วงจรเชิงผสม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
วงจรเชิงผสม (Combinational Curcuit) หรือวงจรไร้ความจำ เกิดจากการต่อลอจิกเกตเข้าด้วยกันโดยไม่มีการต่อกลับ (feed back) ของสาย ทำให้สำหรับทุก ๆ อินพุตชุดใดชุดหนึ่ง จะมีเอาต์พุตเพียงชุดเดียวเท่านั้น ในระบบวงจรดิจิตอลนั้นโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว วงจรเชิงผสมมักใช้ทำ หน่วยคำนวณและตรรกะ เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ ฯลฯ หรือใช้ในการออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของวงจรเชิงลำดับ หรือ ส่วนข้อมูล (Data Path)
การบรรยายวงจรเชิงผสม
[แก้]การบรรยายวงจรเชิงผสม (Combinational logic representation) สามารถบรรยายวงจรเชิงผสมหนึ่ง ๆ ได้โดยใช้
การออกแบบวงจรเชิงผสม
[แก้]การออกแบบวงจรเชิงผสมจะใช้หลักการพีชคณิตแบบบูล ที่ว่า สำหรับทุกๆฟังก์ชันลอจิกใด ๆ จะสามารถเขียนอยู่ในรูปซึ่งใช้แค่ ตัวดำเนินการพื้นฐาน and or not เพียงแค่สามตัวได้เสมอ เพื่อแปลงทุกค่าความจริงของอินพุตและเอาต์พุต ให้เป็นสมการบูลลีน ซึ่งมีตัวดำเนินการพื้นฐาน and or not ทั้งหมด โดยเราสามารถออกแบบวงจรเชิงผสมได้ตามขั้นตอนดังนี้
- เขียนตารางค่าความจริงของวงจร
- เขียนผังคาร์โนท์และลดรูปวงจร
- แปลงจากผังคาร์โนท์เป็นสมการบูลลีน
- ออกแบบแผนผังวงจร