วัลกือริยา
ในตำนานนอร์ส วัลกือริยา (นอร์สเก่า: Valkyrja) วาลคิรี (อังกฤษ: Valkyrie) หรือ วัลคือเรอ (เยอรมัน: Walküre) เป็นเทพธิดาที่รับใช้จอมเทพโอดินน์ มีหน้าที่นำนักรบที่ตายในสงครามไปที่โถงวัลฮ็อลล์เพื่อเข้าเฝ้าโอดินน์ นักรบเหล่านี้จะกลายเป็นเอย์นเฮริยาร์ เพื่อร่วมกับโอดินน์สู้ศึกรักนาร็อก
ในทางศิลปะ วัลกือริยามักได้รับการกล่าวถึงในสัญลักษณ์ของความสวยงาม โดยจะมีลักษณะนางฟ้าหญิงสวมหมวกนักรบถือหอกและขี่บนหลังม้าที่มีปีก วัลกือริยานั้นสามารถแปลงร่างเป็นหงส์ได้ วัลกือริยาสามารถแต่งงานกับมนุษย์ได้ แต่นั่นจะทำให้เสียอำนาจวิเศษของเทพธิดาไป
ศัพท์มูลวิทยา
[แก้]Valkyrja ในภาษานอร์สเก่า ประกอบด้วยคำสองคำ คำนาม valr (หมายถึง ผู้ตายในสนามรบ) และคำกริยา kjósa (แปลว่า เลือก) เมื่อนำมารวมกันแปลว่า "ผู้คัดเลือกผู้ตาย" คำ valkyrja ในภาษานอร์สเก่าเป็นรากศัพท์ของคำ wælcyrge ในภาษาอังกฤษเก่า[1] ชื่ออื่นของวัลกือริยาได้แก่ óskmey ("เด็กสาวแห่งคำอวยพร", ภาษานอร์สเก่า) ซึ่งปรากฏในบทกวี Oddrúnargrátr และ Óðins meyjar ("เด็กสาวของโอดินน์", ภาษานอร์สเก่า) ซึ่งปรากฏใน Nafnaþulur Óskmey อาจเกี่ยวข้องกับชื่อเทพโอดินน์ Óski (ภาษานอร์สเก่า, แปลว่า "ผู้เติมเต็มความหวัง") ซึ่งเกี่ยวโยงถึงโอดินน์รับเอานักรบผู้ถูกสังหารสู่วัลฮ็อลล์[2]
หลักฐานทางประวัติศาสตร์นอร์สเก่า
[แก้]วัลกือริยาได้รับการกล่าวถึงหรือปรากฏใน เอ็ดดาร้อยแก้ว โคลง Völuspá, Grímnismál, Völundarkviða, Helgakviða Hjörvarðssonar, Helgakviða Hundingsbana I, Helgakviða Hundingsbana II, และ Sigrdrífumál.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sturluson 2005, pp. 142–143.
- ↑ Simek 2007, pp. 254, 349.
บรรณานุกรม
[แก้]- Grimm, Jacob (1882) translated by James Steven Stallybrass. Teutonic Mythology: Translated from the Fourth Edition with Notes and Appendix by James Stallybrass. Volume I. London: George Bell and Sons.
- Hall, Alaric (2007). Elves in Anglo-Saxon England. Boydell Press. ISBN 1-84383-294-1.
- Hollander, Lee Milton (1980). Old Norse Poems: The Most Important Nonskaldic Verse Not Included in the Poetic Edda. Forgotten Books. ISBN 1-60506-715-6.
- Hollander, Lee Milton (Trans.) (2007). Heimskringla: History of the Kings of Norway. University of Texas Press. ISBN 978-0-292-73061-8.
- Finnur Jónsson (1973). Den Norsk-Islandske Skjaldedigtning. Rosenkilde og Bagger. (ในภาษาเดนมาร์ก)
- Larrington, Carolyne (Trans.) (1999). The Poetic Edda. Oxford World's Classics. ISBN 0-19-283946-2.
- Lindow, John (2001). Norse Mythology: A Guide to the Gods, Heroes, Rituals, and Beliefs. Oxford University Press. ISBN 0-19-515382-0.
- MacLeod, Mindy; Mees, Bernard (2006). Runic Amulets and Magic Objects. Boydell Press. ISBN 1-84383-205-4.
- Näsström, Britt-Mari (1999). "Freyja: The Trivalent Goddess" in Sand, Reenberg Erik; Sørensen, Jørgen Podemann (1999). Comparative Studies in History of Religions: Their Aim, Scrope and Validity. Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-533-0.
- North, Richard (1997). Heathen Gods in Old English Literature. Cambridge University Press. ISBN 0-521-55183-8.
- Orchard, Andy (1997). Dictionary of Norse Myth and Legend. Cassell. ISBN 0-304-34520-2.
- Simek, Rudolf (2007). Dictionary of Northern Mythology. translated by Angela Hall. D.S. Brewer. ISBN 0-85991-513-1..
- Sturluson, Snorri (2005). Byock, Jesse (บ.ก.). The Prose Edda: Tales from Norse Mythology. Penguin Classics. ISBN 0-14-044755-5..
- Wessén, Elias; Sven B.F. Jansson (1953–1958). Sveriges runinskrifter: IX. Upplands runinskrifter del 4. Stockholm: Kungl. Vitterhets Historie och Antikvitets Akademien. ISSN 0562-8016. (ในภาษาสวีเดน).