 08:24, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ฉัตรา 20:28, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:34, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:23, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --m̈assgo AquaCS4™ • 15:56, 26 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:51, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- ใช้คำว่า "พระราชวงศ์" ทุกบทความ
-
- ไม่เห็นด้วย --ฉัตรา 20:28, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --octahedron80 20:34, 22 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --ScorpianPK คุยแค่ "คลิก" 09:23, 23 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --m̈assgo AquaCS4™ • 15:56, 26 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย --Jo Shigeru 08:24, 29 เมษายน 2553 (ICT)
- ไม่เห็นด้วย -- มารวย บางสิม | คุยกับสหายแมว 15:51, 29 เมษายน 2553 (ICT)