ข้ามไปเนื้อหา

ชิมแปนซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ลิงชิมแปนซี)

ชิมแปนซี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 4–0Ma
[1]
ชิมแปนซีตะวันออกในอุทยานแห่งชาติคิบาเล ประเทศยูกันดา
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
วงศ์ย่อย: โฮมินินี
สกุล: Pan

(Blumenbach, 1775)
สปีชีส์: Pan troglodytes
ชื่อทวินาม
Pan troglodytes
(Blumenbach, 1775)
Subspecies
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของชนิดย่อยต่าง ๆ
  Pan troglodytes verus
  P. t. ellioti
  P. t. troglodytes
  P. t. schweinfurthii
ชื่อพ้อง
  • Simia troglodytes Blumenbach, 1775
  • Troglodytes troglodytes (Blumenbach, 1776)
  • Troglodytes niger E. Geoffroy, 1812
  • Pan niger (E. Geoffroy, 1812)
  • Anthropopithecus troglodytes (Sutton, 1883)

ชิมแปนซี (อังกฤษ: chimpanzee; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes) เป็นลิงไม่มีหางที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า chimpanzee ในภาษาอังกฤษได้รับการบันทึกครั้งแรกใน ค.ศ. 1738[4] มีที่มาจากภาษาวีลีว่า ci-mpenze[5] หรือในภาษา Tshiluba ว่า chimpenze โดยมีความหมายว่า "เอป"[6] หรือ "mockman"[7] ภาษาปาก "chimp" น่าจะประดิษฐ์ขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ 1870[8] ชื่อสกุล Pan มาจากเทพเจ้ากรีก ส่วนชื่อเฉพาะ troglodytes มาจาก Troglodytae เผ่าพันธุ์ในตำนานที่อาศัยอยู่ในถ้ำ[9][10]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

เอปแรกสุดที่วิทยาศาสตร์ตะวันตกรู้จักในคริสตศตวรรษที่ 17 คือ "อุรังอุตัง" (สกุล Pongo) ชื่อภาษามลายูท้องถิ่นบันทึกในเกาะชวาโดย Jacobus Bontius แพทย์ชาวดัตช์ จากนั้นใน ค.ศ. 1641 Nicolaes Tulp นักกายวิภาคชาวดัตช์ ใช้ชื่อนี้กับชิมแปนซีหรือโบโนโบจากแองโกลาที่นำเข้าเนเธอร์แลนด์[11] Peter Camper นักกายวิภาคชาวดัตช์อีกคน ผ่าตัวอย่างชนิดจากแอฟริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ทศวรรษ 1770 โดยสังเกตความแตกต่างระหว่างเอปแอฟริกันกับเอเชีย Johann Friedrich Blumenbach นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน จัดให้ชิมแปนซีเป็น Simia troglodytes ใน ค.ศ. 1775 Lorenz Oken นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมันอีกคน บัญญัติชื่อสกุล Pan ใน ค.ศ. 1816 โบโนโบถูดจัดให้เป็นสายเฉพาะจากชิมแปนซีใน ค.ศ. 1933[9][10][12]

วิวัฒนาการ

[แก้]

แม้มีการจัดเก็บรวมฟอสซิล Homo จำนวนมาก ฟอสซิลของ Pan ยังไม่ได้รับการระบุจนกระทั่ง ค.ศ. 2005 ประชากรชิมแปนซีที่มีอยู่ในแอฟริกาตะวันตกและกลางไม่ทับซ้อนกับพื้นที่ฟอสซิลมนุษย์หลักในแอฟริกาตะวันออก แต่มีรายงานฟอสซิลชิมแปนซีจากเคนยา สิ่งนี้ระบุุว่าทั้งมนุษย์และสมาชิกเคลด Pan ปรากฏในหุบเขาทรุดแอฟริกาตะวันออกในช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง[13]

ตามการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2017 โดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน โบโนโบกับชิมแปนซีแยกจากสายมนุษย์เมื่อประมาณ 8 ล้านปีก่อน จากนั้นโบโนโบจึงแยกจากสายชิมแปนซีสามัญเมื่อประมาณ 2 ล้านปีก่อน[14][15] การศึกษาทางพันธุกรรมอีกชิ้นใน ค.ศ. 2017 แสดงให้เห็นถึงการถ่ายเทยีน (introgression) จากโบโนโบไปยังบรรพบุรุษของชิมแปนซีกลางและตะวันออกเมื่อระหว่าง 200,000 ถึง 550,000 ปีก่อน[16]

ชนิดย่อยและสถานะประชากร

[แก้]

มีชิมแปนซีีชนิดย่อย 4 ชนิดที่ได้รับการรับรอง[17][18] โดยอาจมีชนิดย่อยที่ 5 ที่เป็นไปได้:[16][19]

จีโนม

[แก้]

ร่างจีโนมชิมแปนซีได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2005 และเข้ารหัสโปรตีน 18,759 ตัว[26][27] (เทียบกับโปรติโอมในมนุษย์ 20,383 ตัว)[28] ลำดับดีเอ็นเอของมนุษย์และชิมแปนซีมีความคล้ายคลึงกันมาก และความแตกต่างของจำนวนโปรตีนส่วนใหญ่เกิดจากลำดับที่ไม่สมบูรณ์ในจีโนมชิมแปนซี ทั้งสองสายพันธุ์มีความแตกต่างกันในด้านการเปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์เดี่ยวประมาณ 35 ล้านตัว เหตุการณ์การแทรก/ลบ 5 ล้านครั้ง และการจัดเรียงโครโมโซมที่แตกต่างกันหลายครั้ง[29] โปรตีนที่เหมือนกันของมนุษย์และชิมแปนซีโดยทั่วไปมีความแตกต่างกันเพียงกรดอะมิโน 2 ตัวเท่านั้น โปรตีนของมนุษย์ทั้งหมดประมาณร้อยละ 30 มีลำดับที่เหมือนกันกับโปรตีนของชิมแปนซี ส่วนเล็ก ๆ ของโครโมโซมที่เพิ่มขึ้น (duplication) เป็นแหล่งความแตกต่างหลักระหว่างสารทางพันธุกรรมของมนุษย์กับของชิมแปนซี อธิบายคือจีโนมปัจจุบันประมาณ 2.7% ของมนุษย์กับของชิมแปนซีต่างกัน โดยเกิดจากยีนที่เพิ่มขึ้น (duplication) หรือที่หลุดหาย (deletion) นับตั้งแต่มนุษย์และชิมแปนซีแยกตัวออกจากบรรพบุรุษร่วมกัน[26][29]

ลักษณะ

[แก้]
ลิงชิมแพนซีที่สวนสัตว์นครราชสีมา
โครงกระดูก

ชิมแปนซีวัยผู้ใหญ่มีความสูงขณะยืนเฉลี่ย 150 ซm (4 ft 11 in)[30] โดยชิมแปนซีวัยผู้ใหญ่ในป่ามีน้ำหนักประมาณ 40 และ 70 kg (88 และ 154 lb)[31][32][33] ส่วนเพศเมียมีน้ำหนักระหว่าง 27 และ 50 kg (60 และ 110 lb)[34] ในกรณีพิเศษ ชิมแปนซีบางตัวอาจมีขนาดเกินกว่าหน่วยวัดนี้มาก โดยมีความสูงขณะยืนด้วยขาสองข้างมากกว่า 168 ซm (5 ft 6 in) และมีน้ำหนักถึง 136 kg (300 lb) เมื่ออยู่ในที่คุมขัง[a]

นิเวศวิทยา

[แก้]

ภาวะการตายและสุขภาพ

[แก้]
ชิมแปนซีชื่อ "Gregoire" ในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2006 เกิดใน ค.ศ. 1944 (Jane Goodall sanctuary of Tchimpounga สาธารณรัฐคองโก)

อายุขัยเฉลี่ยเฉลี่ยของชิมแปนซีในป่าค่อนข้างสั้น ปกติจะอายุไม่เกิน 15 ปี แต่ชิมแปนซีที่มีอายุถึง 12 ปีอาจมีอายุยืนยาวกว่านั้นอีก 15 ปี ในบางกรณี ชิมแปนซีในป่าอาจมีชีวิตเกือบ 60 ปี ชิมแปนซีในกรงขังมักมีอายุยืนยาวกว่าชิมแปนซีป่า โดยเพศผู้มีอายุเฉลี่ย 31.7 ปี ส่วนเพศเมียอยู่ที่ 38.7 ปี[37] ชิมแปนซีเพศผู้ในกรงขังที่แก่ที่สุดเท่าที่มีอายุบันทึกมีอายุถึง 66 ปี[38] ส่วนเพศเมียที่แก่ที่สุดคือลิตเติลมามา มีอายุเกือบ 80 ปี[39]

การกระจายพันธุ์และพฤติกรรม

[แก้]

ชิมแปนซีกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ทางแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ โดยมีจ่าฝูงเป็นตัวผู้เพียงตัวเดียว หากินบนพื้นดินมากกว่าต้นไม้ โดยหากินในเวลากลางวัน ซึ่งอาหารได้แก่ ผลไม้และใบไม้ต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ เช่น แมลง เป็นต้น ซึ่งชิมแปนซีมีพฤติกรรมที่จะประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ในการหาอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์[40] ชิมแปนซีมีเสียงร้องอย่างหลากหลาย จากการศึกษาพบว่าร้องได้ถึง 32 แบบ โดยถือเป็นภาษาสำหรับการสื่อสารระหว่างกัน[41] สามารถเดินตรงได้แต่นิ้วเท้าจะหันไปข้างนอก เวลาเดินตัวจะเอนไปข้างหน้า แขนตรง และวางข้อมือลงบนพื้น นานๆ ครั้งจะเดิน 2 เท้าแบบมนุษย์ ซึ่งในการเดินแบบนี้ ชิมแปนซีจะเอามือไว้ข้างหลังเพื่อช่วยในการทรงตัว หรือชูมือทั้ง 2 ข้างขึ้นสูง [42] ชิมแปนซีมีความจำดีมาก มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับมนุษย์ มีความฉลาดกว่าอุรังอุตังและกอริลล่า ซึ่งเป็นลิงไม่มีหางเช่นเดียวกัน[42] สถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่นระบุว่า ลูกชิมแปนซีมีความจำดีกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก [43] ชิมแปนซีตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์แล้ว ในธรรมชาติจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางครั้งจะยกพวกเข้าตีกันและอาจถึงขั้นฆ่ากันตายได้ ซึ่งเคยมีกรณีที่เข้าโจมตีใส่มนุษย์ให้ถึงแก่บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตมาแล้ว รวมถึงมีการรวมตัวกันเพื่อล่าลิงโลกเก่าบางชนิด เช่น ลิงโคโลบัส กินเป็นอาหาร โดยจะแจกจ่ายให้ชิมแปนซีตัวผู้ได้กินก่อน ขณะที่ตัวเมียก็จะได้รับส่วนแบ่งด้วย ลูกชิมแปนซีในช่วง 3 ขวบปีแรก ที่ก้นจะมีกระจุกขนสีขาวเป็นเครื่องหมายบอกถึงวุฒิภาวะที่ยังไม่สมบูรณ์ หากทำอะไรผิด จะได้รับการละเว้นโทษ จนกระทั่งถึงอายุเลย 3 ขวบ จึงจะเริ่มเข้าสู่กฏเกณฑ์ในฝูง เช่นเดียวกับมนุษย์ ตามกฎหมายก็มีบทยกเว้นโทษให้แก่เด็กด้วย[44][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

สติปัญญา

[แก้]
Drawing of human and chimpanzee skull and brain
หัวกะโหลกและสมองมนุษย์และชิมแปนซี แผนภาพโดย Paul Gervais จาก Histoire naturelle des mammifères (1854)

ชิมแปนซีแสดงสัญญาณด้านสติปัญญาหลายประการ เช่น ความสามารถในการจดจำสัญลักษณ์[45] จนถึงความร่วมมือ[46] การใช้อุปกรณ์[47] และความสามารถด้านภาษาหลายแบบ[48] พวกมันเป็นหนึ่งในสัตว์หลายชนิดที่ผ่านการทดสอบกระจก ซึ่งเสนอแนะถึงการตระหนักรู้ตนเอง[49] ในงานวิจัยหนึ่ง ชิมแปนซีวัยหนุ่มสองตัวแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ตนเองในกระจกได้หลังไม่ได้ส่องกระจกเป็นเวลาหนึ่งปี[50] ชิมแปนซีใช้แมลงในการรักษาบาดแผลของตนเองและตัวอื่น โดยจะจับแมลงแล้วนำมาทาบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บโดยตรง[51] ชิมแปนซียังแสดงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ โดยมีการเรียนรู้และถ่ายทอดการดูแล การใช้เครื่องมือ และเทคนิคการหาอาหารที่ต่างกัน นำไปสู่ประเพณีท้องถิ่น[52]

การอนุรักษ์

[แก้]
ชิมแปนซีแคเมอรูนที่ศูนย์ช่วยเหลือหลังแม่ของมันถูกพรานเถื่อนฆ่า

ชิมแปนซีถูกจัดให้เป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ของบัญชีแดงไอยูซีเอ็น โดยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในพื้นที่ส่วนใหญ่และพบทั้งในและนอกอุทยานแห่งชาติ คาดว่ามีชิมแปนซีในป่าระหว่าง 172,700 ถึง 299,700 ตัว[2] ซึ่งลดลงจากชิมแปนซีประมาณล้านตัวในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900[53] ชิมแปนซีได้รับการจัดเข้าในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1[3]

ภัยที่ใหญ่ที่สุดของชิมแปนซีคือการทำลายที่อยู่อาศัย การบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ และโรค[2]

โรคติดเชื้อเป็นสาเหตุหลักในการตายของชิมแปนซี ชิมแปนซีมักเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ มากมายที่มนุษย์เป็นกัน เนื่องจากทั้งสองสายพันธุ์นี้มีความคล้ายคลึงกันมาก เมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงในการแพร่โรคระหว่างมนุษย์กับชิมแปนซีก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชิมแปนซีเพศผู้ที่ถูกกักขังชื่อ "Kermit" โดยตอนอายุ 11 ขวบ มีความสูงถึง 168 ซm (5 ft 6 in) และน้ำหนักร่างกายที่ 82 kg (181 lb)[35] ตอนวัยผู้ใหญ่ มันมีน้ำหนักเกือบ 136 kg (300 lb)[36]

อ้างอิง

[แก้]
  1. McBrearty, S.; Jablonski, N. G. (2005). "First fossil chimpanzee". Nature. 437 (7055): 105–108. Bibcode:2005Natur.437..105M. doi:10.1038/nature04008. ISSN 0028-0836. PMID 16136135. S2CID 4423286.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Humle, T.; Maisels, F.; Oates, J. F.; Plumptre, A.; Williamson, E. A. (2018) [errata version of 2016 assessment]. "Pan troglodytes". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15933A129038584. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T15933A17964454.en. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
  3. 3.0 3.1 "Appendices | CITES". cites.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  4. "chimpanzee". Dictionary.reference.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 18 May 2019.
  5. "chimpanzee". American Heritage Dictionary (5th ed.). Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2018. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
  6. "chimpanzee". Online Etymology Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2019. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
  7. Hastrup, Kirsten, บ.ก. (2013). Anthropology and Nature. Taylor & Francis. p. 168. ISBN 9781134463213.
  8. "chimp definition | Dictionary.com". Dictionary.reference.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2009.
  9. 9.0 9.1 Corbey, R. (2005). The Metaphysics of Apes: Negotiating the Animal-Human Boundary. Cambridge University Press. pp. 42–51. ISBN 978-0-521-83683-8.
  10. 10.0 10.1 Stanford, C. (2018). The New Chimpanzee, A Twenty-First-Century Portrait of Our Closest Kin. Harvard University Press. pp. 176. ISBN 978-0-674-97711-2.
  11. van Wyhe, J.; Kjærgaard, P. C. (2015). "Going the whole orang: Darwin, Wallace and the natural history of orangutans". Studies in History and Philosophy of Science Part C: Studies in History and Philosophy of Biological and Biomedical Sciences. 51: 53–63. doi:10.1016/j.shpsc.2015.02.006. PMID 25861859.
  12. Jones, C.; Jones, C. A.; Jones, K.; Wilson, D. E. (1996). "Pan troglodytes". Mammalian Species (529): 1–9. doi:10.2307/3504299. JSTOR 3504299.
  13. McBrearty, S.; Jablonski, N. G. (September 2005). "First fossil chimpanzee". Nature. 437 (7055): 105–8. Bibcode:2005Natur.437..105M. doi:10.1038/nature04008. PMID 16136135. S2CID 4423286.
  14. Staff (5 May 2017). "Bonobos May Resemble Humans More Than You Think - A GW researcher examined a great ape species' muscles and found they are more closely related to humans than common chimpanzees". George Washington University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2023. สืบค้นเมื่อ 14 April 2023.
  15. Diogo, Rui; Molnar, Julia L.; Wood, Bernard (2017). "Bonobo anatomy reveals stasis and mosaicism in chimpanzee evolution, and supports bonobos as the most appropriate extant model for the common ancestor of chimpanzees and humans". Scientific Reports. 7 (608): 608. Bibcode:2017NatSR...7..608D. doi:10.1038/s41598-017-00548-3. PMC 5428693. PMID 28377592.
  16. 16.0 16.1 de Manuel, M.; Kuhlwilm, M.; P., Frandsen; และคณะ (October 2016). "Chimpanzee genomic diversity reveals ancient admixture with bonobos". Science. 354 (6311): 477–481. Bibcode:2016Sci...354..477D. doi:10.1126/science.aag2602. PMC 5546212. PMID 27789843.
  17. 17.0 17.1 Groves, C. P. (2001). Primate Taxonomy. Washington, DC: Smithsonian Institution Press. pp. 303–307. ISBN 978-1-56098-872-4.
  18. Hof, J.; Sommer, V. (2010). Apes Like Us: Portraits of a Kinship. Mannheim: Panorama. p. 114. ISBN 978-3-89823-435-1.
  19. 19.0 19.1 Groves, C. P. (2005). "Geographic variation within eastern chimpanzees (Pan troglodytes cf. schweinfurthii Giglioli, 1872)". Australasian Primatology. 17: 19–46.
  20. Maisels, F.; Strindberg, S.; Greer, D.; Jeffery, K. J.; Morgan, D.; Sanz, C. (2016) [errata version of 2016 assessment]. "Pan troglodytes ssp. troglodytes". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15936A102332276. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T15936A17990042.en. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
  21. Heinicke, S.; Mundry, R.; Boesch, C.; Amarasekaran, B.; Barrie, A.; Brncic, T.; Brugière, D.; Campbell, G.; Carvalho, J.; Danquah, E.; Dowd, D. (2019). "Advancing conservation planning for western chimpanzees using IUCN SSC A.P.E.S.—the case of a taxon-specific database". Environmental Research Letters. 14 (6): 064001. Bibcode:2019ERL....14f4001H. doi:10.1088/1748-9326/ab1379. hdl:1893/29775. ISSN 1748-9326. S2CID 159049588.
  22. Humle, T.; Boesch, C.; Campbell, G.; Junker, J.; Koops, K.; Kuehl, H.; Sop, T. (2016) [errata version of 2016 assessment]. "Pan troglodytes ssp. verus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15935A102327574. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T15935A17989872.en. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
  23. Morgan, Bethan J.; Adeleke, Alade; Bassey, Tony; Bergl, Richard (22 February 2011). "Regional action plan for the conservation of the Nigeria-Cameroon chimpanzee (Pan troglodytes ellioti)" (PDF). IUCN (ภาษาอังกฤษ). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  24. Oates, J. F.; Doumbe, O.; Dunn, A.; Gonder, M. K.; Ikemeh, R.; Imong, I.; Morgan, B. J.; Ogunjemite, B.; Sommer, V. (2016). "Pan troglodytes ssp. ellioti". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T40014A17990330. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T40014A17990330.en. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
  25. Plumptre, A.; Hart, J. A.; Hicks, T. C.; Nixon, S.; Piel, A. K.; Pintea, L. (2016). "Pan troglodytes ssp. schweinfurthii". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T15937A17990187. สืบค้นเมื่อ 27 August 2021.
  26. 26.0 26.1 Chimpanzee Sequencing and Analysis Consortium (September 2005). "Initial sequence of the chimpanzee genome and comparison with the human genome". Nature. 437 (7055): 69–87. Bibcode:2005Natur.437...69.. doi:10.1038/nature04072. PMID 16136131.
  27. "UniProt". www.uniprot.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  28. "UniProt". www.uniprot.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  29. 29.0 29.1 Cheng, Z.; และคณะ (September 2005). "A genome-wide comparison of recent chimpanzee and human segmental duplications". Nature. 437 (7055): 88–93. Bibcode:2005Natur.437...88C. doi:10.1038/nature04000. PMID 16136132. S2CID 4420359.
  30. Braccini, E. (2010). "Bipedal tool use strengthens chimpanzee hand preferences". Journal of Human Evolution. 58 (3): 234–241. Bibcode:2010JHumE..58..234B. doi:10.1016/j.jhevol.2009.11.008. PMC 4675323. PMID 20089294.
  31. Levi, M. (1994). "Inhibition of endotoxin-induced activation of coagulation and fibrinolysis by pentoxifylline or by a monoclonal anti-tissue factor antibody in chimpanzees". The Journal of Clinical Investigation. 93 (1): 114–120. doi:10.1172/JCI116934. PMC 293743. PMID 8282778.
  32. Lewis, J. C. M. (1993). "Medetomidine-ketamine anaesthesia in the chimpanzee (Pan troglodytes)". Journal of Veterinary Anaesthesia. 20: 18–20. doi:10.1111/j.1467-2995.1993.tb00103.x.
  33. Smith, R. J.; Jungers, W. L. (1997). "Body mass in comparative primatology". Journal of Human Evolution. 32 (6): 523–559. Bibcode:1997JHumE..32..523S. doi:10.1006/jhev.1996.0122. PMID 9210017.
  34. Jankowski, C. (2009). Jane Goodall: Primatologist and Animal Activist. Mankato, MN, US: Compass Point Books. p. 14. ISBN 978-0-7565-4054-8. OCLC 244481732.
  35. Gedert, R. L. (4 April 1991). "Researchers treat chimps like children". The Lantern. p. 9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
  36. Taylor, H.; Cropper, J. (6 March 2006). "Recounting dead OSU chimp's last day". The Lantern. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2021. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
  37. Mulchay, J. B. (8 March 2013). "How long do chimpanzees live?". Chimpanzee Sanctuary Northwest. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 28 March 2019.
  38. "Africa's oldest chimp, a conservation icon, dies". Discovery News. 24 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2008. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
  39. Goodall, J. (27 November 2017). "Sad loss of Little Mama, one of the oldest chimps". janegoodall.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2021. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
  40. "โลกใบใหญ่ / โบราณชีววิทยา : ข้อถกเถียงเรื่องมนุษย์แคระยังไม่ยุติ จากสารคดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19.
  41. หน้า 176, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
  42. 42.0 42.1 "ชิมแปนซี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-09. สืบค้นเมื่อ 2007-12-05.
  43. "อึ้ง! ผลวิจัยชี้ลูกชิมแปนซีมีความจำดีกว่ามนุษย์ จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2007-12-05.
  44. Mutant Planet: African Rift Valley Lakes, "Mutant Planet". สารคดีทางอนิมอลพนาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556
  45. Matsuzawa, T. (2009). "Symbolic representation of number in chimpanzees". Current Opinion in Neurobiology. 19 (1): 92–98. doi:10.1016/j.conb.2009.04.007. PMID 19447029. S2CID 14799654.
  46. Melis, A. P.; Hare, B.; Tomasello, M. (2006). "Chimpanzees recruit the best collaborators". Science. 311 (5765): 1297–1300. Bibcode:2006Sci...311.1297M. doi:10.1126/science.1123007. PMID 16513985. S2CID 9219039.
  47. Boesch, C.; Boesch, H. (1993). "Diversity of tool use and tool-making in wild chimpanzees". ใน Berthelet, A.; Chavaillon, J. (บ.ก.). The Use of Tools by Human and Non-human Primates. Oxford, UK: Oxford University Press. pp. 158–87. ISBN 978-0-19-852263-8.
  48. "Language of bonobos". Great Ape Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2004. สืบค้นเมื่อ 16 January 2012.
  49. Povinelli, D.; de Veer, M.; Gallup Jr., G.; Theall, L.; van den Bos, R. (2003). "An 8-year longitudinal study of mirror self-recognition in chimpanzees (Pan troglodytes)". Neuropsychologia. 41 (2): 229–334. doi:10.1016/S0028-3932(02)00153-7. PMID 12459221. S2CID 9400080.
  50. Calhoun, S. & Thompson, R. L. (1988). "Long-term retention of self-recognition by chimpanzees". American Journal of Primatology. 15 (4): 361–365. doi:10.1002/ajp.1350150409. PMID 31968884. S2CID 84381806.
  51. Mascaro, A.; Southern, L. M.; Deschner, T.; Pika, S. (2022). "Application of insects to wounds of self and others by chimpanzees in the wild". Current Biology. 32 (3): R112–R113. Bibcode:2022CBio...32.R112M. doi:10.1016/j.cub.2021.12.045. PMID 35134354. S2CID 246638843.
  52. Whiten, A.; Spiteri, A.; Horner, V.; Bonnie, K. E.; Lambeth, S. P.; Schapiro, S. J.; de Waal, F. B. M. (2007). "Transmission of multiple traditions within and between chimpanzee groups". Current Biology. 17 (12): 1038–1043. Bibcode:2007CBio...17.1038W. doi:10.1016/j.cub.2007.05.031. PMID 17555968. S2CID 1236151.
  53. St. Fleur, N. (12 June 2015). "U.S. will call all chimps 'endangered'". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 13 June 2015.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]