หญ้า
หญ้า ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Albian–ปัจจุบัน [1] | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
เคลด: | Commelinids Commelinids |
อันดับ: | อันดับหญ้า |
เคลด: | Graminid clade |
วงศ์: | หญ้า Barnhart[2] |
สกุลต้นแบบ | |
Poa L. | |
วงศ์ย่อย | |
ชื่อพ้อง[3] | |
Gramineae Juss. |
หญ้า เป็นวงศ์ของพืชดอกใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีจำนวนมากและมีแทบทุกหนแห่ง โดยมีประมาณ 780 สกุลและประมาณ 12,000 สปีชีส์[4] ทำให้หญ้าเป็นวงศ์พืชที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 โดยเป็นรองเพียงวงศ์ทานตะวัน, วงศ์กล้วยไม้, วงศ์ถั่ว และวงศ์เข็ม[5]
หญ้าเป็นวงศ์พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยสามารถนำธัญพืช เช่น ข้าวโพด, ข้าวสาลี, ข้าว, ข้าวบาร์เลย์ และข้าวฟ่าง ไปผลิตอาหารหลักหรือให้อาหารสัตว์ที่ผลิตเนื้อได้ พวกมันให้พลังงานทางอาหารมากกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ของพลังงานทางอาหารทั้งหมด ผ่านการบริโภคของมนุษย์โดยตรง แบ่งเป็นข้าว 20%, ข้าวสาลี 20%, ข้าวโพด 5.5% และธัญพืชอื่น ๆ 6%[6] สมาชิกวงศ์หญ้าบางส่วนใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง (ไม้ไผ่, มุงจาก และฟาง) ในขณะที่บางส่วนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ผ่านการแปลงข้าวโพดเป็นเอทานอล
ทุ่งหญ้าอย่างสะวันนาและแพรรีที่มีหญ้าเป็นส่วนใหญ่ ประมาณการว่าครอบคลุมไปถึง 40.5% ของพื้นที่ผิวโลก (ไม่นับกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา)[7] หญ้ายังมีส่วนสำคัญต่อพืชพรรณในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึง พื้นที่ชุ่มน้ำ, ป่า และทุนดรา
ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปจะเรียกหญ้าทะเล, กก และวงศ์กกเป็น "หญ้า" แต่ทั้งหมดอยู่นอกวงศ์นี้ โดยกกและวงศ์กกมีความคล้ายคลึงกับหญ้าตรงที่อยู่ในอันดับ Poales แต่หญ้าทะเลอยู่ในอันดับ Alismatales อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]จอห์น เฮนด์ลีย์ บาร์นฮาร์ตเป็นผู้คิดค้นศัพท์ Poaceae ใน ค.ศ. 1895[8]: 7 โดยอิงจากชื่อเผ่า Poeae ที่รอเบิร์ต บราวน์อธิบายไว้ใน ค.ศ. 1814 และสกุล Poa ที่คาร์ล ลินเนียสอธิบายไว้ใน ค.ศ. 1753 ศัพท์นี้มาจากภาษากรีกโบราณว่า πόα (póa, "อาหารสัตว์")
สมุดภาพ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yan Wu; Hai-Lu You; Xiao-Qiang Li (2018). "Dinosaur-associated Poaceae epidermis and phytoliths from the Early Cretaceous of China". National Science Review. 5 (5): 721–727. doi:10.1093/nsr/nwx145.
- ↑ Angiosperm Phylogeny Group (2009). "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 105–121. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x.
- ↑ HASTON, ELSPETH; RICHARDSON, JAMES E.; STEVENS, PETER F.; CHASE, MARK W.; HARRIS, DAVID J. (October 2009). "The Linear Angiosperm Phylogeny Group (LAPG) III: a linear sequence of the families in APG III". Botanical Journal of the Linnean Society. 161 (2): 128–131. doi:10.1111/j.1095-8339.2009.01000.x.
- ↑ Christenhusz, M.J.M.; Byng, J.W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-29.
- ↑ "Angiosperm Phylogeny Website". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
- ↑ "Rice is Life" (PDF). Food and Agricultural Organization of the United Nations. 2004.
- ↑ Reynolds, S.G. "Grassland of the world". www.fao.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-20. สืบค้นเมื่อ 2016-10-04.
- ↑ Barnhart, John Hendley (15 January 1895). "Family nomenclature". Bulletin of the Torrey Botanical Club. 22 (1): 1–24. doi:10.2307/2485402. JSTOR 2485402. สืบค้นเมื่อ 5 June 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นิยามแบบพจนานุกรมของ grass ที่วิกิพจนานุกรม